ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล : รายงาน

nucelarlandfillไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) / ทางการไต้หวันต้องปวดศีรษะกับการหาสถานที่ทิ้งกากนิวเคลียร์แห่งใหม่ หลังพื้นที่กักเก็บของเสียจากกระบวนการทำปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังจะเต็มในไม่ช้า

กากนิวเคลียร์หรือกากกัมมันตรังสี (radioactive waste)เป็นของเสียเหลือทิ้งที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมหากปล่อยให้ปนเปื้อนแหล่งน้ำ พื้นดิน อากาศ อาหาร จึงต้องควบคุมอย่างเคร่งครัด กักเก็บในพื้นที่ปิด ไม่ให้รั่วไหล แผ่ความร้อน หรือเกิดกัมมันตภาพรังสีสู่ระบบนิเวศภายนอก

เทคโนโลยีที่ใช้จัดการกากนิวเคลียร์วันนี้ เช่น สร้างพื้นที่กักเก็บเป็นพิเศษในโรงไฟฟ้า หรือผสมกากนิวเคลียร์กับปูนซีเมนต์หรือยางมะตอย แล้วบรรจุลงภาชนะปิดสนิทที่ทนการกัดกร่อนนำไปฝังไว้ใต้ดินบริเวณที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัย

ไต้หวันมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สามแห่ง และอีกหนึ่งแห่งระงับการก่อสร้างไปหลังเกิดโศกนาฏกรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิประเทศญี่ปุ่น  โรงไฟฟ้าแห่งแรกเดินเครื่องมาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๗๘ เมื่อใช้งานมาเกือบ ๔๐ ปี พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ใกล้จะเต็มความจุเป็นครั้งแรก แผนการจัดการหนึ่งคือขออนุมัติจากคณะกรรมการพลังงานปรมาณูให้มีการขยายขนาดคลังขยะปรมาณูอีก หรือไม่ก็ขนส่งกากนิวเคลียร์ไปบำบัดนอกเกาะไต้หวัน ซึ่งสุดท้ายก็ต้องนำกลับมาหาที่ทิ้งในประเทศ

ที่มาภาพ – https://shallsay.files.wordpress.com/2013/03/188989_10151295291605168_697533779_n.jpg