Click here to visit the Website

กลับไปหน้า สารบัญ นกปรอดหัวโขน เสียงขับขานจากกรงเลี้ยง (กลับไปอ่านหน้า vote คลิกที่นี้)
ส นั บ ส นุ น

ไพบูลย์ กนกวัฒนาวรรณ
ไพบูลย์ กนกวัฒนาวรรณ
ผู้เลี้ยงนกปรอดหัวโขน
  • การประกวด แข่งเสียงร้องของ นกปรอดหัวโขน ทำให้เกิด การพัฒนาสายพันธุ์

  • ควรถอดชื่อ นกปรอดหัวโขน ออกจากบัญชีรายชื่อ สัตว์ป่าสงวน  และคุ้มครอง และเปิดโอกาสให้ เพาะพันธุ์ได้โดยอิสระ

  • ผู้เลี้ยงหลายราย ยืนยันว่า สามารถเพาะพันธุ์ นกปรอดหัวโขน ในกรงได้

  • ผู้เลี้ยงนก ดูแล ประคบ ประหงมนก เป็นอย่างดี

    "มันมีแนวความคิดสองทาง พวกอนุรักษนิยมบอกว่า ทุกอย่างต้องอยู่ในป่า ถึงจะดูดี บ้านของข้าคือฟ้าเท่านั้น ส่วนพวกที่คิดแบบเกษตรกร ก็บอกว่า ทำไม เราไม่พัฒนาสายพันธุ์ เอานกปรอดหัวโขน มาเพาะขยายพันธุ์ในกรง ต่อไป อาจส่งเป็นสินค้าออก ถือเป็นการ ช่วยสร้างอาชีพให้คนไทยด้วย
    "ผมเองก็เป็นนักอนุรักษ์ ชอบป่าไม้ ชอบเที่ยวป่า แต่ก็เชื่อว่า การกำหนดให้ สัตว์ชนิดนั้นชนิดนี้ เป็นสัตว์สงวน โดยที่กรมป่าไม้ ไม่มีกำลังเจ้าหน้าที่เพียงพอ ในการตรวจจับ แต่ความต้องการ ของผู้ที่อยากได้สัตว์นั้นมาเลี้ยง มีมาก ก็ทำให้สัตว์สูญพันธุ์ ทีนี้ถามว่า มนุษย์มีปัญญา เพาะพันธุ์สัตว์พวกนี้ ในกรงไหม มีแน่นอน ขนาดผม ลองเพาะเองที่บ้าน ยังทำได้ ผมมีกรงเพาะอยู่สองคู่ เมื่อปีที่แล้ว ครอกหนึ่ง ออกลูกมาห้าตัว ตายไปสาม อีกครอกหนึ่ง ออกลูกมาสี่ตัว ตายไปสอง นี่ขนาด ผมยังมือใหม่อยู่ แสดงว่าเพาะพันธุ์ไม่ยาก และเท่าที่คุยกับ คนเลี้ยงหลายคน เขาก็เพาะพันธุ์ได้
    "ถ้ากรมป่าไม้ อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ โดยอิสระ ผมเชื่อว่า ในระยะยาว ก็จะเหมือน นกเขาชวา คือตอนแรก ก็จับมาจากป่า พอตอนหลัง เพาะพันธุ์ได้ ก็ไม่มีใครซื้อนกป่าอีก ถ้าเราเตรียม สภาพแวดล้อม ให้เหมาะสม ปีหนึ่ง ต้องเพาะได้ มากกว่าสองชุดแน่นอน
    "ตอนนี้ ไม่มีใครกล้าเพาะนกชนิดนี้ เพราะกลัวถูกกรมป่าไม้จับ คนที่เลี้ยง ก็ซื้อนกป่าทั้งนั้น ถ้าเปิดโอกาส ให้เพาะพันธุ์ได้ ผมเชื่อว่า อีกหน่อย คงไม่มีใครจับนกป่ามาเลี้ยงแน่ เพราะนกที่เพาะพันธุ์ได้เอง เสียงร้องดีกว่า ผมเองก็เลี้ยงนกเขาชวา เสียงร้องของนกเขาป่า กับนกเขาในกรง เรียกได้ว่า เกือบจะเป็น คนละพันธุ์กันเลย ทั้งที่มันเป็น นกพันธุ์เดียวกัน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ คนเพาะพันธุ์ จะเลือกเฉพาะ ตัวที่เสียงดี ๆ มาขยายพันธุ์ ก็เหมือนกับคน แม่กับลูกสาว หรือพ่อกับลูกชาย จะมีเสียงพูดคล้าย ๆ กัน ถ้ามีการจัดแข่งขัน คนก็จะซื้อแต่ พันธุ์ที่เสียงดี ๆ มาเลี้ยง ไม่มีใครเขาอยากซื้อนกป่า คนขายก็ไม่อยากจับนก ออกมาจากป่าแน่นอน
    "การจัดประกวดเสียงร้อง นกปรอดหัวโขน จะทำให้ คนหันมานิยม เลี้ยงนกมากขึ้น และน่าจะเป็นแรงผลักดันให้ กรมป่าไม้ หันมามองว่า ควรยกเลิกกฎหมาย ห้ามครอบครองได้แล้ว เพราะประชาชน เขาต้องการเลี้ยง เท่าที่ผมทราบ ตอนนี้ กรมป่าไม้ อนุญาตให้ เพาะพันธุ์ได้ก็จริง แต่ต้องไม่เกินสี่ตัว และต้องมี ใบถือครองก่อนปี ๒๕๓๕ ซึ่งตอนนี้ ขออนุญาตไม่ได้แล้ว คนก็ไม่กล้าเพาะพันธุ์ ผมคิดว่า ควรจะต้องแก้ไขกฎหมาย โดยเอานกปรอดหัวโขน ออกจาก พ.ร.บ. สงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า ปี ๒๕๓๕ และเปิดโอกาส ให้เพาะพันธุ์ได้ ใครอยากจะทำฟาร์ม ต้องมาจดทะเบียน มีกี่กรง ลงทะเบียนไว้ เป็นหลักฐานให้หมด
    "ถ้าคุณปล่อยให้เพาะพันธุ์ได้ วันหนึ่ง คุณก็ไม่ต้องไปพิสูจน์หรอกว่า นกตัวไหน จับมาจากป่า เพราะว่า มีนกเกลื่อนเมือง จนไม่มีใคร ไปจับนกป่าอีกแล้ว ยิ่งคนที่เลี้ยงนก อย่างพวกผม ก็จะไม่อยากซื้อนกป่า เพราะต้องเอามาลุ้นว่า จะร้องดีหรือไม่ ต้องเลี้ยงตั้งห้าปี กว่ามันจะร้องได้ หรือนกที่เก่ง ๆ ก็ต้องเจ็ดแปดปี เพราะฉะนั้น ผมก็ซื้อลูกนก ที่เขาเพาะพันธุ์จาก พ่อที่เคยเป็นแชมป์ แล้วนกที่ เพาะพันธุ์ในกรง ก็เชื่องง่าย นกป่า ต้องเลี้ยงถึง สองปี กว่าจะเชื่อง บางทีขายคู่ละหมื่น ผมก็ซื้อ ถ้าเปิดโอกาสให้ พัฒนาพันธุ์ได้ หลังจากนำนกมาแข่งขัน สักสองปี เราก็จะคัดพันธุ์ดี ๆ เอาไปเพาะพันธุ์
    "นักอนุรักษ์มักมองว่า คนที่เลี้ยงนก ทรมานสัตว์ ผมว่า ไม่เป็นความจริงแน่นอน ยิ่งถ้าคุณส่งเสริมให้เลี้ยงนก นกมีราคาดี ไม่มีใครกล้าทำนกตายหรอกครับ คุณรู้ไหมว่า บางคน ดูแลนก ดีกว่าลูกเขาอีก ทั้งเก็บอาหาร เช็ดขี้ทั้งวันทั้งคืน จับนกอาบน้ำ ล้างกรงเช้าเย็น ไม่มีใครทรมานนกของตัวเองหรอกครับ หรือเวลาเอานกมาร้องแข่งกัน นักอนุรักษ์บอกว่า นกมันเครียด ผมขอถามหน่อยว่า เวลาคนเราเครียด เราจะร้องเพลงไหม... ไม่ร้องหรอกครับ นกก็เหมือนกัน ถ้าเครียดมันจะซึม อย่างถ้านำมาแข่งขัน เจอนกตัวอื่น ๆ มันจะร้องดีใจ กระโดดโลดเต้น เพราะอยู่บ้าน มันก็เบื่อ
    "ผมขอถามพวกนักอนุรักษ์หน่อยว่า ท่านกินไก่หรือเปล่า ไก่ก็ถูกจับมาขังเหมือนกัน ถ้าคุณบอกว่า พวกผมเอานกมากักขัง ไม่ให้มีอิสรภาพ ผมขอถามหน่อยว่า ในโลกนี้ มีสัตว์ชนิดไหนบ้าง ที่มีอิสรภาพ คนเราเกิดมา ก็ถูกจำกัดอิสรภาพ มาตั้งแต่เกิด ถูกพ่อแม่เลี้ยงดู ถูกส่งเข้าโรงเรียน นกก็เหมือนกัน ถ้าจับมาอยู่ในกรง สักวันหนึ่ง เขาก็จะรู้สึกว่า นี่คือบ้านของเขา ถึงเวลา ก็ให้เขาขยายพันธุ์ พาไปแข่งขัน พอเลิกแข่ง ก็ปลดเกษียณ เอาเขาไปทำพันธุ์ ก็มีความสุขแบบของเขา
    "ถ้าพวกอนุรักษ์บอกว่า เลิกเลี้ยงนกเสียเถอะ คุณก็ต้องไปบอก คนทั้งประเทศให้เลิก คุณทำได้ไหม การเลี้ยงนก คืองานอดิเรกที่ดี ทำให้ไม่ต้องไปมั่วสุมไร้สาระ กินยาบ้า เด็กก็เริ่มมีสมาธิ รู้จักสังเกตว่า ทำไมสัตว์เป็นอย่างนี้ ผมคิดว่า การเลี้ยงนก มีผลดีมากกว่าผลเสีย
    "ตอนนี้ มีผู้เลี้ยงนกปรอดหัวโขน อยู่ทั่วประเทศ ส่วนใหญ่ อยู่ทางภาคใต้ สำหรับในกรุงเทพฯ ตอนนี้ มีมากกว่า ๒๐ ชมรม ศูนย์กลางการเล่น นกปรอดหัวโขน อยู่ที่ สนามโรงเรียน พิบูลย์ประชาสรรค์ ดินแดง และมีสนามอื่นอีก ๒๐ สนาม ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง
    "ขณะนี้ผมพยายาม รวบรวมรายชื่อ คนเลี้ยงนก ๕ หมื่นรายชื่อ ไปเสนอกรมป่าไม้ ให้เปิดโอกาสให้เพาะพันธุ์ ก็ไม่รู้ว่า จะได้ผลแค่ไหน
    "ผมอยากฝากไว้ว่า ผมสนับสนุน การอนุรักษ์ธรรมชาติเต็มที่ แต่คนที่อนุรักษ์ ควรรู้แบบรู้จริง ไม่ใช่หลับหูหลับตาอนุรักษ์ ไม่ใช่เอาแต่บอกว่า ฟ้าคือหลังคาบ้านข้าอย่างเดียว"

อุทัย ตรีสุคนธ์
อุทัย ตรีสุคนธ์
อุปนายก สมาคมอนุรักษ์นก และธรรมชาติ แห่งประเทศไทย

click hereอ่าน (ฝ่ายคัดค้าน) คลิกที่นี่

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม *
*

 

 

สนับสนุน หรือ คัดค้าน นกปรอดหัวโขน   เสียงขับขาน จากกรงเลี้ยง
เมื่อวิทยานิพนธ์ ถูกบังคับ ให้เขียน เป็นภาษาอังกฤษ
การแปลงพันธุกรรม GMOs
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | อัครศิลปิน | "ความจริง" ของปัญหา คนกับป่า ที่จอมทอง
หกรอบพระชนมพรรษา | ซองคำถาม | เฮโลสาระพา
  In a Changing World: Seventy-two Years as King of the People
A Bright Diary from Khao Nampu | Dung Beetles: Sculptors on the Ground


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ |
มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) E-mail