กลับไปหน้า สารบัญ พ.ร.บ. ชื่อบุคคล กับนามสกุล หลังแต่งงาน

ส นั บ ส นุ น พ. ร. บ. ชื่ อ บุ ค ค ล

ส นั บ ส นุ น
ธนวดี ท่าจีน
ธนวดี ท่าจีน
ผู้ประสานงาน มูลนิธิ เพื่อนหญิง
  • การเลือกใช้ นามสกุล ของตัวเอง เป็นการส่งเสริม ทัศนคติ ที่ถูกต้อง ต่อเพศหญิง ว่า ไม่ได้ตกเป็น ทรัพย์สมบัติ ของสามี ทำให้ สามีภรรยา เคารพซึ่งกันและกัน

  • กรณีนี้ สอดคล้องกับ บรรทัดฐานสากล ตาม อนุสัญญา ว่าด้วยการ ขจัดการเลือกปฏิบัติ ต่อสตรี ทุกรูปแบบ และแผน ปฏิบัติการ ปักกิ่ง ที่รับรอง ในการประชุม ระดับโลก ว่าด้วยสตรี ซึ่งประเทศไทย ได้ลงนามไว้แล้ว

  • การเลือกใช้ นามสกุล ของตัวเอง ไม่ได้เป็น สาเหตุของ การทำให้ ครอบครัว แตกแยก เพราะความสัมพันธ์ ในครอบครัว จะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก

....."จุดมุ่งหมายจริง ๆ ของการเรียกร้องในเรื่องนี้ ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของ การที่ผู้หญิง อยากใช้นามสกุลตัวเอง แต่เป็นการ เปิดโอกาสให้ ทั้งหญิงและชาย ได้เลือกว่า จะใช้นามสกุลของใคร ภรรยา อยากจะเลือกใช้ นามสกุลของสามี ก็ได้ หรือสามี อยากจะเลือกใช้ นามสกุลของภรรยา ก็ได้ การใช้นามสกุลสามี ไม่ใช่สิ่งเสียหาย แต่การที่ พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕ ระบุเพียงแค่ว่า ให้ผู้หญิง ใช้นามสกุลสามี อย่างเดียวนั้น เป็นการบังคับกันเกินไป เป็นการละเมิดสิทธิของคน ในการเลือกใช้นามสกุล เพราะถ้าต้อง เปลี่ยนไปใช้ นามสกุลสามีอย่างเดียว บางครอบครัว ที่มีแต่ลูกผู้หญิง ก็จะไม่มีใคร สืบสกุลได้ การมีสิทธิ ในการเลือกนั้น เป็นเรื่องสำคัญ
....."หลายคนมองว่า เราเรียกร้องเพื่อผู้หญิง แต่จริง ๆ แล้ว เราเรียกร้องให้ ทั้งหญิงและชาย ผู้ชาย อาจจะอยากไปใช้ นามสกุลภรรยา ก็ได้ เราเสนอทางเลือก ให้ทั้งสองเพศ
....."การบังคับใช้นามสกุลสามี เป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึง สังคมแบบ ชายเป็นใหญ่ คือ ให้ยึดอยู่กับ สายสามีเป็นหลัก ซึ่งนำไปสู่ การไม่เคารพ ในสิทธิของผู้หญิง และเป็นวัฒนธรรม ที่นำไปสู่ การแตกแยก และความรุนแรง ในครอบครัว เนื่องจากเชื่อว่า เมื่อผู้หญิง เปลี่ยนมาใช้ นามสกุลสามี ก็เท่ากับ ตกเป็นทรัพย์สมบัติ ของสามี จึงทุบตีได้ ซึ่งผู้หญิงเอง ก็คิดอย่างนั้น
....."หากไม่มีการแก้ไขกฎหมายตัวนี้ ทัศนคติที่ผิดเกี่ยวกับ การใช้ชีวิตคู่ ก็จะดำรงอยู่ต่อไป แต่ถ้าผู้หญิง มีสิทธิเลือก ใช้นามสกุลตัวเอง ความรู้สึกที่ว่า เราเป็นสมบัติของเขา จะลดน้อยลง สามีภรรยา ก็จะเกิด ความเคารพ ซึ่งกันและกัน ทั้งยังเป็น การสร้างความเสมอภาค ให้แก่เพศหญิง ในการเป็น ผู้สืบสกุลได้ ในกรณีที่ บิดา-มารดา ไม่มีทายาทเป็นชาย ทั้งหมดนี้ จะทำให้ ผู้หญิง มีสถานภาพที่ดีขึ้น ในสังคม
....."การแก้ตรงนี้ ไม่มีใครเสียอะไรเลย และไม่ได้ทำให้ ครอบครัวแตกแยก อย่างที่หลายคนกลัว เพราะการแตกแยก ของครอบครัว มาจากหลายปัจจัย เช่น วิถีชีวิตไม่ตรงกัน ทัศนะในการดำรงชีวิต ต่างกัน บุคลิกภาพ เข้ากันไม่ได้ มันมีอะไรหลาย ๆ อย่าง ที่มากกว่าเพียงแค่ เรื่องนามสกุล ความจริง การที่ภรรยา ต้องใช้นามสกุลสามี อย่างทุกวันนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า ครอบครัว จะไม่มีปัญหาเลย
....."ส่วนเรื่องทำให้ลูกสับสน ไม่รู้จะใช้นามสกุลใคร ก็ไม่ใช่ปัญหา มันเป็นเรื่องที่ตกลงกันได้ อาจให้ใช้ ของทั้งคู่ไปก่อน เมื่อลูก บรรลุนิติภาวะ ก็ให้เลือกเองว่า อยากจะใช้นามสกุล ของพ่อ หรือแม่
พ.ร.บ. ชื่อบุคคล ....."นอกจากนี้ ข้ออ้างที่ว่า การให้แต่ละฝ่าย ใช้นามสกุลตัวเอง จะนำไปสู่ การแต่งงานกันเอง ในหมู่เครือญาตินั้น ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะในความเป็นจริง กว่าที่หญิง-ชาย แต่ละคู่ จะตกลงแต่งงานกัน ก็ย่อมจะ ตรวจสอบ ประวัติความเป็นมา กันก่อน ไม่ใช่ว่า พอเจอกันแล้ว จะแต่งงานกันเลย โดยไม่รู้ว่า เป็นลูกเต้าเหล่าใคร อีกทั้ง ยังสามารถ ตรวจสอบจาก ทะเบียนบ้าน ได้อีกด้วย การแก้กฎหมายตัวนี้ ไม่ได้ทำให้ เกิดปัญหามากมาย อย่างที่ ฝ่ายคัคค้านคิด
....."แต่ถ้าผู้หญิง อยากใช้นามสกุล ของสามี ก็ไม่มีปัญหา เราไม่ถึงกับ รณรงค์ให้ผู้หญิง หันมาใช้นามสกุลตัวเอง แต่ถ้าฝ่ายหญิง คิดว่า การได้ใช้ นามสกุลตัวเอง จะทำให้ เงื่อนไขหลาย ๆ อย่างในชีวิต ดีขึ้น ก็ควรจะมีสิทธิใช้ได้ เราเพียงแต่ เปิดทางเลือก ให้มากขึ้น ทำให้กฎหมาย เอื้ออำนวย ให้ผู้หญิง สามารถตัดสินใจเองได้
....."เมื่อรัฐธรรมนูญที่ออกมาใหม่ มีความก้าวหน้า ในเรื่องของสิทธิ ความเสมอภาค เราก็อยากแก้ไข ให้กฎหมายลูก สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตรา ๓๐ ที่ระบุว่า บุคคล ย่อมเสมอกัน และได้รับ ความคุ้มครอง ตามกฎหมาย ชายและหญิง มีสิทธิเท่าเทียมกัน
....."เหตุผลทุกข้อ ที่ฝ่ายคัดค้านการให้สิทธิ ในการเลือกใช้นามสกุล ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การทำลาย วัฒนธรรมอันดีงาม หรือครอบครัวแตกแยกนั้น เป็นเพียงข้ออ้าง จริง ๆ แล้วคิดว่า เขายังติดอยู่กับ ทัศนคติเรื่อง ชายเป็นใหญ่ ยังอยากให้ ผู้ชาย เป็นผู้นำหลักอยู่ จึงไม่ยอมให้เปลี่ยน
....."ประเด็นเรื่องแก้กฎหมายนามสกุลนี้ อาจจะไม่สามารถ ถอนราก ถอนโคน ความคิดแบบ ชายเป็นใหญ่ได้ แต่ก็จำเป็นต้องต่อสู้ เพราะมันเป็นฐาน และจุดเปลี่ยน ที่สำคัญอันหนึ่ง ในระยะยาว ยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น คำนำหน้า นาง-นางสาว เรื่องการหย่าร้าง กลไกติดตาม ค่าเลี้ยงดูบุตร
....."ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องที่ต้องสู้ ด้วยการเปลี่ยนทัศนคติ ไม่ใช่แค่ แก้กฎหมาย หรือให้ข้อมูล สาเหตุที่ เราแก้กฎหมายตัวนี้ไม่ได้ ก็เพราะ คนในสังคม ไม่ยอมเปลี่ยน ทัศนคติในเรื่อง ชายเป็นใหญ่ ซึ่งต้องใช้เวลา ในการเปลี่ยนแปลง ถ้าแก้กฎหมายตัวนี้ได้ ก็นับว่า เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี คนจะเข้าใจ และลดอคติ ในเรื่องของเพศ ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เจ้าหน้าที่เขตต่าง ๆ ก็จะรู้ว่า กฎหมายตัวนี้ ได้รับการแก้ไขแล้ว และทำไม ถึงต้องแก้ เวลามีคนมาติดต่อ ก็อธิบายได้ คนจะเข้าใจ มากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการส่งเสริม ทัศนคติที่ถูกต้อง เกี่ยวกับ ความเสมอภาคทางเพศ ให้แก่คนในสังคม"
สมัคร สุนทรเวช
สมัคร สุนทรเวช
หัวหน้าพรรคประชากรไทย

click hereอ่าน (ฝ่ายคัดค้าน) คลิกที่นี่

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
สนับสนุน หรือ คัดค้าน: *
*

 

แสดงความคิดเห็น เรื่อง พรบ.มวยอาชีพ คลิกที่นี่
สารบัญ | นักสะสมเปลือกหอย | เชอร์ปา | ภาษาตะโกน | สัตว์ป่าในบอสเนีย
เลือกใช้นามสกุล หลังแต่งงาน | เฮโลสาระพา


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ |
WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)