Click here to visit the Website

โรงพยาบาลช้าง หน่วยช่วยชีวิตช้างไทย
โรงพยาบาลช้าง หน่วยช่วยชีวิตช้างไทย ต่อจากหน้าที่แล้ว

.....ถ้าช้างเอางวง แตะบริเวณไหน บ่อย ๆ แสดงว่าช้างเจ็บ หรือปัสสาวะ มีเลือดปน แสดงว่าช้าง มีอาการ อักเสบภายใน หลังจาก วินิจฉัยโรคแล้ว หมอจะให้ยา ตามอาการ


พังคำมี อดีตช้างติดยาบ้า
พังคำมี อดีตช้างติดยาบ้า ซึ่งถูกใช้งานหนัก จนขาหน้าพิการ ปัจจุบัน เป็นช้างของมูนิธิ เพื่อนช้าง
.....วิธีการให้ยา มีสามวิธี คือ กิน ฉีด และทางสายน้ำเกลือ ยากิน ส่วนใหญ่ จะเป็นพวก ยาถ่าย เช่น มะขามเปียก ยาบำรุงชนิดเม็ด ฯลฯ ยาฉีด จะเป็นยาที่ใช้รักษาเกือบทุกโรค จุดที่ฉีดยาคือ บริเวณหัวไหล่ และสะโพก ส่วนทางสายน้ำเกลือ จะเป็นพวกยาบำรุงกำลัง หรือยาที่ต้องให้ ทางเส้นเลือดช้า ๆ จุดที่ให้น้ำเกลือคือ หลังใบหู เพราะเป็นผิวหนัง ส่วนที่บางที่สุด สามารถ หาเส้นเลือดได้ง่าย
.....สาเหตุของโรคส่วนใหญ่ มาจากการใช้งานของมนุษย์ เพราะช้างบ้าน เป็นช้างที่ เจ้าของ เลี้ยงไว้ใช้งาน ซึ่งงานของช้าง มีอยู่ไม่กี่ประเภท คือ ชักลากไม้เถื่อน รับจ้างนั่งแท็กซี่ แสดงโชว์ ตามสถานที่ท่องเที่ยว และเร่ร่อน
ช้างทุกเชือกที่ผ่านการรักษาจากโรงพยาบาลช้าง จะถูกฝังไมโครชิป หรือรหัสประจำตัว
ช้างทุกเชือก ที่ผ่านการรักษา จากโรงพยาบาลช้าง จะถูกฝัง ไมโครชิป หรือรหัสประจำตัว ไว้ใต้ผิวหนัง บริเวณ หัวไหล่ด้านขวา หากช้างเจ็บป่วย เข้าโรงพยาบาลอีก หมอก็จะใช้เครื่องอ่าน หมายเลขไมโครชิป เพื่อดูประวัติการรักษา
.....งานที่มีผลต่อสุขภาพช้าง มากที่สุดคือ ชักลากไม้เถื่อน เพราะช้าง ต้องทำงาน หลบ ๆ ซ่อน ๆ และทำงานหนัก ควาญบางคน ให้ช้าง กินยาบ้า เพื่อทำงานทั้งวันทั้งคืน ถ้าช้าง ทำงานไม่ไหว ก็จะใช้มีด ทิ่มตามลำตัว จนเป็นแผล ช้างบางเชือก ขาดใจตาย ขณะทำงาน หรือเกิด อุบัติเหตุ ตกเขา ขาหัก จนถึงเสียชีวิต ช้างรับจ้างนั่งแท็กซี่ จะมีปัญหาเรื่อง เจ็บหลัง เนื่องจากเบาะที่นั่งบนหลัง ไม่พอดี ช้างแสดงโชว์ส่วนใหญ่ จะเป็นลูกช้าง ที่หย่านม ก่อนวัยสามปี ทำให้ มีปัญหาเรื่อง สุขภาพไม่แข็งแรง ส่วนช้างเร่ร่อน จะมีปัญหาเรื่อง อุบัติเหตุ บนท้องถนน และในระยะยาว อาจเป็น โรคปอด เนื่องจากต้อง สูดควันพิษ จากท่อไอเสียรถ
พังแม่ปี๋ จากปางช้าง จังหวัดเชียงใหม่
พังแม่ปี๋ จากปางช้าง จังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายเป็นมูกเลือด ติดกันสองวัน แต่เจ้าของเพิ่งโทรศัพท์ แจ้งโรงพยาบาลช้าง กว่าหมอจะเดินทางไปถึง ช้างก็ตายเสียแล้ว ชะตากรรมสุดท้ายของช้างก็คือ ถูกชาวบ้านขนซากใส่รถ นำไปชำแหละกิน
.....ทุก ๆ เดือน สัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล จะออกสัญจร ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ที่มีช้าง เพื่อตรวจสุขภาพ และรักษาอาการ เจ็บป่วยเบื้องต้น หากพบช้างป่วยหนัก สัตวแพทย์ จะบอกให้เจ้าของ หารถบรรทุก นำช้างไปส่งที่ โรงพยาบาล โดยเร่งด่วน แต่ปัญหา ของการรักษาช้าง คือ เจ้าของ มักไม่นิยม พาช้างมารักษา ตั้งแต่มีอาการ ป่วยเพียงเล็กน้อย เพราะกลัวเสียรายได้ แต่จะพามารักษา เมื่อช้าง ทำงานไม่ไหว และเมื่อถึง ตอนนั้น อาจสายเกินไป
ช้างน้อย พลายภูผา วัยสองเดือนเศษ
ช้างน้อย พลายภูผา วัยสองเดือนเศษ เกือบถูกแม่ กระทืบตาย หลังจากลืมตาดูโลก ไม่กี่นาที โชคดีที่เจ้าหน้าที่ เข้าไปแย่งตัวออกมาได้ ทันเวลา ช้างน้อยจึงรอดชีวิต มาถึงทุกวันนี้
.....ตลอดห้าปีที่ผ่านมา โรงพยาบาล ให้การรักษาช้าง ที่เจ็บป่วย ตั้งแต่ โรคทั่วไปเช่น คอบวม ท้องผูก ฝี บาดแผล ตามร่างกาย ไปจนถึง โรคร้ายแรงอย่าง โพรงงาอักเสบ ขาหัก กระดูกผุ รวมทั้ง เป็นสถานที่ รับฝากครรภ์ และดูแล ลูกช้างเกิดใหม่ แม้ว่า โรงพยาบาล จะขาดเครื่องมือรักษา ที่จำเป็น อีกหลายชนิด แต่ก็สามารถ รักษาโรค ได้เกือบทุกโรค ช้างส่วนใหญ่ จะได้กลับบ้าน ด้วยสุขภาพที่แข็งแรง มีเพียงบางเชือกที่ สุขภาพทรุดโทรม หรือพิกลพิการ จนไม่สามารถ กลับไปทำงานได้อีก ช้างเหล่านี้ ทางโรงพยาบาล จะขอซื้อ หรือขอบริจาค จากเจ้าของเดิม เพื่อดูแลช้างเหล่านี้ ตลอดไป ในโครงการ บ้านหลังสุดท้าย ซึ่งมูลนิธิ เพื่อนช้าง กำลังหาผืนป่า สำหรับให้ช้าง ที่ไม่มีใครต้องการ ได้ใช้ ชีวิตบั้นปลาย อยู่กับควาญที่รัก จนกว่า จะหมดลมหายใจ

สนใจให้ความช่วยเหลือช้าง ด้วยการสมทบทุน มูลนิธิเพื่อนช้าง ได้ที่ โทร ๙๔๕๗๑๒๔-๖ หรือที่ www.elephant.tnet.co.th
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ที่สุดแห่งพ่อพันธุ์ | บ.รับกำจัดความรุงรัง | โรงไฟฟ้าประจวบฯ
หมอชนบท | โรงพยาบาลช้าง | เรือสำราญ


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)