Click here to visit the Website

การรักษาแบบ องค์รวม ทั้งอาการทางกาย และทางใจ: พูดคุย นวดสัมผัส ทำสมาธิ   ( 3/3 โรงพยาบาลทางเลือก ต่อจากหน้าที่แล้ว 2/3 )
เราใช้สมุนไพร คือว่านหางจระเข้ มาทำแผลให้คนป่วย เป็นการผสมผสาน และลดค่าใช้จ่าย เพราะยาแผนปัจจุบันที่ทาแผล จะแพงมาก กระปุกนึง ตั้ง ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท ในขณะที่ เราใช้ว่านหางจระเข้ ราคาไม่กี่สิบบาท ก็ได้ผลเหมือนกัน
วัตถุดิบ ที่นำมาใช้ผลิตยาสมุนไพร
เทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ใช้ในการผลิต
ตักผงตัวยา ขี้เหล็กแห้งบดละเอียด ใส่แคปซูล
หลังการตรวจ คนไข้มีสิทธิ์เลือกวิธีการรักษา
     ไม่เพียงแต่รักษาเท่านั้น ที่โรงพยาบาล บางกระทุ่ม ยังผลิตยาสมุนไพรเองด้วย ทั้งเพื่อใช้เอง ในโรงพยาบาล และจำหน่ายไปตาม โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัย ในเขตภาคเหนือ ที่สนใจ โดยจะขยายพันธุ์ พืชสมุนไพร แล้วให้ชาวบ้านในพื้นที่ มารับไปปลูก โดยควบคุมเรื่องการใช้สารเคมี อย่างเคร่งครัด และจะรับซื้อคืน จากชาวบ้าน ในราคารับซื้อ ที่แน่นอน ในราคารับซื้อนี่เอง ที่จะถูกหักเอาไว้ กิโลกรัมละ ๑ บาท เพื่อนำเงินที่ได้ มาเข้าชมรมผู้สนใจสมุนไพร ของอำเภอบางกระทุ่ม ที่ถึงวันนี้ มีสมาชิกถึง ๗๐ กว่าคนแล้ว ชมรมนี้ จะทำหน้าที่ รวบรวม องค์ความรู้ เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้าน ที่เคยกระจัดกระจายอยู่ มารวบรวมเอาไว้ เป็นหนึ่งเดียว แล้วตรวจสอบ แลกเปลี่ยน พูดคุย และแบ่งปัน ข้อมูลความรู้ เกี่ยวกับ สมุนไพร ที่แต่ละคนเคยรู้ เคยเห็น และเคยใช้มา และจากการประชุม ชาวบ้านในชมรม ผู้สนใจสมุนไพร แห่งอำเภอบางกระทุ่ม ยังสะท้อนให้เห็นว่า ภูมิปัญญา และองค์ความรู้ เกี่ยวกับสมุนไพร ที่เคยมีอยู่ และใช้กัน ในชีวิตประจำวัน ได้สูญหายไป แทบจะไม่เหลือแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะ ขาดการเชื่อมต่อ การส่งผ่าน จากคนรุ่นหนึ่ง สู่คนอีกรุ่นหนึ่ง

     นายแพทย์ประเวศ วะสี เคยกล่าวว่า ในปี ๒๕๔๐ ที่ผ่านมา ประเทศไทย เสียค่าใช้จ่าย เรื่องสุขภาพประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ค่าใช้จ่ายนี้ เพิ่มขึ้น ด้วยอัตราประมาณ ๑๖ % ต่อปี เป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน โดยเสียเป็น ค่ายา และเทคโนโลยี จากต่างประเทศ เสียเป็นจำนวนมาก โดยยกตัวอย่าง ที่น่าสนใจคือ ในปีนึงๆ ไทยเรา สั่งยาถ่าย เข้ามา จากต่างประเทศ จำนวนหลายตัน หมอประเวศ ตั้งคำถาม ที่น่าสนใจว่า ทำไม แค่เอาอุจจาระ ออกจากท้อง คนไทยเรา ต้องเอาเงิน ไปให้ต่างประเทศ มากเพียงนั้น ในขณะที่ เรามีพืช ที่จะมาทำ ยาระบาย ได้มากมาย เช่น ใบระกา แก่นขี้เหล็ก ฝัก ราชพฤกษ์ มะขามแขก ฯลฯ และยังยกตัวอย่าง อีกว่า
ขมิ้นชัน นั้นใช้เป็น ยาแก้ปวดท้อง ได้ผลมากกว่า ยาลดกรด และอาจ ป้องกัน มะเร็งได้ด้วย ครีมพญายอ ใช้สำหรับโรคเริม และงูสวัด ได้ดีกว่ายาฝรั่ง ที่ดีที่สุด และแพงที่สุด สำหรับโรคนี้ ฯลฯ
     และยังมีข้อมูล ที่น่าสนใจระบุว่า ถ้าโรงพยาบาลของรัฐ ทั่วประเทศ หันมาใช้ แพทย์แผน ไทย ร่วมในการรักษาพยาบาลด้วย จะสามารถ ประหยัดงบประมาณ ได้ถึงปีละ ๒ หมื่นล้านบาททีเดียว
     นี่อาจเป็น หนทางเล็กๆ ทางหนึ่ง ที่โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง จะพึงกระทำ เพื่อช่วยชาติ และช่วยเหลือชาวบ้าน ในปี พ.ศ. ที่ เศรษฐกิจไทย ตกสะเก็ดเช่นนี้
     ในอีกทางหนึ่ง การกลับคืนมา ของยาสมุนไพร ในรูปแบบใหม่ๆ ในสถานพยาบาล ของรัฐ ภายใต้ การควบคุมดูแล และวินิจฉัย ของแพทย์ แผนปัจจุบัน ก็ดูจะสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธา ให้ชาวบ้าน ได้อย่างเต็มเปี่ยม
     ความสะดวกรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ และความประหยัด ที่โรงพยาบาลบางกระทุ่ม นำมาเสนอ เป็นทางเลือกให้แก่คนไข้ในวันนี้ จึงเป็นสิ่งที่ ผู้คนในชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ ศรัทธา และขานรับ กันอย่างเต็มใจ ไม่เพียงเท่านั้น การเปิดโอกาส ให้ชาวบ้านเอง ได้เข้ามามีส่วนร่วม และแสดงบทบาท ในการจรรโลง สืบทอด องค์ความรู้นี้ ร่วมกับโรงพยาบาล ยังเป็นโอกาสอันสำคัญ สำหรับชาวบ้าน ที่จะก้าวเข้ามา มีสิทธิ์มีเสียง ในสุขภาพอนามัย ของตนเอง แทนการทอดภาระนั้นไว้ ให้อยู่ในมือแพทย์ และรัฐ เหมือนเช่นอดีต
     เป็นโอกาส เป็นทางเลือก ของชาวบ้าน ที่จะเป็นเจ้าของชีวิตตนเองโดยแท้

สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ผลไม้พื้นเมือง | รพ. บางกระทุ่ม 1/3 | ปลาบึก | กระถินณรงค์

Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)