Click here to visit the Website

ปลาบึก
เรื่อง : ดร. ชวลิต วิทยานนท์ | ภาพ : ฝ่ายภาพ สารคดี
ปลาบึก (Pla-Buek)
ชื่อวิทยาศาสตร์
  • Pangasianodon gigas (Chevey, 1930)
ขนาด
  • ขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยพบ ลำตัวยาว ถึง ๒.๕ เมตร หนักถีง ๓๐๐ กิโลกรัม
ถิ่นอาศัย
  • เฉพาะแม่น้ำสายหลัก ของ แม่น้ำโขง และ ทะเลสาบเขมร
สถานภาพ
  • ใกล้สูญพันธุ์ (จาก Humphrey&Baim-1990, บัญชีรายชื่อ สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ของ IUCN และมติการประชุม การจัดสถานภาพ ของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ และสำนักนโยบาย และสิ่งแวดล้อม ปี ๒๕๓๙) อยู่ในบัญชี CITES Appendix I
ขอขอบคุณ: สถาบัน พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง
     ปลาบึก อยู่ในวงศ์เดียวกับ ปลาสวาย เทโพ สังกะวาดเหลือง (Family Pangasidae) เป็นวงศ์ที่ เรารู้จักกันมานาน เพราะมีประโยชน์ ในทางเศรษฐกิจ ด้านเป็นอาหาร ปลาในวงศ์นี้ พบเฉพาะในเขต อนุทวีปอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ ลุ่มแม่น้ำ สินธุ คงคา จนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง และบอร์เนียว รวม ๒๔ ชนิด แต่ในลุ่มแม่น้ำโขง และในประเทศไทย มีความหลากหลาย อจงชนิดพันธุ์ มากที่สุด ถึง ๑๓ ชนิด
     ปลาบึก จัดเป็น ปลาหนัง (catfish) ที่ใหญ่ที่สุด ชนิดหนึ่งของโลก และอาจนับเป็น ปลาน้ำจืด ที่มีน้ำหนักมากที่สุด อีกชนิดหนึ่ง เคยมีรายงาน พบปลาบึก ขนาดลำตัวยาวที่สุด ๒.๕ เมตร หนักกว่า ๓๐๐ กิโลกรัม แต่เป็นชนิดที่ พบเฉพาะถิ่น คือในลุ่มแม่น้ำโขง เท่านั้น
     ปลาบึก มีลักษณะรูปร่าง คล้ายกับ ปลาสวาย (P. hypophthalmus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันคือ Pangasianodon ปลาในสกุลนี้ มีก้านครีบท้อง มากถึงแปดเก้าอัน ปากกว้าง และมีฟัน บนขากรรไกร น้อยมาก เมื่อเทียบกับ ปลาชนิดอื่นๆ ในวงศ์เดียวกัน โดยเฉพาะปลาบึก ที่ตัวโตกว่า ๒๕ เซนติเมตร ฟันบนขากรรไกร จะหายไปหมด รวมทั้ง ซี่กรองเหงือกด้วย กระเพาะลมของปลาสกุลนี้ มีเพียงตอนเดียว โดยกระเพาะลม ของปลาบึก จะสั้น อยู่เฉพาะในช่องท้อง เท่านั้น ลักษณะที่แตกต่างจาก ปลาสวาย อีกอย่างก็คือ ปลาบึก มีหัวโตกว่า ประมาณหนึ่งในสี่ ของความยาวลำตัว และปลาบึก ที่มีขนาดใหญ่กว่า ๕๐ เซนติเมตร ขึ้นไป ก้านครีบแข็ง ของครีบอก และครีบหลัง จะไม่แหลมคม
     สีของปลาบึก ขนาดเล็ก จะเป็นสีเหลือบเขียวอมเหลือง มีแถบสีคล้ำที่ครีบหาง ทั้งแฉกบน และล่าง ปลาบึกขนาดใหญ่กว่า ๒๐ เซนติเมตร ลำตัวจะเป็น สีเทาอมเหลือง หรือน้ำตาลอ่อนเหลือบเงิน ด้านท้องสีจาง และในปลาขนาดใหญ่กว่า ๑ เมตรขึ้นไป ลำตัวจะกลายเป็น สีเทานวล หรือน้ำตาลอ่อน ด้านข้างเป็น สีเหลือบเงินจางๆ ในปลาตัวโตบางตัว อาจมีจุดประ สีคล้ำ เรียก "แต้มน้ำหมึก" ที่ข้างลำตัวเล็กน้อยด้วย

นมควาย, หมากพิพ่าน (อีสาน) (Nom Kwai)
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ผลไม้พื้นเมือง | รพ. บางกระทุ่ม | ปลาบึก | กระถินณรงค์

Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)