Click here to visit the Website

เมื่อวิทยานิพนธ์ ถูกบังคับ ให้เขียน เป็นภาษาอังกฤษ
( ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่ )
กุลธิดา สามะพุทธิ : รายงาน
บุญกิจ สุทธิญาณานนท์ : ภาพ

.....ในระเบียบทั้ง ๒๖ ข้อ ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการทำ วิทยานิพนธ์ และการสอบ วิทยานิพนธ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ไม่มีข้อไหนที่เป็นปัญหา มากเท่ากับ "ข้อ ๙."
....."การเขียนวิทยานิพนธ์ ให้ใช้ภาษาอังกฤษ ยกเว้น กรณีที่ ใช้ภาษาอังกฤษแล้ว จะทำให้ การบรรยาย สื่อความหมาย ได้ไม่ชัดเจน ก็ให้ใช้ภาษาไทย โดยให้นักศึกษา ขออนุมัติ เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาไทย ต่อหัวหน้าภาควิชา หรือผู้อำนวยการโครงการ แล้วแต่กรณี"
.....มีผู้สันนิษฐานว่า ผลการจัดอันดับ มหาวิทยาลัย ยอดนิยม ในเอเชีย โดยนิตยสาร Asia week เมื่อปีที่แล้ว เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ ผู้บริหารลุกขึ้นมา เอาจริงเอาจัง กับการบังคับให้ นักศึกษา ระดับปริญญาโท และเอก เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งกลายเป็น จุดเริ่มต้น ในการถกเถียงถึง ข้อดี ข้อเสีย และ วิธีคิด ที่อยู่เบื้องหลัง การบังคับใช้ ระเบียบข้อนี้ กันอย่างกว้างขวาง
    บัณฑิตวิทยาลัย กำหนดให้นักศึกษา ระดับหลังปริญญาตรี เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ มาตั้งแต่ก่อตั้ง เนื่องจาก มหิดลเป็นมหาวิทยาลัย ที่เน้นการเรียน การสอน ในสาขาวิทยาศาสตร์ มีอาจารย์ เป็นชาวต่างชาติ ใช้ตำราภาษาอังกฤษ จึงเห็นว่านักศึกษา ควรเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้สอดคล้องกับการ "นำเข้า" ความรู้จากต่างประเทศ แต่ที่ผ่านมา ผู้บริหารยอมรับว่า "มิได้เน้น ให้ปฏิบัติเท่าที่ควร... หลายหลักสูตร ได้มีการอนุโลม ผ่อนผัน ให้เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาไทย กันเรื่อยมา เกิดความเคยชิน จนกระทั่ง ลืมข้อกำหนด ที่ใช้บังคับอยู่ตลอด"

.....แต่ถ้าสืบลงไป ในรายละเอียด ก็จะพบว่า "การตีราคาของ ก.พ." ก็มีส่วนในเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย
.....รศ. นพ. มันตรี จุลสมัย อดีตคณบดี บัณฑิตวิทยาลัย เล่าไว้ ในการเสวนา วิทยานิพนธ์ จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัย เมื่อต้นปี ๒๕๔๒ ว่า "ตอนที่เราเปิดหลักสูตร ปริญญาโท ทางวิทยาศาสตร์ ขึ้นมาในปี ๒๕๐๗ ก.พ. ตีราคา (เงินเดือน) บัณฑิตปริญญาโท แค่เดือนละ ๑,๒๐๐- ๑,๓๐๐ บาท เราจึงต่อรองกับ ทาง ก.พ. ว่าบัณฑิตของเรา ได้มาตรฐานสากล ก.พ. ถามว่า มาตรฐานสากล คืออะไร เราก็บอกว่า นักศึกษา เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ก.พ. จึงตกลง ยอมขึ้นราคา ให้เป็น ๑,๗๕๐ บาท เท่ากับนักศึกษา ที่จบปริญญาโท จากอเมริกา หรือยุโรปในครั้งนั้น"
.....ปัจจุบัน การเขียน วิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ อาจเป็นเรื่องปรกติ สำหรับนักศึกษา ที่เรียน หลักสูตร ภาษาอังกฤษ หรือ หลักสูตร นานาชาติ ในมหาวิทยาลัยทั่วไป ประเด็นอยู่ที่ คำถามถึง ความเหมาะสม ในการบังคับให้ นักศึกษาที่ เรียนในหลักสูตร ภาษาไทย เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียง "เรื่องภายใน" ของมหาวิทยาลัย มหิดล เท่านั้น หากแต่เป็น ประเด็นสาธารณะ ที่ว่าด้วย การนำองค์ความรู้ ซึ่งมหาวิทยาลัย และ บัณฑิตผลิตขึ้น โดยใช้ภาษีอากร ของประชาชน ไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ มากที่สุด ทั้งต่อสังคม และตัวนักศึกษาเอง ทั้งยังเชื่อมโยงไปถึง การค้นหาบทบาท และเป้าหมาย ที่แท้จริง ของการจัดการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ของไทยอีกด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


นายแพทย์อดุลย์ วิริยเวชกุล เมื่อวิทยานิพนธ์ ถูกบังคับ ให้เขียน เป็นภาษาอังกฤษ รศ. นพ. มันตรี จุลสมัย

นายแพทย์ อดุลย์ วิริยเวชกุล
อดีตคณบดี บัณฑิตวิทยาลัย และอดีต รองอธิการบดี มหาวิทยาลัย มหิดล

รศ. กฤตยา อาชวนิจกุล
กรรมการหลักสูตร ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหิดล

ส นั บ ส นุ น
  • เป็นการพัฒนา ความสามารถ ในการใช้ภาษาอังกฤษ ให้แก่นักศึกษา ซึ่งจะช่วย ให้มีโอกาสที่ดี ในการสมัครงาน และการศึกษา ต่อต่างประเทศ
  • การเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้วิทยานิพนธ์ ได้รับความสนใจ ในแวดวงวิชาการ ระดับนานาชาติ ถูกหยิบยก ขึ้นมาวิจารณ์ ถกเถียง โดยเฉพาะเมื่อ ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารภาษาต่างประเทศ
  • คนส่วนใหญ่ ในประเทศ ไม่ค่อยได้อ่าน หรือใช้ประโยชน์ จากวิทยานิพนธ์ อยู่แล้วไม่ว่า จะเขียนเป็นภาษาไทย หรือไม่ก็ตาม

คั ด ค้ า น

  • การเขียน วิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ได้เป็น เครื่องวัดว่า การจัดการศึกษา ในมหาวิทยาลัย มีคุณภาพ หรือมีความเป็น สากล
  • ภาษาอังกฤษ ทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ จากองค์ความรู้ จากวิทยานิพนธ์ได้ ทำให้ ไม่เกิด ความรู้ขึ้น ในสังคม
  • การเผยแพร่ ความรู้ สู่นานาชาติ เป็นเพียงผลพลอยได้ ถ้าต้องการเผยแพร่ ควรพิจารณาแปล เฉพาะเรื่องไป
  • เป็นการปิดกั้น การเรียนรู้ ของนักศึกษา ทั้งสายวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ซึ่งย่อมจะเขียน งานวิชาการได้ดี และลุ่มลึกกว่า ถ้าได้ใช้ภาษา ที่ตนถนัดที่สุด

อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
.เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่
พบเห็นข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ


คัดค้าน/ถ้าวิทยานิพนธ์ไทยเป็นภาษาอังกฤษหมด/คนที่รู้ภาษาอังกฤษแต่อ่านไทยออกก็ไม่มีโอกาสได้อ่านนะซิ แล้วจะไปมีประโยชน์อะไรถ้าคนต่างประเทศอ่านออกแต่ตนไทยในแผ่นดินไทยอ่านไม่ออก
กาญจนา
- Monday, October 13, 2003 at 06:30:21 (EDT)

คัดค้าน/ถ้าวิทยานิพนธ์ไทยเป็นภาษาอังกฤษหมด/คนที่รู้ภาษาอังกฤษแต่อ่านไทยออกก็ไม่มีโอกาสได้อ่านนะซิ แล้วจะไปมีประโยชน์อะไรถ้าคนต่างประเทศอ่านออกแต่ตนไทยในแผ่นดินไทยอ่านไม่ออก
กาญจนา
- Monday, October 13, 2003 at 06:30:05 (EDT)

คัดค้านการเขียนเป็นภาษาอังกฤษ
a <->
- Tuesday, September 23, 2003 at 05:01:20 (EDT)

สนับสนุนค่ะ โลกเป็นสากลมากขึ้นจึงไม่ควรมีการปิดกั้นทางความรู้ในรูปแบบใดๆ ถ้าคนรุ่นก่อนใจแคบ คนไทยเราคงไม่มีโอกาศได้พัฒนามาจนเท่าทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามผู้เขียนก็ควรตระหนักด้วยว่า ต้องสามารถเขียนและแปลสิ่งที่ทำมากับมือตัวเองเป็นภาษาไทยได้ จะให้ดีควรแปลไทยได้หลายๆระดับตามพื้นฐานความรู้ของผู้อ่านด้วยค่ะ
ครูเก่า <nchittas@mail.med.cmu.ac.th>
- Tuesday, June 24, 2003 at 08:09:15 (EDT)

คัดค้านค่ะ โดยเฉพาะวิทยานิพนธ์ทางด้านสังคมศาสตร์ทั้งหลาย เราควรจะให้คนไทยทุกระดับได้นำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ควรนึกถึงหน้าตาของมหาวิทยาลัยมากเกินไป และส่วนใหญ่นักศึกษาของมหิดลเองก็ยังต้องไปจ้างแปล ทำให้เสียเงินเพิ่มขึ้นอีกคนละไม่ต่ำ 2 หมื่น ซึ่งไม่น่าจะต้องเสีย ถ้าจะให้ใช้ได้ในระดับสากล แค่บทคัดย่อภาษาอังกฤษก็พอแล้ว ผู้ใหญ่อย่าดื้อกันนักเลย ฟังความเห็นนักศึกษาส่วนใหญ่บ้างเถอะค่ะ
พัชราภา <naikia@thaimail.com>
- Saturday, March 08, 2003 at 23:58:18 (EST)

คัดค้านค่ะ ไม่เห็นด้วยเลย เนื่องจากตัวเองก็เรียนอยู่ในสายด้านภาษา การสื่อสารด้วยภาษาแม่เป็นการสื่อสารที่ทำให้ทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารที่มีภาษาแม่เดียวกันเข้าใจกันได้อย่างลึกซึ้งและมากที่สุด ดิฉันได้เคยพยายามอ่านวิทยานิพนธ์ด้านภาษาหลายเล่มที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้ง ๆ ที่ต้องการอธิบายถึงความหมายในภาษาไทย พออ่านแล้วรู้สึกได้เลยว่ามีการทำให้ความหมายกำกวมเกิดความลักลั่นทางความหมายเป็นอย่างมาก และเรื่องที่มีว่าที่บัณฑิตจ้างแปลวิทยานิพนธ์นั้นก็เป็นเรื่องจริง ดังนั้นการยกเหตุผลมาอ้างต่าง ๆ นานาเพื่อให้เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษนั้นจึงเป็นอันตกไป ฟังไม่ขี้นค่ะ
คมคิด คิดคม <khomkhid007@yahoo.com>
- Wednesday, January 22, 2003 at 08:20:14 (EST)

คัดค้าน เพราะคนไทยที่ด้อยโอกาสได้สำผัสกับภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก สภาพแวดล้อมแบบชนบทหรือแวดล้อมไปด้วยคนไทยด้วยกัน เมื่อได้เรียนภาษาอังกฤษตอนโต ความหมายภาษาอังกฤษย่อมเข้าใจได้น้อยกว่าภาษาไทยแน่นอน ดังนั้นคิดว่า การเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทยในวิชาทีไม่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนไทย เพราะการที่เราจะรู้ภาษาอังกฤษไม่ได้แสดงว่าเป็นคนเก่ง และคนไม่รู้ภาษาอังกฤษไม่ได้แสดงว่าเป็นคนโง่ ขอบคุณที่ให้แสดงความคิดเห็นคะ
ธนวัน ศรีทองกุล <P_joy>
- Sunday, December 15, 2002 at 00:02:42 (EST)

Objection! I strongly believe that Thesis by Thais should be written in Thai language. The point is to make what you have done understandable and benefit for accumulative knowledge for Thais. And I also believe that the authors would be happy that at least the people understand what they have done, not a bunch of paper that looks cool but no one really understand what exactly the message is.
bee <tsiripong@hotmail.com>
- Sunday, November 24, 2002 at 12:43:28 (EST)

ทำไมคนไทยไม่เอาอย่างญี่ปุ่นบ้าน ที่คนต่างชาติเข้าประเทศญี่ปุ่นต้องไปหัดเรียนภาษาญี่ปุ่น เพื่อที่จะทำการค้า, ธุรกิจ หรือแม้กระทั่งการเรียนก็ตาม ไม่เห็นมีคนญี่ปุ่นคนไหนจำเป็นต้องเก่งภาษาอังกฤษเพื่อที่จะได้รับทำงาน แล้วทำไมภาษาไทยก็สวย ไม่ให้คนต่างชาติมาเรียนภาษาไทย หรือหาล่ามมาเพื่อแปลภาษาไทย ในการทำธุรกิจบ้านต้องบ้าง ไม่ได้คัดค้าน หรือเห็นด้วย แต่แค่คิดว่ามันฃึ้นอยู่กับความเหมาะสมของรายวิชาหรือมหาวิทยาลัย ผู้เรียนมีสิทธิเสรีที่จะเลือกในการทำมากกว่า
พัทธ <wateregeo@hotmail.com>
- Tuesday, November 19, 2002 at 23:42:01 (EST)

สนับสนุนครับ เพราะการที่จะเผยแพร่ข้อมูลออกไปสู่สากลต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ หากทำเป็นภาษาไทยจะทำให้การเผยแพร่อยู่ในวงแคบเนื่องจากถูกจำกัดจากภาษาที่ใช้ครับ
S. <webmaster@assump.net>
- Tuesday, November 12, 2002 at 23:14:17 (EST)

สนุบสนุนเพราะเพื่อความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ
นายรณยุทธ
- Sunday, August 18, 2002 at 22:06:46 (EDT)

เห็นด้วย เพราะเป็นการยกระดับวิทยานิพนธ์ของเด็กไทยให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล
รศ.ดร.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย <asawitri@ratree.psu.ac.th>
- Saturday, August 17, 2002 at 10:52:03 (EDT)

เห็นด้วย เพราะเป็นการยกระดับวิทยานิพนธืของเด็กไทยให้อย่ในระดับมาตรฐานสากล
รศ.ดร.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย <asawitri@ratree.psu.ac.th>
- Saturday, August 17, 2002 at 10:49:41 (EDT)

ดิฉันคัดค้านกับการเหมารวมทุกสาขาวิชาจะต้องทำเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งยกตัวอย่างดังนี้ สาขาวิชาที่ใช้ศัพท์วิทยาศาสตร์หรือเทนโนโลยีซึ่งส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษอยู่แล้วคงมีความเหมาะสมแต่สาขาในด้านศิลปวัฒนธรรม สังคมชุมชนนั้นควรทำเป็นภาษาไทย และหากรณีต้องการเผยแพร่ปกติ Abstract ก็เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาลำดับแรกอยู่แล้ว ต่อมาคุณก็สามารถจัดแปลในภาษาที่ 2 ได้ ดิฉันจบปริญญาโทมาจากต่างประเทศ ก็ไม่เห็นความถูกต้องของการกล่าวอ้างเหตุผลว่าคนทั่วไปก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากวิทยานิพนธ์อยู่แล้ว ไม่เห็นว่ามีเหตุผลใดสมควรจะดูถูกหรือไม่เห็นความสำคัญกับสังคมไทยแต่ประการใด ดิฉันหมายถึงงานวิจัยของคนไทยจำเป็นต้องมีฉบับภาษาไทยและหากจะมีภาษาที่สองนั่นเป็นอีก Step หนึ่ง เคยเห็นแต่ต่างประเทศนำงานวิจัยภาษาอื่นมาพยายามแปลเป็นภาษาของตนแต่คนไทยกลับทำสวนทางกัน ต้องออกตัวว่ามิใช่ดิฉันไม่เห็นความสำคัญของภาษาต่างประเทศไม่งั้นคงไม่ดิ้นรนไปเรียนแต่ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ที่กล่าวมาทำให้รู้สึกคัดค้านมากว่าจะยอมรับได้ ขอบคุณหากท่านผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องจะเปิดโลกทัศน์ให้กว้างและพิจารณากันอย่างจริงจังมากกว่าการเอาชนะว่าฝ่ายใดถูกหรือฝ่ายใดผิด
บอสตัน
- Saturday, April 06, 2002 at 02:29:54 (EST)

คัดค้านเพราะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่นักศึกษา การบังคับให้เขียนตอนปริญญาโท ไม่ได้ช่วยให้คนที่อ่อนภาษาอังกฤษมีการพัฒนาทางภาษาจนเก่งขึ้นถึงขนาดเขียนสื่อความหมายกับคนต่างชาติได้ดีเท่ากับภาษาไทยหรอก แต่ถ้าจะให้เป็นอินเตอร์ นศ.ที่จะเรียน ป. โท ทุกมหาวิทยาลัย ให้ออกกฎมาเลยว่าทุกหลักสูตรที่เรียนต้องเป็นภาษาอังกฤษ และต้องผ่านการทดสอบความสามารถทางภาษาก่อนเข้าเรียน ไม่ว่าจะเป็น อ่าน พูด ฟัง ต้องอยู่ในเกณฑ์สื่อสารได้ดี จะได้เตรียมพร้อมก่อนสมัคร การมาพัฒนาทักษะทางภาษาให้เชี่ยวชาญควบคู่กับการศึกษาหลักสูตร ป. โท เพียงระยะเวลา 2 ปีนั้น เป็นเรื่อง ยาก ๆๆๆๆ สำหรับคนที่ไม่พร้อมและไม่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษ จะได้ไม่ต้องคิดเรื่องศึกษาต่อ
อภิรัตน์ วัชราภรณ์ <apiratw@hotmail.com>
- Sunday, February 10, 2002 at 10:12:32 (EST)

ดิฉันขอคัดค้าน เพราะว่าการเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทยก็ต้องใช้เวลารวบรวมเนื้อหาเป็นเวลานานอยู่แล้ว แล้วที่สำคัญก็คือยากด้วย ถ้าหากจะให้เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ ต่อไปก็คงจะมีแต่คนที่เรียนเก่งแล้วก็เก่างภาษาอังกฤษออกเท่านั้นถึงจะเขียนวิทยานิพนธ์ได้ และดีไม่ดีก็อาจจะไม่มีใครอยากที่จะเรียนปริญญาโทหรือปริญญาเอกแล้วล่ะค่ะ เพราะกว่าจะผ่านปริญญาตรีไปได้ก็ถือว่ายากเต็มที่แล้วนะคะ อย่าคิดว่าคนไทยทุกคนต้องเก่งภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ว่าไม่เก่งภาษาอังกฤษเดี๋ยวนี้จะอยู่ไม่ได้นะคะ สงสารพวกที่เรียนปริญญาโทบ้างเถอะนะคะ แค่เรื่องเรียนนี่ก็หนักหนาเอาการแล้วนะคะ อย่าให้เขาต้องเรียนภาษาเพิ่มเติมตอนแก่เลยนะคะ หากมีการให้ทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษก็คงจะลดโอกาสเด็กที่เรียนเก่งแล้วไม่รู้ภาษาอังกฤษให้เป็นคนที่ว่างงานอยู่ให้สังคมประณามอย่างรังเกียจก็ได้นะคะ
วิไลพร วิจิตร <Wilaiporn_Wi@hotmail.com>
- Tuesday, February 05, 2002 at 04:07:58 (EST)

ดิฉันขอคัดค้าน เพราะว่าการเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทยก็ต้องใช้เวลารวบรวมเนื้อหาเป็นเวลานานอยู่แล้ว แล้วที่สำคัญก็คือยากด้วย ถ้าหากจะให้เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ ต่อไปก็คงจะมีแต่คนที่เรียนเก่งแล้วก็เก่างภาษาอังกฤษออกเท่านั้นถึงจะเขียนวิทยานิพนธ์ได้ และดีไม่ดีก็อาจจะไม่มีใครอยากที่จะเรียนปริญญาโทหรือปริญญาเอกแล้วล่ะค่ะ เพราะกว่าจะผ่านปริญญาตรีไปได้ก็ถือว่ายากเต็มที่แล้วนะคะ อย่าคิดว่าคนไทยทุกคนต้องเก่งภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ว่าไม่เก่งภาษาอังกฤษเดี๋ยวนี้จะอยู่ไม่ได้นะคะ สงสารพวกที่เรียนปริญญาโทบ้างเถอะนะคะ แค่เรื่องเรียนนี่ก็หนักหนาเอาการแล้วนะคะ อย่าให้เขาต้องเรียนภาษาเพิ่มเติมตอนแก่เลยนะคะ หากมีการให้ทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษก็คงจะลดโอกาสเด็กที่เรียนเก่งแล้วไม่รู้ภาษาอังกฤษให้เป็นคนที่ว่างงานอยู่ให้สังคมประณามอย่างรังเกียจก็ได้นะคะ
วิไลพร วิจิตร <Wilaiporn_Wi@hotmail.com>
- Tuesday, February 05, 2002 at 03:58:15 (EST)

I can not make decision to agree or disagree because writing thesis in English there are more good resons than what doctor Adul can raise, some of them writing the thesis in English to get the fund from abroad and let foreign country to develop their research until can commercialize its, some of them even can write in English but realized that the results still can not commercialize and needs to develope some more until can apply for patent therefore they decide to write it in Thai . In conclusion I would suggest all of you to consider my opinion that "If student who want to write thesis in English, as a researcher should decide by his/herself whether the result can be a new innovative result and has commercial or social value or not. In case the thesis still not meet the aforesaid value and being new innovative result, better to write it in Thai. Hopefully, you may consider suggestion from non academic person like me. Thank you & Regards, Note:Thailand lost a lot of money to the person behave like academic but no value results of their action. Chawalit Petnamsin - Wednesday, November 07, 2001 at 12:15:25 (EST) --------------------------------------------------------------------------------
Chawalit Petnamsin <patumwan@asiaaccess.net.th>
- Wednesday, November 07, 2001 at 12:19:28 (EST)

I can not make decision to agree or disagree because writing thesis in English there are more good resons than what doctor Adul can raise, some of them writing the thesis in English to get the fund from abroad and let foreign country to develop their research until can commercialize its, some of them even can write in English but realized that the results still can not commercialize and needs to develope some more until can apply for patent therefore they decide to write it in Thai . In conclusion I would suggest all of you to consider my opinion that "If student who want to write thesis in English, as a researcher should decide by his/herself whether the result can be a new innovative result and has commercial or social value or not. In case the thesis still not meet the aforesaid value and being new innovative result, better to write it in Thai. Hopefully, you may consider suggestion from non academic person like me. Thank you & Regards, Note:Thailand lost a lot of money to the person behave like academic but no value results of their action.
Chawalit Petnamsin <patumwan@asiaaccess.net.th>
- Wednesday, November 07, 2001 at 12:17:33 (EST)

I can not make decision to agree or disagree because writing thesis in English there are more good resons than what doctor Adul can raise, some of them writing the thesis in English to get the fund from abroad and let foreign country to develop their research until can commercialize its, some of them even can write in English but realized that the results still can not commercialize and needs to develope some more until can apply for patent therefore they decide to write it in Thai . In conclusion I would suggest all of you to consider my opinion that "If student who want to write thesis in English, as a researcher should decide by his/herself whether the result can be a new innovative result and has commercial or social value or not. In case the thesis still not meet the aforesaid value and being new innovative result, better to write it in Thai. Hopefully, you may consider suggestion from non academic person like me. Thank you & Regards, Note:Thailand lost a lot of money to the person behave like academic but no value results of their action.
Chawalit Petnamsin <patumwan@asiaaccess.net.th>
- Wednesday, November 07, 2001 at 12:15:25 (EST)

I can not make decision to agree or disagree because writing thesis in English there are more good resons than what doctor Adul can raise, some of them writing the thesis in English to get the fund from abroad and let foreign country to develop their research until can commercialize its, some of them even can write in English but realized that the results still can not commercialize and needs to develope some more until can apply for patent therefore they decide to write it in Thai . In conclusion I would suggest all of you to consider my opinion that "If student who want to write thesis in English, as a researcher should decide by his/herself whether the result can be a new innovative result and has commercial or social value or not. In case the thesis still not meet the aforesaid value and being new innovative result, better to write it in Thai. Hopefully, you may consider suggestion from non academic person like me. Thank you & Regards, Note:Thailand lost a lot of money to the person behave like academic but no value results of their action.
Chawalit Petnamsin <patumwan@asiaaccess.net.th>
- Wednesday, November 07, 2001 at 12:10:32 (EST)

อด
speed <speed2791@yahoo.com>
- Monday, July 30, 2001 at 09:39:54 (EDT)

คัดค้าน เพราะว่าตอนนี้คุณอยู่ในประเทศไทย เราต้องให้ความเคารพกับภาษาของเรา การทำวิทยานิพนธ์ มีจุดมุ่งหมานเพื่ออะไร ไม่ใช่เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาหรอกหรือ ไม่ใช่เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงหรอกหรือ ถ้าคุณทำวิทยานิพนธ์แล้วไม่ทำให้เยาวชนคนอื่นๆที่เป็นคนไทยได้ใช้ประโยชน์แล้วคุณทำ ทำไม
นักศึกษา ปริญญาตรี <42104885@wu.ac.th>
- Saturday, June 09, 2001 at 02:25:36 (EDT)

คัดค้านการเขียนวิทยานิพนธ์เต็มที่เลยครับ เพราะองค์ความรู้ที่คนไทยคิดค้นขึ้นมาได้ คนไทน่าจะรู้เรื่องมากที่สุดและควรนำไป เผยแพร่ให้คนไทยได้ใช้ประโยชน์ เพราะมหาวิทยาลัยก็อยู่ได้ด้วยเงินของคนไทย วิทยานิพนธ์เรื่องไหนเห็นสมควรเผยแพร่ให้ต่างชาติรู้ก็แปลไปซิครับ และถ้างานของเรามีประโยชน์จริง ผู้ที่อยากได้ความรู้ก็ควรลงทุนมาแปลเองอย่างเช่นที่เราไปแปลจากภาษาต่างประเทศมาไง ชาวต่างประเทศไม่เห็นมีใคร แปลเป็นภาษาไทยมาถวายเราเลยนี่ จริงไหม? แต่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ต้องสนับสนุนให้เยาชนไทยเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพราะ จะมามารถไปใช้ และหาความรู้ในระดับนานาชาติได้ครับ
จิรยุทธ์ คงนุ่น <Jir@thailand.com>
- Thursday, November 30, 2000 at 10:03:58 (EST)

ผมคัดค้านการให้เขียนวิทยานิพนธ์เปนภาษาอังกฤษ แต่ผมก้อคัดค้านความเห็นที่จะเอาชาตินั้น ชาตินี้มาอ้าง เช่น อ้าง ญี่ปุ่น เดนมาร์ค เยอรมัน มันไม่เกี่ยวกัน เจตนาของการทำวิจัย ก้อเพื่อให้มีความรู้ใหม่ออกมา การจะแสดงมันออกมาสู่สายตาประชาโลก ก้อด้วยการ publication ใน international journal หรือ การ present research finding ใน international conference การแก้ปัญหาโดยการให้เขียนวิทยานิพนธ์เปนการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ คือ เรียนภาษาอังกฤษ ก้อส่วนเรียนภาษาอังกฤษ จะ แสดงผลงานวิจัยสู่ชาวโลก ก้อควรจะ present research finding in international conference แต่ผมก้อไม่เห็นด้วยกับฝ่ายค้าน เพราะมันเปนความคิดที่โง่มากที่มาอ้างเรื่องชาตินิยม อยากรู้มีกี่คนที่ใช้คอมทำในไทย เพื่อส่ง email มาแสดงความคิด =) แต่ที่ผมคัดค้านการเขียนวิทยานิพนธ์เปนภาษาอังกฤษ เพราะผมคิดว่า มันไม่ได้เปนการแก้ปัญหาของการที่จะทำให้ผลงานวิจัยของคนไทยเผยแพร่สู่ชาวโลก ควรจะ public in international journal สิ ถึงจะเรียกว่า แน่จริง =) ฉะนั้น โปรดอย่าปน ระหว่างการเรียนภาษาอังกฤษ เข้ากับการเขียนวิทยานิพนธ์ เพราะในการเขียนวิทยานิพนธ์ขนาดยาว ซึ่งควรจะต้องใช้การบรรยายที่แสดงความเข้าใจในเรื่องที่กำลังศึกษา ถ้าคนที่ขาดประสบการณ์ทางภาษา จะไม่สามารถทำได้ และเวลาเรียน ป โท เพียง สองปี ป เอก สาม ปี ถ้านักศึกษาจะต้องเสียเวลาเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษอีก อาจจะเปนการยาก และจริงๆ ถ้าจะวัดความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา ก้อให้สอบ TOEFL หรือ IELTS น่าจะดีกว่า
พิพัฒน์ พิชเยนทรโยธิน
- Sunday, November 19, 2000 at 07:51:49 (EST)

คัดค้านเต็มที่ครับ
Mr.x <hatatakay@hotmail.com>
- Sunday, November 05, 2000 at 05:10:13 (EST)

ผมคัดค้านครับ ผมว่าการพัฒนาภาษาอังกฤษมันไม่ได้ขึ้นกับการเขียนวิทยานิพนธ์เพียงหย่างเดียวเท่านั้น ขณะนี้ผมกำลังศึกษาปริญญาโทอยู่ประเทศเดนมาร์ก ผมจึงอยากยกตัวอย่างของนักเรียนชาวเดนมาร์กหรือสแกนดิเนเวียอื่น ๆ เขาทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาประจำชาติครับ ทำไมเขาไม่ต้องการเปิดตัวสู่นานาชาติอย่างที่ฝ่ายสนับสนุนบอกล่ะ และคนในประเทศแถบนี้สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีมากมาก เพราะอะไรล่ะครับ ทำไมเราไม่หันไปทางด้านอื่น คนดัช คนสแกนดิเนเวีย เขาฟังภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็กเพราะโปรแกรมหนังที่เข้ามาฉายในประเทศไม่มีการทับเสียงแบบไทยเราหรอกครับ นี่คือการเรียนรู้แบบซึมซับซึ่งจะได้ผลดีกว่าการมานั่งเขียนวิจัยเป็นภาษาอังกฤษแค่ชั่วคู่ชั่วยาม ลองไปดูคนสเปน คนฝลั่งเศส คนอิตตาเลี่ยน รายการต่าง ๆ ทับเสียงทั้งนั้นครับ เขาพูดภาษาอังกฤษไม่ดีเลย นี่เป็นการยกตัวอย่าง และผมก็ขอสนับสนุนว่าการเขียนให้เข้าถึงวิชาการและบรรยายได้ถึงแก่นแท้แค่ภาษาเราเรายังทำได้ยากเลย เราจะไปทำภาษาอื่นได้ดีหรือ แต่ประเด็นผมว่ามาแก้กันที่ต้นเหตุดีกว่า ผมอยากให้มีการเปิดกว้างทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เข้าถึงประชาชนแล้วเขาจะได้ซึมซับแบบไม่รู้ตัวดีกว่า
รอบรู้ รังสิเวค <rropru@hotmail.com>
- Friday, October 20, 2000 at 22:49:45 (EDT)

ใช้ภาษาไทยเพื่อสังคมไทยเถิดค่ะ วารสารทางวิชาการภาษาไทยเราก็มีมากมาย และต่างก็ต้องการผลงานดีมีคุณภาพจากทั้งนักศึกษาและอาจารย์ การเผยแพร่งานวิจัยให้สาธารณะนั้นย่อมเป็นประโยชน์ทั้งในวงการวิชาการ วงการนโยบาย และบุคคลที่สนใจทั่วไป ยังมีนักศึกษาไทยอีกมากที่ต้องการคิดและพัฒนาความรู้จากงานวิจัยที่มี โดยเฉพาะการทบทวนงานวิจัยไทยในสังคมไทย จะช่วยต่อยอดและแตกแขนงงานศึกษาของคนไทยได้อีกมาก
ศิษย์เก่ามหิดล
- Thursday, September 14, 2000 at 21:29:56 (EDT)

คัดค้าน ไม่เห็นด้วยถ้าจะบังคับให้มุ่งสู่อินเตอร์ด้วยภาษาอังกฤษ เนื้อหาที่น่าสนใจเป็นภาษาไทยบ้างครั้งก็มีประโยชน์กว่าสำหรับสังคมไทยถ้าอยากเผยแพร่ผลงานสู่ชาวโลก ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
kaew <pkaewjai@wu.ac.th>
- Tuesday, September 12, 2000 at 01:51:10 (EDT)

สนับสนุน แต่น่าจะมีทั้ง 2ภาษาดีกว่า
PEERASIT SAMAKHOM <43322038@student.chula.ac.th>
- Thursday, August 31, 2000 at 05:19:14 (EDT)

ในฐานะที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงคือกำลังศึกษาอยู่ป.โทมหิดลเช่นเดียวกัน แต่ได้ทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทย ยอมรับค่ะว่าภาษาอังกฤษมีความจำเป็นอย่างมาก แต่เราสัมผัสรับรู้ได้และคิดเป็นภาษาไทยตั้งแต่เกิด ยังมีความไม่พร้อมอีกหลายด้านค่ะ ไม่ทราบในปัจจุบันการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อยังให้อนุโลมให้ผู้ที่ไม่ผ่านข้อเขียนภาษาอังกฤษ เข้าศึกษาได้อยู่หรือไม่ คิดว่าถ้าต้องการให้มีความเป็นสากลในอย่างที่ต้องการนั้น น่าจะพิจารณาตั้งแต่เริ่มสอบคัดเลือก ก็ดีนะคะ ใช้ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ ตอบเป็นภาษาอังกฤษคงจะได้บุคคลที่มีความพร้อมในด้านภาษาตั้งแต่เริ่มต้นเข้ามา และมีศักยภาพสูงเพื่อมุ่งไปสู่สากลตามความต้องการของมหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งสู่ความเป็นสากลตามที่มหาวิทยาลัยต้องการ อยากจะเขียนเป็นภาษาไทยอยู่อย่างนี้ก็ยังไม่พร้อมอยู่ดี แต่คิดว่าความพร้อมของเราเกิดขึ้นจากหลาย ๆ ฝ่ายร่วมด้วยช่วยกัน ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมากค่ะที่มองการไกลเพื่อให้มีความเป็นสากล รวมทั้งเป็นการเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เพื่อให้คนที่มีความพร้อมในทุกด้าน
น้องเผือก <junebct@mailcity.com>
- Tuesday, August 29, 2000 at 02:36:59 (EDT)

ผมขอคัดค้านครับ คุณค่า ของงานที่ดีย่อมเกิดจากจิตสำนึกที่ดีของตน แต่ถ้า คุณค่า ของงานที่ดีเกิดจากการบังคับให้กระทำในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของเขาแล้ว เราย่อมไม่ต่างจากชาว กาลม ที่ยังเชื่อในสิ่งที่เขาบอกว่าดี เชื่อเพราะปฏิบัติกันมา จนเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงชี้ให้เห็นว่า แท้จริงแล้วเราควรเชื่อโดยใช้วิจารณญาณของตนมากกว่า ในกรณีนี้ก็เช่นกัน ผมขอวิงวอนว่าผู้ที่ควรจะพิจารณามากที่สุดว่าอะไรดีกว่ากันก็คือผู้ที่จะสร้างสรรค์ผลงานนี้น ๆ ขึ้นมา มากกว่าจะเดินตามทางที่ถูกขีดไว้โดยไม่เฉลียวใจเลยว่า เราจะเดินไปขึ้นสวรรค์ หรือลงนรกกันแน่
ชิตสกนธ์ <chitsgon@hotmail.com>
- Thursday, August 24, 2000 at 06:00:18 (EDT)

สนับสนุนครับ เพราะว่าสถานการณ์ในปัจจุบันนี้พบว่าเด็กไทยอ่อนภาษาอังกฤษกันเหลือเกิน เนื่องจากไม่ถูกบังคับเด็กก็เลยไม่ค่อยสนใจภาษาอังกฤษสักเท่าไหร่ การถูกบังคับบางครั้ง บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ดี ถ้าให้เขียนวิทยานิพนธ์เป็น ภาษา อังกฤษ แล้ว จะทำให้เด็กไทยต้องรีบปรับปรุง พัฒนาภาษาอังกฤษของตัวเอง ถึงแม้ในช่วงแรกๆจะลำบากหน่อย แต่ก็เป็นสิ่งที่ดี สำหรับคนที่มองการไกล
ชูพงษ์ ภาคภูมิ <mydream88@hotmail.com>
- Tuesday, August 22, 2000 at 01:49:55 (EDT)

ไท้เห็นด้วยครับ ผมคิดว่าควรจะเป็นการเลือก ตามความสมัครใจของเจ้าตัวเองดีกว่า เพราะ(เหตุผลเดิม ๆ นั่นแหละ) 1. ขีดจำกัดทางภาษาของคนไทย ทั้งคนที่ต้องเขียนเองและคนอ่านเอง ระวังให้ดีนะครับ คนบางคนอาจจะเก่งภาษาอังกฤษจริง แต่ไม่จำเป็นต้องเก่งภาษาอังกฤษที่เป็นวิชาการ (ซึ่งจำเป็นต้องแปลอังกฤษเป็นอังกฤษอีกที) การมุ่งเน้นไปที่ความถุกต้องของภาษามากจนเกินไปอาจส่งผลให้ผู้เรียนต้องเสียเวลามากเกินไป และอาจจะไม่จบ (ถ้าคุณเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา คุณจะสามารถปล่อยให้นักศึกษาของคุณเขียนภาษาอังกฤษ ผิดๆ ถูก ๆ ไหม) 2. เป็นที่แน่นอนว่าภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ในวิทยานิพนธ์บางเรื่อง (และหลาย ๆ เรื่อง) เป็นเรื่องเฉพาะบริบททางสังคม ถ้าหากแปลเป็นภาษาอังกฤษ ก็ทำให้ใจความเสียหายได้ (คุณสามารถแปล นวนิยายเรื่อง "พล นิกร กิมหงวน"ให้ ฝรั่งหัวเราะได้ไหมครับ) 3. เรื่อง ศักดิ์ศรี เช่น คนไทยควรพูดภาษาไทยให้ถูกต้อง หรือ ต้องอนุรักษ์ความเป็นไทย (ที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง )ผมไม่สนใจหรอกครับ เพราะเป็นผลผลิตของ การผลิตซ้ำทางอุดมการณ์ของการปกครองแบบ Fascism ผมว่าความจริงแล้ว ภาษาควรจะหันมากเน้นความสำคัญที่ภาษาท้องถิ่นเสียด้วยซ้ำ นั่นคือเอื้ออำนวยให้คนในท้องถิ่นอ่านเป็นอันดับแรก เพื่อตอบสอนกระแสความต้องการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น (ไม่ใช่ตอบสนองสำหรับความต้องการของส่วนกลางแต่ฝ่ายเดียว) นั่นคือ มหาวิทยาลัยน่าจะมีโครงการให้นักศึกษารทำวิทยานิพนธ์ ให้ง่าย และเข้าใจสำหรับคนมีการศึกษาต่ำ(ชาวบ้าน) ที่เสียภาษีให้เขาได้เล่าเรียนมา (ไม่ใช่เก็บมันไว้ในห้องสมุด ) ผมว่าจุดนี้น่าจะคำนึงมากกว่า แปลเป็นภาษาอังกฤษเสียด้วยซ้ำ การอ้างว่าการทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ น่าจะตอบสนองความต้องการของกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม (เช่น บริษัทข้ามชาติ) และยิ่งในสภาวะที่มหาวิทยาลัยกำลังแยกตัวออกจากรัฐ ก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อผลประโยชน์ของอธิการบดี และ การเข้ามาถือหุ้นส่วนของ มหาวิทยาลัยต่างชาติ ผลงานของเราที่เราเก็บเกี่ยวจากภูมิปัญญาของพ่อแม่ ปู่ย่าตายายเรา ก็จะตกอยู่ในมือของต่างชาติอย่างง่ายดาย
เด็กราม
- Tuesday, August 15, 2000 at 04:49:22 (EDT)

คัดค้านค่ะ
นฤมล หล่อศรีแสงทอง
- Monday, August 14, 2000 at 23:16:03 (EDT)

ผมคือคนหนึ่งที่จบปริญญาโทจากมหิดล (สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม ปีการศึกษา 2527) ตอนนั้นทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ เพราะไม่ได้ทำเรื่องขออนุญาตทำเป็นภาษาไทย เมื่อวันเวลาผ่านไปเอาวิทยานิพนธ์ฉบับนั้นมาอ่านดูก็พบว่า รู้สึกตลก เพราะเขียนภาษาอังกฤษผิดมากมาย ไม่นับระเบียบวิธีวิจัยซึ่งดูแล้วตลกด้วยซ้ำ ส่วนเรื่องที่เป็นแกนหลักของงานวิจัย การใช้ภาษาอังกฤษซึ่งไม่ใช่ภาษาที่หนึ่งของผู้ทำวิจัยทำให้ไม่สามารถสื่อความต้องการนำเสนอแนวคิดของผู้วิจัยได้อย่างที่ควรจะเป็น สรุปก็คือ ควรใช้ภาษาไทยเขียน นั่นแหละถูกต้องแล้ว หากสังเกตกันให้ดี จะเห็นว่าวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาของไทย โดยเฉพาะด้านสังคมศาสตร์แล้ว ส่วนใหญ่มีค่าเพียงใช้เป็นตัวอย่างเลียนแบบการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษารุ่นหลังๆ เท่านั้น นอกนั้นก็ถูกเก็บให้ฝุ่นเกาะอยู่ในห้องสมุดเป็นขยะไปอย่างน่าเสียดาย หากเมืองไทยคนไทยรัฐบาลไทยรู้จักคุณค่าของการนำงานวิจัยมาให้ให้เป็นประโยชน์ ประเทศไทยคงไม่ดักดานจนอับอายเพื่อนบ้านจนทุกวันนี้หรอก...
นภพล กาญจนกานนท์ <kavi2001@yahoo.com>
- Friday, August 04, 2000 at 07:24:58 (EDT)

เชื่อเถอะครับว่า ต่อให้เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ สภาพเหตุการณ์ บ้านเมือง ก็ไม่ได้พัฒนาไปกว่านี้หรอกครับ ศัพท์เทคนิคเฉพาะแต่ละสาขาวิชาจำเป็นสำหรับการศึกษาวิชานั้นๆ แต่การเขียนเป็นอังกฤษทั้งหมดนั้นไม่ให้ประโยช์ที่จำเป็นสักเท่าไร ญี่ปุ่นเขาพัฒนาได้ไม่ใช่เพราะการหันไปใช้ภาษาอังกฤษแต่เป็นเพราะเขาแปลให้เป็นภาษาของตนเอง ลองดูเถิดว่าประเทศของเราเป็นอย่างไร แขกไปใครมาเราก็พาเขาไปดู วัด ดูการฟ้อนรำ ดูชาวเขา ดูตลาดน้ำ ว่านี่แหละคือวัฒนธรรมที่เราภูมิใจ แต่เห็นไหมว่าสังคมไทยเราไร้ระเบียบ ดูเอาตามถนนเถอะตั้งร้านตั้งเพิงค้าขายกันเกะกะไปหมด บนถนนการขับรถก็ไม่มีวินัย เราแก้กฎหมายเป็นว่าเล่น และเราก็ภูมิใจที่ได้แสดงออกแบบเอาหน้าเพื่อให้ต่างชาติชมเราว่าเป็นอารยะ แต่ดูเถิดว่าระบบราชการเราเป็นอย่างไร เศรษฐกิจเราบอบช้ำเพียงไร มีคนยากจนมากมาย นั่นเพราะเราสร้างค่านิยมกันว่าอะไรก็ตามที่เป็นอิเลคทรอนิคส์มันจะนำความเจริญมาให้เรา การใช้คอมพิวเตอร์จะดูว่าเราเก่ง การใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเราจะดูทัดเทียมกับพวกนั้น เราตามกระแส เราหลงใหลไปกับโลกาภิวัฒน์ ประชาชนของเราหวังเพียงแค่มีเงินเอามาซื้อรถ ซื้อบ้าน บ้างก็เพื่ออวดกัน บ้างก็ดโง่ จน เจ็บ จนเรียกได้ว่าดักดาน ดูชนชั้นนำสิพวกเขาจบมาจากเมืองนอก เขามีไวน์ดื่ม มีอำนาจ และเข้าใจว่าตัวนั้นเก่ง ดูพวกปํญญาชนสิ เขามุ่งแค่ได้เข้าไปเรียนในสถาบันมีชื่อ สิ่งที่เขานิยมก็คือสินค้า brand name ไปเรียนเมืองนอกเพื่อกลับมาเป็นผู้นำ หรือมีเงินเดือนแพง ๆ เราส่งทุนหลวงไปใช่น้อยแต่สมองเราก็รั่วไหล เราเคยถูกหลอกเอาสายพันธุ์พืชไปมากมาย คนเมืองปล้นทรัพยากรพวกคนป่าคนดอยไปเท่าไร เราโกงปลอมปนสินค้าให้เขากี่ครั้ง เราสูญเสียไปเพราะความโง่กี่ครา เราแก้กฎหมายจนไม่รู้จะเลือกใช้อันไหน ระบบราชการเราล้มเหลว แต่คนไทยกำลังดีใจว่าเศรษฐกิจฟื้นแล้ว และลืมถึงความล่มสลายเอกราชเพราะเศรษฐกิจ นี่ไม่ใช่การหลงประเด็น เราจะไปทางไหน !!!!!!!! นึกภาพไม่ออก ไม่ได้เรียกร้องชาตินิยม เราอยากพัฒนาจึงหลง ความเป็นสากล จึงเอาแต่ ศึกษา แต่!!!!!!! ไม่เคย สิกขา ??????? เลย
ทวนทาง
- Friday, August 04, 2000 at 04:57:55 (EDT)

คัดค้านครับ ภาษาไทยและอักษรไทยเป็นมรดกของชาติที่สำคัญยิ่ง แม้จะลอกเลียนหรือดัดแปลงมาจากชาติอื่นบ้าง แต่มันก็คือมรดกของเรา ไม่มีสิ่งใดที่ผมจะภาคภูมิใจไปมากกว่าภาษาไทยที่มี เพราะหลาย ๆ ประเทศ ต้องยืมภาษาคนอื่นมาใช้ ตัวอักษรก็ไม่มีใช้เองต้องไปยืมอักษรโรมันมาใช้ กรุณาอย่ามาทำลายความภาคภูมิใจของคนในชาติเลยครับ อย่าไปอิงฝรั่งไปซะทุกอย่าง อะไรที่เป็นวัฒนธรรมของเรา เรานี่ล่ะต้องรักษา ไม่มีใครชาติไหนจะมารักษาภาษาให้เราหรอก ทุกวันนี้ ภาษาเราก็โดนทำลายกันมากแล้ว หากเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เด็กมัธยมโรงเรียนต่างจังหวัดที่ไม่เก่งภาษาก็อ่านไม่ออก หากจะอ่านให้ออกก็ต้องเก่งภาษาอังกฤษต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทย อีกหน่อย ภาษาเราก็ตายกันพอดี
สุรศักดิ์ เจริญจิต <auto@off.fti.or.th>
- Monday, July 31, 2000 at 02:51:20 (EDT)

น่าจะพิจารณาตามความเหมาะสม ตกลงกันทุกฝ่ายว่าควรเป็นภาษาใด ซึ่งก็มีประโยชน์ทั้งสองอย่าง ถ้าอาจารย์ต้องการให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อเผยแพร่ไปได้ทั่วโลก ก็ถูกต้อง แต่ถ้าวัดความรู้ของนักศึกษาว่าจะเป็นมหาบัณฑิตได้หรือไม่ ภาษาก็ไม่สำคัญอันดับหนึ่ง ความรู้ของนักศึกษากับการเผยแพร่สู่สากลน่าจะเป็นคนละขั้นตอน เรื่องใดที่เขียนเป็นภาษาไทย แต่น่านำสู่สากล อาจารย์ก็ช่วยเหลือให้ทำได้ภายหลัง มิใช่ไปบอกว่าตกวิทยานิพนธ์ ใครที่สามารถและไม่อยากต้องมาแปลอีกครั้งก็ควรเขียนเป็นภาษาอังกฤษไปเลย บางทีอาจง่ายกว่าที่จะเขียนเป็นภาษาไทยด้วยซ้ำไป เช่น เรื่องที่มีศัพท์เทคนิคภาษาอังกฤษที่ยังไม่มีคำไทยที่เหมาะสม เป็นต้น น่าจะตกลงกันได้โดยไม่ถืออัตตาจนเกินเหตุ
กนกวรรณ กนกากร อุโฆษกิจ <kanokwan@skybiz.com>
- Wednesday, July 26, 2000 at 00:04:12 (EDT)

I would agree if thesis contains lots of technical terms. Otherwise, I disagree. However, If thesis should be written in Thai, why don't we ask students to write 8-10 pages in English (i.e like conf paper). Then keep it in an appendix. I think it migth be a compromising idea.
Anonymous
- Saturday, July 22, 2000 at 07:30:49 (EDT)

บังเอิญวันที่ประเด็นนี้ออกรายการทางไอทีวีเมื่อปีที่แล้ว ผมได้มีโอากาสนั่งดูด้วย คิดว่าไม่เห็นด้วยกับการบังคับให้เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษครับ เพราะเราเป็นคนไทย ถ้าหากต้องการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ ค่อยมีการแปลเป็นภาษอังกฤษ ก็ไม่สายนี่ครับ
วริทธิ์ จูงเจริญวัฒนา <dragon2519@hotmail.com>
- Friday, July 21, 2000 at 11:03:36 (EDT)

คัดคัานครับ คงต้องยกวาทะของคุณสมัคร สุนทรเวช มาถามคนต้นคิดว่า "เป็นคนไทยหรือเปล่า?" คนไทย ควรภูมิใจในภาษาไทย อันเป็นภาษาประจำชาติ ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทุกวันนี้ พวกฝรั่งก็ขโมยความรู้พื้นบ้านของเราไปจดลิขสิทธิ์เยอะแล้ว อย่าเขียนวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ ให้เขาขโมยง่ายขึ้นเลยครับ
กิตติธัช สุมาลย์นพ
- Wednesday, July 19, 2000 at 16:49:05 (EDT)

อย่าว่าแต่เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษเลยครับ แค่การใช้ภาษาอังกฤษทั่วไปคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยถนัดเลย แม้แต่ด๊อกเตอร์ทั้งหลายก็เถอะ การบังคับเด็ก ให้เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ จะเป็นการสร้างอุปสรรคที่ไม่จำเป็นขึ้นมาเปล่าๆ เพราะประเด็นของความอินเตอร์ ไม่ได้อยู่ที่ว่า พูดภาษาอังกฤษเขียนภาษาอังกฤษได้หรือเปล่า แต่ขึ้นอยู่กับความเฉียบคมของความคิด เราเอาจุดนี้มาวัดกันดีกว่า อย่าเอาภาษามาเป็นเครื่องกีดขวางการพัฒนาวิชาการของไทยเลย
จักรกฤษณ์ ศรีวลี <boonhod@hotmail.com>
- Saturday, July 15, 2000 at 05:51:55 (EDT)

คัดค้าน
MR.KITTISAK SIRIWAN <PUI44@YAHOO.COM>
- Saturday, July 15, 2000 at 04:46:55 (EDT)

คัดค้านครับ ผมคิดว่าญี่ปุ่นหรือเยอรมันเค้าก็เป็นชาติแนวหน้านะ ไม่เห็นเค้าจะต้องทำให้นักศึกษาวุ่นวายเลย ออกมาจากท้องแม่ก็พูดภาษา ตามที่เกิด พูดอะไรก็จะเข้าใจกันง่ายขึ้น และไม่ต้องมานั่งตีความสามตลบ พ่อแม่ผมหัวดำ ตาดำ พูดภาษาไทยกันมาหลายชั่วคนแล้ว เลยอยากถามพวกที่คิดตามฝรั่งตานำข้าวหน่อยครับว่า คุณมีคามรู้แจ้งเห็นคริงแล้วเหรอครับกับภาษาอังกฤษ ถ้ายังงัยนึกไม่ออก ก็จงดูว่า ทำไมญี่ปุ่นถึงเจริญได้ ถ้ามีเงินก็ลองบินไปดูนะครับว่า ญี่ปุ่นจะใช้ภาษาอังกฤษน้อยมาก ถ้าอยากจะให้เป็นอินเตอร์ ก็แปลเอาสิครับ ของมันดีจริง คนเค้าก็จะสนใจเองดูอย่างหนังสือต่างๆ เค้าก็จะใช้แปลเป็นภาษาต่างๆ เลิกซะทีนะครับ พวกรสนิยมนิยมฝรั่งเนี่ยะนะครับ เค้าไม่ได้เก่งกว่าคนไทยอย่างเราๆ เท่าไหร่หรอกครับ
สุวัจชัย <bing97@hotmail.com>
- Wednesday, July 12, 2000 at 20:38:19 (EDT)

ผมสงสัยว่า อาจารย์ที่จะตรวจ วิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ ต้องเก่งภาษาอังกฤษมากๆ ไม่งั้นมีหวัง ผิดพลาดกันยกใหญ่
Korapak Boonyamalik <korapak@asiaaccess.net.th>
- Wednesday, July 12, 2000 at 04:50:36 (EDT)

คัดค้านครับ ภาษาอังกฤษเป็นของสำคัญใครๆ ก็ทราบเด็กป.2 เดี่ยวนี้ก็รู้ ว่าจะต้อง โก อินเตอร์ ขอโทษ ครับ พูดภาษาอังกฤษ แล้ว อินเตอร์เลยหรือครับ ทำไมง่ายจัง ถ้าคิดว่าภาษาอังกฤษ คือความเป็นอินเตอร์ ความคิดก็เท่ากับเด็ก ป.2 นั้นเอง ภาษาไทยสำคัญมาก ทราบกันไหม? ผมว่าเด็กป.2 ยังไม่ทราบซึ้งน่ะครับ แต่ผู้ใหญ่น่าจ่ะคิดได้ ภาษาคือ เครื่องมือทางความคิด เราอยู่ในสังคมที่ใช้ภาษาไทย ดันจะไปสร้างสรรค์งาานวิชาการ ที่มุ่งพัฒนาปัญญาให้สังคมของเราเป็นภาษาอื่น มันเพื่ออะไรกัน ไม่ทราบว่าผู้มีอำนาจเหล่นั้น ท่านรู้จักการแปลไหมครับ แปล ครับ แปล อยากให้ใครรู้เรื่องราวของเรา ก็แปลซิครับ คราวยี้แผละครับ อินเตอร์ฯ ของจริง สร้างสรรค์ภูมิปัญญาสู่สังคมไทย ควรจะเป็นภารกิจหลัก ของมหาวิทยาลัยน่ะครับ
toni thaeng <thaeng@thaimail.com>
- Monday, July 10, 2000 at 08:35:37 (EDT)

It should be optional. Only a student who wants to write his/her thesis in English is welcomed to do so. If not, they should be allowed to write in their own language "Thai".
I am Thai but I have to read, write, and listen to English every day. Do you know how I feel? I hate itl but I do not have a choice like you all. Be proud of our own language!
Sometimes, I am sick of Thai’s belief. Why do they always think others' are better than our own in which they are not?
I used to experience Thai students in America when I came to school here. Do you think they can use English fluently? The answer is "definitely not." What about Thai students who study in Thailand? If you still want Thai students to do their thesis in English, you may not find a quality in their work. If the students cannot express their thoughts (language barrier) in their work, it will waste their time doing such an important research called thesis. Moreover, if you want their work in English, an instructor who grades them should be a person whose English is his/her first language? Now so many problems follow...you have to hire foreigners...more Thai instructors will be unemployed…finally, Thailand will not be Thailand like I used to experience when I was little.
Only one thing you will get from making a student do a thesis in English is just to make you look good and feel good that our Thai students are educated by using English to be a mean of communication.
I wish I had Thai font so I could express my thoughts in Thai. Also I have something to tell Khonthai in Thai. Take care of yourself and each other..

pum <vilavan_lankford@hotmail.com>
- Tuesday, July 04, 2000 at 16:26:24 (EDT)

ไม่เห็นด้วยที่ บังคับให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาอะไรก็ตาม ที่คนเขียนไม่ถนัด เพราะเป็นการปิดกั้น การแสดงความคิดเห็น และรายละเอียดต่างๆ ทั้งยังเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ควรเอาเวลาไปใช้ในการ เกลาการวิเคราะห์ การเสนอความคิดเห็น ให้มันลุ่มลึกในเนื้อหามากกว่า ให้คนอื่นมองออกว่า เราจะเสนออะไร ถ้าอยากจะเผยแพร่ให้เป็นสากล ก็ให้มีบทคัดย่อเป็นภาษาที่เป็นสากล
khanitta
- Monday, July 03, 2000 at 00:20:53 (EDT)

คัดค้านการเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังเกฤษ
เตือนใจ ทองเกล็ด <sccu email.com>
- Friday, June 23, 2000 at 23:15:28 (EDT)

agree
P.Mankosol <mankosol@hotmail.com>
- Thursday, June 22, 2000 at 13:06:30 (EDT)

สนับสนุน
noname
- Wednesday, June 21, 2000 at 21:57:55 (EDT)

คัดค้าน
ธัญกานต์ ทัศนภักดิ์ <karnt32@hotmail.com>
- Monday, June 19, 2000 at 12:15:35 (EDT)

คัดค้านครับ ไม่เห็นด้วยกับ การทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาต่างชาติ เห็นว่าการทำวิทยานินธ์เป็นภาษาใด ควรเป็นไปตามความคิด ของผู้ที่ประสงค์จะทำมากกว่า เพราะขึ้นอยู่กับ ความรู้ความสามารถ และจุดประสงค์ของผู้ที่จะทำ ว่ามีความตั้งใจจะเผยแพร่องค์ความรู้แก่ผู้ใด และวิทยานิพนธ์ที่ทำ มีประโยชน์แก่คนในชาติ หรือเป็นประโยชน์แก่ คนต่างชาติต่างภาษามากกว่ากัน ผมเห็นว่าความรู้ที่ได้จาก การทำวิจัย จะเป็นประโยชน์แก่คนในชาติมากกว่า เพราะสามารถเข้าใจได้ง่าย และสามารถประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อย ผมไม่ปฏิเสธว่า องค์ความรู้ส่วนใหญ่ เราเอามาจากต่างชาติ แต่เราควรที่จะให้คนในชาติเรา ได้รับรู้สรรพสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาของต่างชาติ เพื่อที่จะได้นำมาปรับใช้กับ สภาพสังคมและวัฒนธรรมของคนไทย ให้เจริญและวัฒนาต่อไป ให้ทัดเทียมกับอารยประเทศต่อไป ขอบคุณครับ
ฉัตรชัย สมวัธน์ <nine_nine09@yoohhoo.com>
- Tuesday, June 13, 2000 at 07:15:01 (EDT)

คัดค้าน เพราะเท่าที่เคยได้อ่าน ส่ิงที่บรรดาอาจารย์ระดับดอกเตอร์ ที่พยายาพลักดันให้เกิดขึ้น ประเด็นสำคัญ ที่อยากให้นักศึกษาเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษนั้น เพราะต้องการให้วิทยานิพนธ์นั้น เป็นระดับอินเตอร์ แต่ไม่ได้สนใจว่า ส่ิงที่เขียนนั้นมีสาระประโยชน์อะไรต่อสังคมไทย แถมยังดูถูกอีกด้วยว่า วิทยานิพนธ์ เป็นส่ิงที่ ตามี ตามา อ่านไม่รู้เรื่อง น่าเสียดายจริง ๆ ที่เงินเดือนที่พวกท่าน ผู้มีความรู้ทั้งหลาย กินมาทุกเดือนนั้น เป็นเงินของตาสีตาสา ทั่วประเทศ เพราะคนที่อ้างว่า ตัวเองมีความรู้ มีความคิดเป็นกบในกระลานี้เอง ประเทศเราถึงล้าหลังอยู่ทุกวันนี้ อันที่จริง ถ้าวิทยานิพนธ์เล่มนั้น จะเขียนเป็นภาษาไทย แต่ถ้ามีเนื้อหาดีมาก พอที่จะอวดสู่สากล ก็ค่อยเลือกมาแปลก็ไม่สายนี่คะ
สุวิมล วัลย์เครือ <wankhrua@hotmail.com>
- Tuesday, June 13, 2000 at 03:44:07 (EDT)

ในฐานะที่ผมกำลังเรียนอยู่ที่นี่ (มหิดล) และต้องทำวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษเช่นกัน ผมคิดว่าบางสาขามีความเหมาะสมดี ที่จะทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ เพราะที่นี่(รวมทั้งหลักสูตร ที่ผมเรียน) มีหลักสูตรนานาชาติอยู่มากมาย ตลอดจนหลักสูตรที่ เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร์มากมาย ที่ต้องอาศัยข้อมูลจากวารสาร ต่างประเทศ การเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ จะช่วยได้มาก เพราะคำภาษาอังกฤษบางคำ ผมก็ไม่ทราบว่าจะแปลเป็นภาษาไทย ว่าอย่างไร เช่น eutrophication ถ้าแปลเป็นภาษาไทยจะยุ่งยากมาก (ไม่แน่ใจว่า ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติไว้หรือยัง) แต่ผมไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง ที่ทางบัณฑิตวิทยาลัย จะไปกำหนดให้หลักสูตรทางด้าน สังคมศาสตร์บางสาขา ต้องทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษด้วย เช่น สาขาจริยศาสตร์ศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์ วัฒนธรรม ศึกษา พัฒนาชนบทศึกษา เพราะผมคิดว่าจะเป็นการยุ่งยากมากสำหรับ การเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ ผมคิดว่าทางบัณฑิตวิทยาลัย น่าจะผ่อนปรนตรงจุดนี้ด้วย น่าจะขึ้นอยู่กับความเห็นของอาจารย์ที่ ปรึกษามากกว่า เพราะท่านจะทราบดี(โดยภาพรวม)ว่าสมควรจะ เผยแพร่ผลงานต่อภายนอก (การตีพิมพ์ผลงาน) มากน้อยเพียงใด ขอบคุณครับ
แน็ต <a_thipaksorn@thaimail.com>
- Friday, June 09, 2000 at 03:51:01 (EDT)

คัดค้านเพราะมันเป็นการยากในการที่ผู้อื่น จะทำการศึกษาวิจัยต่อ... และผมขี้เกียจทำครับ... มันยากมาก... และอยากให้สอนภาษาอังกฤษให้ด้วยละกัน ถ้าอยากให้ทำthesisเป็นอังกฤษ...
ปุ้ม <w_namatra@hotmail.com>
- Thursday, June 08, 2000 at 21:54:10 (EDT)

ทำไมต้องใช้ภาษาอังกฤษ วัดคุณค่าของวิทยานิพนธ์ที่ภาษาเขียนหรือ แล้วภาษาไทยไม่เหมาะสมไม่มีค่าหรือถ้าวิทยานิพนธ์มีคุณค่าจริงให้เขียนภาษาโบราญก็ต้องมีคนสนใจค้าคว้าแล้วชื่อ มหาวิทยาลัยของท่านยังเป็นภาษาไทยเลย
อิศรา สุปินราช
- Thursday, June 08, 2000 at 20:48:01 (EDT)

คัดค้านครับ ในความเป็นจริงการนำวิทยานิพนธ์มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบงานต่างๆทุกสาขา นักวิชาการในระดับต่างๆมักใช้วิทยานิพนธ์ที่เป็นภาษาไทยมาเป็นข้อมูลในการศึกษา แต่ถ้าหากต้องการเผยแพร่ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นก็สามารถแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าวิทยานิพนธ์เรื่องนั้นน่าสนใจและเป็นเรื่องที่น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางถึงระดับใด หากต้องมาแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วนักศึกษาอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายและสิ้นเปลืองอย่างมากเพราะแค่วิทยานิพนธ์ภาษาไทย ก็แก้คำผิดกันมากมายอยู่แล้ว ดังนั้นผมจึงมีความคิดเห็นว่าควรจะพัฒนาระบบการศึกษา การเรียนการสอนให้มีคุณภาพสามารถทัดเทียมกับนา นาชาติได้ ไม่ใช้เอาตัวเราไปผูกกับชาติอื่น ซึ่งมีตัวอย่างหลายๆประเทศที่ใช้ภาษาของตนเองเขียนวิทยานิพนธ์และสามารถนำมาพัฒนาชาติของตนเองได้โดยไม่ต้องใช้ภาษาอื่น ดังนี้นผมขอสรุปว่าคัดค้านครับ
กฤตชญา <gridchaya_k@hotmail.com>
- Tuesday, June 06, 2000 at 05:11:00 (EDT)

คัดค้าน
อนุชา เปรมวุติ <anuchap@meetingmall.com>
- Monday, June 05, 2000 at 21:04:27 (EDT)

คัดค้าน ถ้าระบบการเรียนการสอนยังเป็นภาษาไทย ผู้สอนล่ะมีความพร้อมที่จะให้คำปรึกษาเป็นภาษาอังกฤษหรือเปล่า แล้วเวลา สอบป้องกันวิทยานิพนธ์ต้องใช้ภาษาอังกฤษหรือเปล่าคุณอย่าใช้ตนเองเป็นเกณฑ์ ควรจะดูความพร้อมด้วย
petch
- Sunday, June 04, 2000 at 09:05:54 (EDT)

ึคัดค้านน่าจะให้เลือกได้เป็นอิสระของผู้จัดทำว่าจะจัดทำภาษาอังกฤษเพิ่มเติมหรือไม่
อัศวิน ตั้งจรูญจิตต์ <p_hod@hotmail.com>
- Wednesday, May 31, 2000 at 02:05:49 (EDT)

คัดค้าน
ชรีริน แก้วมูล
- Monday, May 29, 2000 at 09:24:36 (EDT)

ผมขอคัดค้านเนื่องจากการที่เราจะเขียนวิทยานิพนธืเป็นภาษาอังกฤษก็มิได้หมายความว่าบัณฑิตผู้นั้นมีความรู้ความสามารถผมขอให้ดูประเทศญี่ปุ่นทำไมไม่จำเป็นต้องพึ่งภาษาต่างชาติเลยเลยก็สามารถเป็นผู้นำด้ายเทคโนโลยีได้ประเทศเราควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุก็คือพัฒนาตำราให้เป็นภาษาไทยจะทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาอย่างลึกซึ่งมิใช่มัวแต่ไปเปิดคลีนิคหรือเป็นที่ปรึกษาส่วนเรื่องภาษาฯนั้นทางมหาวิทยาลัยควรจะมีการทดสอบความรู้ก่อนที่จะจบการศึกษาจะดีกว่านะ่ครับ สรุบว่าผมอยากให้เรามีเทคโนโลยีเป็นของตนเองและอยากให้ต่างชาติอยากเรียนภาษาเราบ้าง(ขอให้เรารักชาติและภาษาที่บรรพบุรุษที่ให้มามากหน่อย)
นายยุทธพงศ์ ทัพผดุง <yutt_t@pea.or.th>
- Sunday, May 28, 2000 at 00:01:40 (EDT)

คัดค้าน เพราะถึงแม้ชาวบ้านธรรมดาจะไม่มีโอกาสอ่านวิทยานิพนธ์ไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไร แต่ก็ยังมี นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้แสวงหาคำตอบบางอย่างให้กับตนเองได้ค้นหาวิทยานิพนธ์มาอ่านบ้าง หากวิทยานิพนธ์เป็นภาษาต่างประเทศเสียหมดแล้ว เหล่าผู้แสวงหาความรู้ที่ไม่ใช่นักวิชาการจะได้ประโยชน์อันใด เพราะคนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่แตกฉานภาษาต่างประเทศอยู่แล้ว มิเป็นการปิดกั้นความรู้ สู่ประชาชนอีกทางหนึ่งหรือ อีกอย่างการที่ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาสามารถเข้าใจเนื้อหา องค์ความรู้ หรือเรื่องต่างๆ ในสาขาวิชาของตน ไม่ว่าจะได้จากสื่อภาษาใดก็ตาม แล้วสามารถถ่ายทอด ออกมาเป็นภาษาไทยให้คนไทยผู้ด้อยโอกาสทางด้านภาษาต่างประเทศและภาษานักวิชาการเข้าใจได้แล้ว นับว่า มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิตผู้นั้นประสพผลสำเร็จทางวิชาการในสาขาของตนแล้ว คุณประโยชน์ ที่จะถูกนำไปใช้น่าจะมีมากกว่าภาษาต่างประเทศเสียอีก ถ้าหากงานวิจัยนั้นเป็นประโยชน์และเป็นงานที่ดีจริง ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษาอะไร ก็จะมีคนนำไปแปลเพื่อใช้ประโยชน์อยู่นั้นเอง นอกเสียจาก จะถูกปิดกั้นทางวิชาการจากผู้นำในแวดวงวิชาการเท่านั้น
สิริลักษณ์ ดีสูงเนิน <sirilak@ccs.sut.ac.th>
- Thursday, May 25, 2000 at 03:19:52 (EDT)

Sorry for using English,I can not type Thai font with my computer.In my opinion,if you want to write thesis in English the lecturers in that university should teach students in English as well. Can you answer this question? why Japan, China, German or Russia can develop their own countries using their own language not English.It doesn't mean that you know English then you can develop your country better than non-English speaking countries. Colonised countries use English for their official language but do you think that they will be more developed than our country? It is the matter of education system in our country which should be improved.
Thai Student who studying abroad
- Wednesday, May 24, 2000 at 11:49:37 (EDT)

คัดค้าน เพราะว่าสิ่งที่สำคัญคือวิทยานิพนธ์ต่าง ๆ ที่ทำกันปัจจุบันได้ใช้ประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศเราขนาดไหน ส่วนใหญ่ก็ทำกันไว้เพื่อจบการศึกษาเท่านั้นไม่ได้ใช้ประโยชน์ต่อประชาชนมากนักและยิ่งประชาชนภายในประเทศส่วนใหญ่มีความรู้ภาษาอังกฤษน้อย จุดสำคัญเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์นั้นควรจะอยู่ที่ว่าประชาชนหรือชุมชนได้อะไรบ้างจากวิทยานิพนธ์ ไม่ได้อยู่ที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย ภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ยกความเป็นสากลของมหาวิทยาลัยต่าง ๆในเมืองไทย่ สำคัญคือความมีคุณภาพของบัณฑิตมากกว่า
เด็กดอย <wpphcr@yahoo.com>
- Wednesday, May 17, 2000 at 23:25:22 (EDT)

เห็นด้วยกับฝ่ายค้านการที่คนไทยใช้ภาษาต่างประเทศน้อยเพราะรากฐานของประชากรส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตที่สามัญมากการที่จะให้เขามาใช้ภาษาอื่นรวมกับภาษาพ่อแม่เขานั้นเห็นเป็นการยุ่งยากชึ่งผมเองก็เคยดิดเหมือนกันแต่เมือเรียนสูงขึ้นนั้นแหละจะเห็นความสำคัญเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของฝ่ายการศึกษาที่ต้องทำงานให้หนักกว่านี้ ถึงจุดตรงนี้จึ่งสรุปว่า เมื่อเรามีความรู้สูงแล้วควรจะเอาสิ่งเหล่านี้ช่วยเขาเหล่านั้นให้ได้รู้ได้เห็นสิ่งที่ใหม่แต่ถ้าไปใช้ภาษาต่างประเทศแล้วมันก็อยู่กับส่วนบนของปรีมิตนั้นแหละกับพวกที่คอยหาประโยชน์ทั้งหลายไม่เกิดผลอะไรกับส่วนล่างเลย เลิกตามตูดตะวันตกเสียทีหันมาใช้ปัญญาพัฒนาประเทศที่จริงจังระวังเถอะเวียดนามจะตามทัน ขอบคุณ
อนุ
- Tuesday, May 16, 2000 at 04:13:21 (EDT)

- ก่อนอื่นเราคงต้องพิจารณาเกี่ยวกับเรืี่องที่ทำก่อนนะครับว่าเป็นเรื่องที่สามารถประยุกต์ใช้ในประเทศหรือทั่วโลก หากเป็นเรื่องภายในก็น่าจะสามารถทำเป็นภาษาไทยได้ แต่เมื่อสามารถที่จะเผยแพร่ออกสู่สากลแล้วเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไปแล้วก็น่าที่จะจัดทำเป็นภาาาสากลนี่เรามองจากประโยชน์ที่ได้จากการทำวิทยานิพนธ์เป็นหลัก - หากวิทยานิพนธ์นั้นๆ สามารถที่จะให้ความรู้แก่บุคคลอื่นที่ผ่านมาพบก็น่าจะพิมพ์เป็นภาษาไทย อย่างน้อยผู้ที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษก้ยังสามารถได้รับความรู้บ้างไม่มากก็น้อย ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของเศรษฐกิจ คนที่เรียนปริญญาตรีก็สามารถอ่านและเข้าใจได้แล้ว ซึ่งคงจะตรงกับเจตนาของการทำวิทยานิพนธ์ซึ่งก็คือการเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะชน
พิราบทอง <er13@thaimail.com>
- Friday, May 12, 2000 at 06:04:54 (EDT)

คัดค้านคะ.... เห็นด้วยกับข้อที่ว่าถ้าได้ใช้ภาษาและสำนวนที่ตนเองถนัดจะสามารถทำการ ถ่ายทอดความรู้ความคิดเห็นได้ดีและลึกซื้งกว่าคะ
Nat <ae_nat@bangkok.com>
- Tuesday, May 09, 2000 at 22:04:03 (EDT)

ผมไม่ขอเขียนเป็นภาษา eng แต่อยากจะขอแสดงความสนับสนุน เพราะจากประสบการณ์การเรียน หรือการสอนจาก Amirica, France พบว่าคนไทย ยังห่างกันฟ้ากับดิน กับการเรียนการสอน และการเขียน THESIS เราควรที่จะ คิดใหม่ทำไหม่ เพื่อนำพาประเทส ให้เทียบเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกสิ่งหนึ่ง ที่อยากจะเรียนให้ทราบ เมื่อไหร่ที่คุณ ย่างก้าวออกจากประเทศนี้ เมื่อนั้น คุณถึงจะรู้ว่า ภาษา eng สำคัญแค่ไหน
INDIANA UNIVERSITY
TEL.812-855-1727
FAX 812-855-0901
MOBILE 812-391-0014


Dr.Jean louis chopin <fik83@hotmail.com>
- Wednesday, May 03, 2000 at 02:40:28 (EDT)

อยากรู้ว่า ร้อยละเท่าใหร่ของประชากร ที่รู้ภาษาอังกฤษ และร้อยละเท่าใหร ่ที่อ่านได้ ที่สามารถนำไปใช้ได้ กับความคิดของพวกเขา เหล่าปัญญาชน
beach <beach@hotmail.com>
- Wednesday, May 03, 2000 at 02:19:10 (EDT)

ขอแสดงความคิดเห็นตรงประเด็นที่ว่า ไม่มีใครเอาหนังสือ หรือวิทยานิพนธ์ของไทย ลงในวารสารต่างประเทศ ผมคิดว่า ถ้าหากนักศึกษาของเรา (ไทย) มีความรู้ความสามารถ ที่จะทำงานวิจัยด้านต่างๆ แล้วนำมาเขียนเป็น วิทยานิพนธ์ จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วๆ ไปแล้ว คุณไม่ต้องไปกลัวว่า เขา (ชาวต่างชาติ) จะไม่นำไปใช้ประโยชน์ ถ้าหากมีการวางแนวทาง กำหนดว่า วิทยานิพนธ์ที่นักศึกษา ของแต่ละสถาบัน ได้ทำขึ้นมานั้น จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรในอนาคต โดยเฉพาะ คนไทยด้วยกันเองซะก่อน
นายมงคล เขตขันหล้า <m_khetkhunlar@hotmail.com>
- Saturday, April 29, 2000 at 11:02:54 (EDT)

คัดค้านแบบหัวชนฝาขนาดคำว่า "วิทยานิพนธ์" ยังใช้ภาษาไทยเขียนเลย ถ้าอยากให้ประเทศพัฒนา ทัดเทียมกับต่างประเทศ ก็พัฒนาตัวคนสอนนักศึกษาเองด้วย อย่ามีแต่สั่ง เพราะบางคน เขาก็ไม่เก่ง ภาษาต่างประเทศเหมือนกัน บางที ตัวผู้สอนเอง ยังไม่รู้ว่า จะเก่งเท่านักศึกษาหรือเปล่า
นาย คัดค้าน
- Wednesday, April 26, 2000 at 06:48:51 (EDT)

คัดค้านครับ แต่ผมเห็นว่า เราเกิดมาเป็นคนไทย (ไทยแท้ๆ) มีภาษาเป็นของตัวเองมาตั้งนานแล้ว และทุกวันนี้ ทางรัฐฯ เขาก็รณรงค์ให้คนไทย หรือเยาวชนไทย รักภาษาไทย แล้วเรื่องอะไร จะเอาภาษาของคนอื่นมาใช้ เอาแค่คนไทย พูดภาษาไทยด้วยกันทุกวันนี้ ยังพูดกันไม่ค่อยรู้เรื่องเลย ถ้าอยากจะให้ชาวต่างประเทศรู้เรื่องด้วย ก็ค่อยแปลเป็นเรื่องๆ เอา จะดีกว่านะ ถึงยังไง เราทุกคนที่เกิดเป็นคนไทย ก็ยังภูมิใจกับการเป็นไท ไม่ใช่ทาสของต่างชาติ และผมขอคัดค้านเต็มที่ เพราะ เกิดมาลืมตาดูโลกแล้ว พูดได้คำแรกคือ แม่ พ่อ ไม่ไช่ PaPa Daddy หรือ MaMa เหมือนกับคนไทย ที่ไม่ใช่ไทตัวจริง เคยดูใหม รายการรักภาษา หรือภาษาไทยวันละคำ
Kratay
- Wednesday, April 26, 2000 at 05:28:25 (EDT)

ที่จริงก็เห็นด้วยกับเรื่อง ภาษาอังกฤษมีความสำคัญ ในหลายๆ ด้าน เพราะเป็นภาษาสากลของโลก แต่อย่างไร ดิฉันก็ภูมิใจในภาษาไทยของเรา ประเทศเรา ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร ทำให้เรามีภาษาของเราเอง โดยที่ไม่มีภาษาที่สองรองรับ หรือเป็นภาษาทางราชการ และมันก็คงเป็นการยาก ที่จะให้นักศึกษา ที่ต้องทำการค้นคว้า และมาแปลเป็นภาษาอื่นอีกที
niramon s
- Sunday, April 23, 2000 at 04:49:31 (EDT)

สนับสนุน ถือเป็นการติดต่อกับนานาชาติ การใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ก็เท่ากับเป็นการ เปิดหูเปิดตาตัวเองได้มากขึ้น ทำให้มีความเป็นสากล รู้เท่าทันสังคมโลกได้
sangrungg poolsuwan <rainbow2@ksc.th.co>
- Friday, April 14, 2000 at 20:03:39 (EDT)

Objection!
My apology for writing in English. I wish to write in Thai but I don't have Thai OS installed on my PC.
The point that composing a thesis in English would help improve English literacy is a very weak logic to me. The focus should be on the overall picture of our educational system instead of at the finish line.

Vee T. <Vee_T@hotmail.com>
- Tuesday, April 04, 2000 at 23:09:36 (EDT)

สนับสนุน.. แต่ต้องเป็นลักษณะ ค่อยเป็นค่อยไป ในบางสาขาวิชา... ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในการจัดทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา สมควรเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจาก แหล่งค้นคว้าอ้างอิง ตำราเรียน ข้อมูล จะได้มาจากภาษาอังกฤษ เป็นภาษาสากล ไม่ต้องตีความกันมากมาย ก็เข้าใจได้... แต่ทางด้านศิลปะ/วัฒนธรรม คงต้องใช้เวลา ในการปรับเปลี่ยน หมายถึงบัณฑิตวิทยาลัย จะต้องปรับโครงสร้างหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียน พัฒนาศักยภาพของตนเอง เพียงพอที่จะ ทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาต่างประเทศได้ และสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ศัพท์ทางศิลปะ จะเป็นศัพท์ท้องถิ่น ไม่สากลเหมือนทางด้านวิทยาศาสตร์ คงต้องพิจารณากันดูให้ดี... แต่ถ้าทำได้ ก็ดีค่ะ เพราะโลกอนาคต ข้อมูลข่าวสาร ไร้พรมแดนแน่นอน
rujida suksai <rujidas@hotmail.com>
- Tuesday, April 04, 2000 at 03:50:30 (EDT)

คัดค้าน ท่านดิ๊กเตอร์ ควรตระหนักว่า เรากำลังทำอะไร คุณคิดจะทำอะไร ให้เป็นที่พอใจของพวกต่างชาติ แล้วอ้างถึงความเป็นสากล มันคนละเรื่อง คุณสามารถทำตัวเป็นสากลได้ โดยไม่ต้องอิงภาษาต่างชาติ หรือถ้าท่านไม่เข้าใจ ลองศึกษา วิถีแห่งความสำเร็จ ของประเทศ หรือ คนญี่ปุ่น หรือจึน แล้วท่านจะเข้าใจ ว่าประเทศของเรา ควรพัฒนา หรือก้าวไปในทิศทางใด ที่จะแสดงถึง ความเป็นตัวของเราเอง และจะผงาดอยู่อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยความภาคภูมิใจ
สมเดช เกริกวิวัฒนไชโย
- Sunday, April 02, 2000 at 04:59:32 (EDT)

ความจริงเห็นด้วยกับ ความคิดที่ว่า มหาบัณฑิต ควรมีความสามารถทางภาษาอังกฤษดี แต่การให้เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ได้เป็นเครื่องแสดงว่า ผู้ที่จบไปจะมีภาษาดี เพราะภาษาอังกฤษ ต้องเกิดจาก การฝึกฝน และใช้บ่อยๆ ไม่ใช่ตอนเรียน อาจารย์สอนเป็นไทย คิด พูดเป็นไทยหมด แต่มาสรุปยอด ให้ทำวิทยานิพนธ์เป็นอังกฤษ แล้วจะทำให้ภาษาดีขึ้น อาจจะดีขึ้นบ้าง แต่ถ้านำมาเทียบกับผลเสียที่ว่า เนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ที่ได้ จะไม่เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่แล้ว คิดว่าวิทยานิพนธ์ภาษาไทย น่าจะให้ประโยชน์ทั้ง ต่อตัวบัณฑิตเอง และสังคมมากกว่า การจะพัฒนาความสามารถ ด้านภาษา คงต้องปรับปรุงกันตั้งแต่ ตัวหลักสูตร และความสามารถของ ผู้สอน ในทุกระดับการศึกษาด้วย
พัชรา <pat_dtec@thailand.net>
- Tuesday, March 28, 2000 at 05:44:03 (EST)

อยากรู้ว่าเรียนโทเอกที่ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมัน เราต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษหรือไม่ ทุกประเทศ เขาเรียกร้อง ให้เขียนภาษาประจำชาติเขา เพราะนอกจาก เป็นนัยเรื่องชาติแล้ว คนในชาติ ยังได้อ่านได้อีกด้วย แม้ว่าจะเป็นฝรั่ง อยู่ใกล้ๆ กัน เขายังรู้ ยังรักษาตัว ไม่ตกเป็นทาสเลย นี่อะไร อยู่ตั้งไกล ดันอยากเป็นประเทศราชเขาเสียแล้ว
นักศึกษามหิดล
- Monday, March 27, 2000 at 08:33:21 (EST)

ขอสนับสนุน การเขียนวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ เนื่องจาก ปัจจุบันนี้ โลกสามารถติดต่อสื่อสาร เชื่อมโยงกันได้ การเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เป็นการเผยแพร่งานวิจัยทางหนึ่ง และยังทำให้นักศึกษารู้จัก การสืบค้นข้อมูล จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะ ทางสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีต้องใช้ข้อมูลต่างประเทศมาก เนื่องจากภายในประเทศ สนับสนุนงานวิจัย สายวิทยาศาสตร์น้อยมาก และอีกประการหนึ่ง ศัพท์บางสายงานวิชา ไม่มีภาษาไทย เพราะฉะนั้น การเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้การเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นไปโดยง่ายไม่ยืดเยื้อ และทำให้งานวิจัยถูกอ้างอิงมากขึ้น
ศรีจำนรรจ์ พิชิตสุวรรณชัย <Srijumnan@doa.go.th>
- Sunday, March 26, 2000 at 19:28:31 (EST)

แม้ว่าจะเห็นด้วยกับความสำคัญของ ภาษาอังกฤษ ที่มีมากขึ้น ในสังคมของประเทศทุกวันนี้ หากใครมีความสามารถ ทางภาษาที่ดี ก็เป็นการสร้างโอกาศที่ดีด้วยประการหนึ่ง แต่ยังไม่เห็นด้วยกับ การที่ต้องเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ เพียงเพื่อแสดงความเป็นสากล น่าจะคิดใช้โอกาสนี้ ในการสร้างความสำคัญ ของภาษาไทย ต่อนานาชาติบ้าง ถ้าคิดว่างานวิทยานิพนธ์ของ เรามีคุณภาพ และประสิทธิภาพเพียงพอที่จะ อวดสายตาชาวโลกได้ ก็ไม่เห็นจะต้องกลัวว่า เขาจะอ่านไม่ออกเลย แค่เขาเห็น บทคัดย่อภาษาอังกฤษ แล้วเกิดสนใจ ก็ให้เขามาไขว่คว้า แปลจากภาษาไทย ไปเป็นภาษาเขาบ้าง ก็น่าจะดี จะได้ไม่เสียดุลย์กัน อย่างที่เป็นมาตลอด น่าภูมิใจนะคะ ที่คนในประเทศเรา ไม่ค่อยเก่งภาษาต่างประเทศ เพราะว่าเราไม่เคย ตกเป็นเมืองขึ้น ของประเทศตะวันตก อย่างที่กำลังอาจจะเป็น ในอนาคต ทางที่ดี เรามาช่วยกัน สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ ในเชิงของแก่นวิชาการ ที่มีคุณค่า และก่อเกิดประโยชน์ต่อ สังคมส่วนรวมได้จริงกันดีกว่า ทำเป็นภาษาไทย ให้คนของประเทศเราได้รู้ก่อน ได้ใช้ก่อน เท่ห์กว่ากันเยอะเลย ถ้ามัวห่วงว่าจะไม่เป็นสากล อีกหน่อยเพื่อความเป็นสากล เราอาจต้องเขียนวิทยานิพนธ์เป็น ภาษาสเปน ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น หรือภาษาจีนด้วย เป็นแน่แท้ เพื่อคนทั้งโลกได้รับรู้ ยกเว้นคนในประเทศเรา
ชลิดา ช้างแก้ว <chaliann@hotmail.com>
- Wednesday, March 22, 2000 at 21:36:10 (EST)

คัดค้าน ครับ ผมคิดว่า จากที่ผมได้ฟังมา ทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้าน ผมได้รับฟังแล้วมีความคิดเห็นว่า ประเทศไทย เป็นประเทศเอกราช ไม่เคยที่จะเป็นเมืองขึ้นของประเทศใด เรามีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ เราควรจะเป็นบุคคลที่รักความเป็นไทย รักในบรรพบุรุษที่ท่านได้อุตสาห์ ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมา ทำไมเราไม่มีความคิดที่จะ ให้ภาษาไทย เป็นภาษาที่ทุกคนทั่วโลกยอมรับ เป็นภาษาสากลที่ทุกคนในโลกยอมรับ ผมมีความคิดเห็นสนับสนุน กับความคิดที่ว่า ถ้าเราเขึยนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ กับนักศึกษาไทย วิทยานิพนธ์ที่ได้นั้น อาจจะได้ความรู้ที่ไม่ลึกซึ้งเพียงพอ เพราะขึ้นชื่อว่า ภาษาไทยเป็นภาษาพ่อและภาษาแม่ เราเกิดมา เราก็ได้ยินภาษาไทย เขาใช้ในการสื่อสารกัน ในชีวิตประจำวัน ภาษาที่ใช้มาตั้งแต่แรกเกิดนั้น ย่อมจะมึความลึกซึ้งกว่า ภาษาต่างประเทศ ผมคิดว่า มีผู้คนในประเทศไทยเราหลายคน ที่ถูกวัฒนธรรมตะวันตกครอบงำอยู่ เขาอาจติดอยู่กับ ค่านิยมที่ว่า เรียนที่ต่างประเทศ ย่อมดีกว่า การเรียนการศึกษา หาความรู้ในประเทศ เราขนเงินตราไปใช้นอกประเทศ แล้วผลเป็นไงครับ ก็เห็นๆ กันอยู่ในทุกวันนี้นะครับ คงไม่ต้องชี้แจงแถลงไขก้นมากหรอกครับ/นักเรียน ม.6 โรงเรียนนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ปราโมทย์ สิงห์ทอง <pramote125@hotmail.com>
- Tuesday, March 21, 2000 at 01:10:55 (EST)

สนับสนุนภาษาไทย ผมรู้สึกใจหาย.. ข..ขวดไปไหน ค..คนไปไหนหมด แป้นพิมพ์ก็ไม่เห็นมี คนไทยจะรู้กันมั้ยหนอ?? กว่าภาษาไทยจะเกิดขึ้นมาได้แต่ละตัว มันต้องใช้เวลา และอาศัยองค์ความรู้ ของคนรุ่นปู่ย่า ของปู่ย่า ของปู่ย่า ของคุณทวดขนาดไหน (นาน..มาก เกือบ ๘๐๐ ปีมาแล้ว) ไม่ง่ายเลยนะ.. มันแสดงถึง ภูมิปัญญา และอัจฉริยภาพของคนรุ่นก่อน แต่ทำไมวันนี้เราลืมสิ้น หรือจะให้โลกนี้ มีเพียงภาษาเดียว วิถีคิดเดียว วัฒนธรรมเดียว วิทยานิพนธ์ภาษาเดียวกันให้หมดเลย ว้า..ถ้าเช่นนั้น คงต้องรีบกลับบ้าน ไปปลูกข้าวสาลีไว้ทำขนมปัง กินฮอตดอก แซนวิส ใส่สูท ผูกเนคไท เอาจุงกระเบน และเสื้อม้อฮ่อมไปเผาทิ้งดีกว่า อุตส่าห์คิดตั้งนาน แค่ไม่ได้ทำเป็นอินเตอร์นิดเดียว ก็ยอมรับไม่ได้ หรือจะต้องไปจดสิทธิบัตรก่อนล่ะ ถึงจะยอมรับแล้วเอาไปทำเป็นการค้า ว่าของข้าดี ของข้าเจ๋ง เพราะจดสิทธิบัตรแล้ว คิดไปหัวใจยุ่ง เพราะ ค..คน ตอนนี้กลายไปเป็น ค..ควาย เกือบหมดประเทศแล้ว ไปตามหา ค..ระฆังกันดีกว่า ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน เวลาทำข้อสอบตอนเด็ก ๆ ก็เห็นมีแต่ ก..ข..ค..ง..จ..ฉ แล้ว ข..ขวด ค..คน ค..ระฆัง มันอยู่ตรงไหนกันนะ ช่วยหาคำตอบให้ที ขอบคุณครับ..
วิษณุ ศรีทะวงศ์ <naitui@hotmail.com>
- Monday, March 20, 2000 at 22:13:53 (EST)

ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ เพราะว่าขนาดเขียนเป็นภาษาไทย นักเรียน นักศึกษา ยังไม่ค่อยได้อ่านเท่าไหร่เลย แล้วเป็นภาษาอังกฤษ คงไม่ได้แตะกันแน่ๆเลย
เมธ ชุษณะ <chusana@chaiyo.com>
- Sunday, March 19, 2000 at 07:04:10 (EST)

คัดค้านเพราะไม่เกี่ยวอะไรกับภูมิปัญญาของผู้ทำ ยิ่งถ้าเป็นเรื่องของ ถูมิปัญญาและวัฒนธรรมของไทยแล้ว ก็ไม่เห็นจำเป็นเลย อีกอย่างถ้าอ้างสากล แล้วละก็มันคงต้องปฏิรูป การศึกษาคงอีกยาวไกล ที่จะทำให้นักศึกษาพูด และเขียนอังกฤษได้ดีเกือบเท่ าภาษาไทยของเรา ถ้าเป็นดังนั้นจริง ก็ยังควรให้มีสิทธิ์เลือกอยู่ดี สรุปยังคัดค้านครับ
กวินพล <kawinpol@chaiyo.com>
- Friday, March 17, 2000 at 12:28:15 (EST)

คัดค้าน ด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึงเพราะหลายๆ ท่านที่แสดงเหตุผลในการคัดค้าน ได้กล่าวไว้แล้ว
aranya srisunakrua <9kao@chiyomail.com>
- Wednesday, March 15, 2000 at 03:14:04 (EST)

คัดค้าน
กำพล สื่อวงศ์สุวรรณ <kamphon96@hotmail.com>
- Saturday, March 11, 2000 at 08:52:34 (EST)

ทำทั้งสองภาษาเลยดีกว่า
แจ๋ว ท้ายซอย
- Friday, March 10, 2000 at 16:14:39 (EST)

คัดค้าน ค่ะ มีความเห็นด้วยกับ คนที่แสดงความคิดหลาย ๆ คน ความเป็นไทย หายไปทุกที อย่าไปเห็นว่า ภาษาต่างชาติ มีอิทธิพล มากมายกับคุณขนาดนั้น ยกตัวอย่าง คนที่ได้ไปศึกษาต่างประเทศ มีมากมายหลายคน แล้วเวลาอยู่เมืองนอก หรือไปเที่ยวก็ตาม จะคิดอยู่ แต่ว่า จะหาอะไรที่มีที่เมืองนอก แล้วหาทางเอาของ หรือสินค้า จากเมืองนอก มาขาย เอาเงินคนไทยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าเครื่องใช้ อาหาร ฯลฯ เคยจะมีบ้างไหม ที่จะดูว่า ที่เมืองนอกไม่มีอะไรที่บ้านเรามี แล้วพยายามส่งสินค้านั้น ไปโกยเงินต่างชาติเข้ามามาก ๆ ถึงปัจจุบันนี้ จะพยายามส่งออกกันมากขึ้นก็ตาม แต่คิดดูแล้ว ยังไม่คุ้มกับที่คุณเสียไป สิ่งที่คุณคิด ไม่ได้มีแค่ ไวน์ สิ่งที่คุณคิดไม่ถึง เช่นอาการเห่อ อาหารญี่ปุ่น ในปัจจุบัน ปลาแซลมอน น่ะ เมืองไทย ไม่มีนะจ๊ะ อย่าลืม นำเข้าทั้งนั้น เรื่องเล็กอย่างนี้คนไทย มักมองข้ามกันหมด กว่าจะรู้ตัวอีกที คงสายเกินแก้ตามเคย
NARAPORN SUPHAMITMONONGKOL <NARAPORNWITOON@YAHOO.COM>
- Sunday, March 05, 2000 at 06:35:00 (EST)

คัดค้าน ไม่ควรบังคับ ไม่ว่าจะเป็นสายวิทยาศาสตร์ หรือ ศิลปศาสตร์ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ สมควรที่จะ มีสิทธิในการเลือก ภาษาที่ใช้เขียนด้วยตนเอง ไม่เคยมีนักเขียนคนไหน ถูกบังคับให้ใช้ภาษาใด ส่วนการเผยแพร่ความรู้สู่สากล ก็สามารถแปลวิทยานิพนธ์ เพื่อลงตีพิมพ์วารสารนานาชาติได้ ประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น ก็ไม่ได้บังคับเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็สามารถ พัฒนาความก้าวหน้า ทางวิชาการ สู่ระดับนานาชาติได้เช่นกัน
พัฒนพงษ์ อ่ำพันธุ์ <patta_cmu>
- Saturday, March 04, 2000 at 09:17:00 (EST)

จากความคิดของผม การที่นักศึกษาปริญญาโท สามารถทำวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งที่ดี ถ้านักศึกษาโดยรวม มีมาตรฐานการศึกษาเท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริง ระบบการศึกษาของไทย ยังมีความล้าหลังอยู่มาก โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ยิ่งไปกันใหญ่ เห็นได้จาก นักเรียนตั้งแต่ ประถม, มัธยม เกือบจะทั้งหมด พูดภาษาอังกฤษกันไม่ได้ นอกจาก ครูให้ท่องไปสอบ จึงจะพูดได้ แปลว่า นักเรียนไทย ไม่มีความรู้พื้นฐานทางนี้เลย เพราะ ระบบการศึกษา ฐานะทางครอบครัว เด็กที่พ่อแม่มีฐานะ สามารถไปเรียนเสริมได้ แต่เด็กที่ยากจน ก็หมดโอกาสไป อยากให้ท่านผู้บริหารทั้งหลาย ทบทวนให้ดี ไม่ใช่ว่าอยากจะเป็นสากล จนลืม พื้นฐานการศึกษาของไทยไปนะครับ
ชัยรัตน์ อินพรหม <chairat@hotmail.com>
- Saturday, March 04, 2000 at 04:24:11 (EST)

สนับสนุน ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ ตามที่หลายท่านเสนอ เห็นถึงข้อดีของ การเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ.. เคยเป็นนักศึกษาปริญญาโทคนหนึ่ง ที่ผ่านระบบนี้ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ต้องยอมรับว่า ได้เรียนรู้มากกว่า การเขียนวิทยานิพนธ์ การเรียนในระดับปริญญาโท เอก เน้นออกสู่ระบบสากล มากยิ่งขึ้น เราต้องยอมรับจุดนี้ แล้วทราบหรือไม่ว่า นักวิจัยของเราเก่งๆ มีไม่น้อย แต่ผลสุดท้าย ต้องตายตอนจบ เพราะไม่มีโอกาส เอาผลงานไปนำเสนอ ในระดับ อินเตอร์ได้ ในข้อโต้แย้งที่ว่า เกรงจะไม่เป็นประโยชน์ต่อ การนำไปใช้ของคนไทย ข้อนี้แก้ปัญหาง่ายนิดเดียว จะยากอะไร หากเขียนภาษาไทย เพิ่มอีกฉบับ เพระาเนื้อหาสาระ ก็ยังคงเดิม ที่มีปัญหา เนี่ย เป็นเพราะ อาจารย์ส่วนใหญ่เอง ก็ไม่แน่นเรื่องภาษาหรือเปล่า จึงไม่สามารถที่จะ ตรวจวิทยานิพนธ์ อย่างมีประสิทธิภาพได้ นี่เป็นเพียงข้อสงสัยเล็กๆ เท่านั้น มิได้มีเจตนาตำหนิ
รังสิมา <nrangsima@hotmail.com>
- Friday, March 03, 2000 at 09:32:00 (EST)

It is no doubt how important English language is. How many research projects have been done? Most of them were written in English. I would agree with the idea of writing thesis in English. One of the most significant aspect of doing research is that researcher will have to serch what have been studied in the past(all over the world can be possible in IT era) especially relevant works. By this way, no matter who you are, what you are going to do, you have to be able to link all past studied to your own work. Up until now, there are very few Thai research has been proposed to global stage. Writing a thesis in English will encourage students more or less to submit their results to international journals. This is not the matter of who will get the benefit but it is about holistic studies. The science, in particular, should have been done according to the current knowledge. We can't avoid English if we want to find the best way for our country. We can learn not only success ways but also a lot of failures that we shouldn't follow. However, Thai version of thesis is also essential. It isn't too difficult for Thais who be able to write thesis in English to make another copy of Thai language. It is just a matter of improve ability of Thai researcher that should have been done long time ago. Regards,
Petch Manopawitr <pmanopawitr@hotmail.com>
- Friday, March 03, 2000 at 04:20:25 (EST)

คัดค้าน ถ้าถามถึง วัตถุประสงค์หลัก ของการทำวิทยานิพนธ์ คืออะไร และใคร ควรได้รับประโยชน์ จากผลงานวิจัยนั้นมากที่สุด ? ดิฉันว่า น่าจะเป็น การวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ หรือสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อ ประชาชน ในประเทศนั้นมากที่สุด ฉะนั้น ภาษาที่จะใช้ในการเขียน เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยนั้น ควรเป็นภาษาหลักข องประเทศนั้นด้วย เพื่อที่ประชาชนทุกระดับความรู้ จะได้สามารถอ่าน และเข้าใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มิใช่การนำเอาภาษาต่างประเทศ มาเป็นภาษาหลักในการเขียน ซึ่งหากใช้ภาษาต่างประเทศ ซึ่งประชาชนในประเทศของเรา มีจำนวนอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่สามารถอ่าน และเข้าใจได้ดี มาใช้ในการเขียนวิทยานิพนธ์ วัตถุประสงค์หลัก ของการทำวิทยานิพนธ์นั้น สำหรับปรเทศไทยแล้ว จะเปลี่ยนแปลงไปทันที กลายเป็นว่า การทำวิทยานิพนธ์ เพื่อที่จะได้มีความเป็น International มากขึ้น คนที่ได้ประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่ประชาชนคนไทยอีกต่อไป แต่เป็นผู้ที่ทำงานวิจัยนั้นเอง ที่จะได้มี ผลงานเผยแพร่สู่นานาชาติ แต่ไม่รู้ว่า คุณภาพนั้น นานาชาติจะยอมรับหรือไม่? อันเนื่องจาก สำนวนภาษา สู้เจ้าของภาษาเขาได้หรือไม่ ฉะนั้นดิฉันว่า การจะคิดทำอะไรสักอย่าง ถ้าคุณนึกถึง ประเทศชาติ และประชาชนคนไทยมาก่อน เป็นอันดับแรก ดิฉันว่า ความคิดในการใช้ภาษาต่างประเทศ มาเป็นภาษาในการเขียน วิทยานิพนธ์ในมหาวิทยาลัยของไทย คงจะไม่เกิดขึ้นอย่งแน่นอน
Supim Sirisayan <ospsy@nontri.ku.ac.th>
- Wednesday, March 01, 2000 at 06:55:23 (EST)

คัดค้าน
Supim Sirisayan <ospsy@nontri.ku.ac.th>
- Wednesday, March 01, 2000 at 06:32:05 (EST)

ไม่ใช่ว่า ที่เขาคัดค้านนั้น เพราะเขากลัวภาษาอังกฤษนะครับ ผมไม่แน่ใจว่า คุณจบโทมาได้อย่างไร ถ้าความคิดยังได้อยู่แค่นี้ หรือเป็นเพราะว่า ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ถึงได้คิดอะไรตื้นๆ แบบนี้ครับ เขาว่ากันถึง ผลเสียที่มันจะตามมา หลังจากที่ ทำเป็นภาษาอังกฤษต่างหาก ที่มันไม่เหมาะสม เพราะว่า คนที่จะนำเอาไปใช้นั้น มันจะไม่ใช่คนไทย ทั้งๆ ที่คนที่ทำนั้น เป็นคนไทย เรื่องที่ทำ ก็เป็นเรื่องของคนไทย เป็นเรื่องของประเทศไทย ที่ควรจะคิดที่สุด น่าจะเป็นความคิดที่ว่า ทำอย่างไร ถึงจะเผยแพร่ให้คนไทย ได้รับรู้มากที่สุด และรับรู้โดยง่ายที่สุด มากกว่าจะมาคิดว่า จะเอาไปให้ต่างชาติมันนะครับ จริงอยู่ว่า เพื่อความเป็นสากล แต่ถ้าเรายังไม่คิดว่า จะพัฒนาประเทศอย่างจริงจังอย่างนี้ ไม่มีใครที่ใหน เขาจะยอมรับความเป็นสากล กะอีแค่เพียง วิทยานิพนธ์เพียงไม่กี่เรื่อง ที่บางที มันก็ไม่ได้ไปเกี่ยวกับฝรั่งขี้นก แม้แต่นิดเดียว คนที่เกี่ยวที่สุดคือ ลุงแก้วลุงคำ ที่กำลังพงาบๆ ไม่มีเงินจะซื้อข้าวนั่นตะหาก ทำไมไม่ให้ความสนใจตรงนั้น มากกว่าครับ กลับมาเถอะครับ กลับความคิดของคุณ ตอนนี้ยังทัน อย่าตามก้นฟรั่ง ให้มากไปกว่านี้เลยครับ  เราหันมาใช้ภาษาไทย ในการพัฒนาประเทศกันดีกว่า ส่วนภาษาอังกฤษ ก็ให้ใช้ในกรณีที่จำเป็น มากกว่าที่จะ ให้มันมาครอบงำความคิดว่า ต้องเก่งภาษาอังกฤษนะ มากกว่านะครับ ดูอย่างญี่ปุ่นสิครับ หนังสือต่างชาติ ที่เขาคิดว่าดี เขาก็มีกลุ่มคน มานั่งแปลเป็นภาษาเขา เพื่อเผยแพร่ให้คนในชาติของเขา ได้อ่านได้ศึกษา ถ้าคนไทยจะตามเขา ผมว่าน่าจะศึกษาค่านิยมของ คนในชาติ แบบคนญี่ปุ่นนะครับ (ไม่ใช่เลียนแบบญี่ปุ่น แต่ใช้แนวทางการคิด แบบเดียวกัน แต่เปลี่ยนเป็นของชาติเรา ไม่ใช่ของชาติอื่น หวังว่า คงอ่านเข้าใจนะครับ จบโทมาแล้วนี่!!!) ครับ  ผมอาจเขียนแรงไปหน่อย แต่อยากแลกเปลี่ยนความคิดกันนะครับ เพราะผมก็คนที่กำลังศึกษา ระดับ ป.โทหลักสูตรนานาชาติเหมือนกันครับ ด้วยความเคารพ
ป.โท <vorkorn@yahoo.com>
- Sunday, February 27, 2000 at 12:07:30 (EST)

Agree. To prepare our people to be good understanding the international langauge. Do not forget we are the member of many international organization, such as UN,. WTO, ASEAN.......etc. We are in the information era, Internet, Is very world wide ....English langauge should be the second for our Thais......Let's start.
Peerapong Ponkeow <pork@whoever.com>
- Saturday, February 26, 2000 at 21:43:42 (EST)

เราต้องยอมรับว่า ภาษาอังกฤษ มีความสำคัญมากในการศึกษา และวิจัย ที่จริงแล้ว ไม่ไช่เราคนไทยเท่านั้น คนทั่วโลก ก็ต้องยอมรับเรื่องนี้เช่นกัน ภาษาอังกฤษ นำความสดวกอย่างมากมาย ในด้านการสื่อสาร และค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะ ในสาขาวิชาการที่ คนไทยไม่สามารถจะ ทุ่มเททุนเพื่อการวิจัย ได้มากมายนัก ถ้าอยากจะเขียน วิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทย ในการวิจัย พืชเศรฐกิจ ของแต่ละจังหวัด ในประเทศไทย ก็จะไม่ว่า แต่จะทำการวิจัย เกี่ยวกับการพัฒนาการของ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใหม่ ล่าสุดของโลก อยากจะถามว่า จะเขียนเป็นภาษาไทยไปทำไม ถ้ากลัวว่า คนอ่านจะไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ ก็เลิกหวังในผลกระทบของ การวิจัยได้ เพราะการวิจัยทางด้าน ระบบคอมพิวเตอร์ ในประเทศอเมริกา ประเทศเดียว ก็มีการทุ่มเททุน มากกว่าเมืองไทย จนนับไม่ได้ว่ากี่เท่า แล้วยัง ไม่ได้นับประเทศอื่น ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แถมยังไม่ได้นับการ วิจัยที่ถูกแปลจาก ภาษาอื่น มาเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าคนอ่านไม่เข้าใจ ภาษาอังกฤษ แล้วข้อมูลมากมายเหล่านั้น จะถูกนำมารวบรวมเพื่อ ช่วยในการศึกษา และวิจัยได้อย่างไร สรุปแล้ว ภาษาอังกฤษ มีความสำคัญในการ พัฒนาวิทยาศาสตร์ใน ประเทศเรา จนกว่าเรา จะสามารถก้าวไกลทางด้าน วิทยาศาสตร์จน นำหน้าประเทศอื่นๆ จนกระทั่งคนประเทศอื่น ต้องนำความรู้ของ เราไปแปลเป็นภาษาของเค้า เพื่อที่จะ พัฒนาประเทศของเค้าเอง
ฐิติ <sirifamily@aol.com>
- Saturday, February 26, 2000 at 04:43:56 (EST)

คัดค้าน เพราะการที่เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ไช่สิ่งสําคัญ ที่ทําให้นานาชาติ ยอมรับสติปัญญา หรือภูมิปัญญาของคนไทย นายแพทย์อดุลย์ วิริยเวชกุล ท่านควรเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เป็นภาษาอังกฤษ บางทีนานาชาติ อาจจะเข้าใจความหมายของ ชื่อและนามสกุล ของท่านได้ดีขื้น???????
วรชาติ ประเสริฐเวชทนต์ <vorachart_p@hotmail.com>
- Sunday, February 20, 2000 at 17:41:17 (EST)

ขอคัดค้าน เนื่องจากปัจจุบัน การสอนภาษาอังกฤษ ในประเทศไทย ไม่ได้เอื้อให้คนไทย เข้าใจภาษาอ้งกฤษ และมีความสามารถ ทางภาษาในระดับที่จะ สื่อสารเนื้อหาทางวิชาการได้อย่างลึกซึ้ง ดังนั้นการเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ จะไม่ก่อให้เกิดการถ่ายทอด และเผยแพร่ องค์ความรู้ที่ถูกต้องได้ จุดประสงค์ในการทำ วิทยานิพนธ์ น่าจะมุ่งเน้นให้คนไทย ซึ่งอ่านเขียน และพูดกาษาไทย ได้นำองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดอย่างถูกต้อง ไปใช้ได้โดยตรง โดยไม่ต้องแปลกลับเป็นภาษาไทย อีกทอดหนึ่ง ซึ่งกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ จะมีส่วนทำให้เนื้อหาต่างๆ บิดเบือนไปจาก เนื้อหาดั้งเดิมของผู้จัดทำ
บุญญวรรณา บุญประยูร <anthebest@cybernet.in.th>
- Tuesday, February 15, 2000 at 10:41:28 (EST)

คัดคาน ผมว่าทุกวันนี้ เรายังไม่มีการสนับสนุนเกี่ยวกับ วิทยานิพนธ์ ที่มีประโยชน์ต่อสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้อง และทำกันแค่ เพื่อให้จบการศึกษาเท่านั้น ไม่มีการแนะแนว นำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ การเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็ไม่มีใครสนใจดูกันอยู่แล้ว ผมว่า ควรเขียนเป็นภาษาไทย และเก็บรวบรวมไว้ ในที่สักแห่งหนึ่งเช่น หอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้นักศึกษา และประชาชน ได้เข้าอ่าน หรือนำข้อมูลไปใช้ หากจะนำพัฒนา ก็ควรจะลงทะเบียน เพื่อติดต่อกับ ผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์ และจะเป็นการง่าย การติดต่อสื่อสารกัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคมต่อไป
พงศกร รอดเจริญ <m@hits.sahaunion.co.th>
- Wednesday, February 09, 2000 at 03:27:05 (EST)

คัดค้านการให้เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก ปัญหาการปฏิบัติได้จริง การให้เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้นักศึกษาหลายคน ใช้วิธีจ้างแปล จากต้นร่างภาษาไทย ของตนเอง ตรงนี้ไม่ทราบว่า ทางมหาวิทยาลัย เห็นเป็นปัญหาทางจริยธรรมหรือไม่ และหากมหาวิทยาลัย ยังยืนยัน ต้องการวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ หลักสูตร หรือกระบวนการสอบเข้า มีมาตรฐานอะไรที่รับรองว่า บัณฑิต หรือมหาบัณฑิต มีความสามารถ พอที่จะเขียนวิทยานิพนธ์ ด้วยตนเอง เพื่อให้ ประกาศนียบัตร ไม่ใช่การประทับตรา โดยไม่ใส่ใจที่มา ประการที่สอง การใช้ประโยชน์จากวิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์เป็นคลังความรู้ที่สำคัญ การที่มหาวิทยาลัย ใช้งบประมาณของรัฐไทย ก็น่าจะสร้างคุณูปการ ให้กับวงการศึกษาไทย วิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทย น่าจะเป็นการก้าวนำ สำหรับการศึกษา มากกว่าเทอดไว้บนหิ้ง นอกเหนือจาก การอ่านตำราหนังสือภาษาอังกฤษอื่นๆ การศึกษาของบัณฑิตที่ผ่านมา ก็น่าจะเป็นประโยชน์ มิเช่นนั้น เราจะสร้างบัณฑิตเหล่านี้ไปทำอะไร
วราภรณ์ มังกรชัย <philia@้hotmail.co>
- Monday, January 31, 2000 at 23:49:46 (EST)

คัดค้าน .. ถ้าต้องเป็นภาษาอังกฤษ ก็ต้องมีบริษัทรับจ้างแปล - พิมฑ์ วิทยานิพรธ์ จนกระทั่งขโมยความคิดกัน เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ถ้าคนเรามีความรู้แล้ว ยังไงเสียก็ควรจบได้
วริสา จันสุตะ <VARISAJUNSUTA@HOTMAIL.COM>
- Monday, January 31, 2000 at 14:30:57 (EST)

If I were to write a thesis, I would rather write it in Thai since it's the language that I can use fluently. I disagree to the idea that students are required to write their thesis in English. I believe that writing thesis in English should be obtional. Students are to chose to write between Thai and English or both (if one could). However, I also believe that the good thing about writing English thesis is that the academic community as a whole can share the knowledge that the thesis yields. It will be difficult for foreign scholars who cannot understand Thai to comprehen those that were written in Thai. Anyhow, who is the consumer of those theses? I wonder how many people would read these stuffs... how many times these theses are being checked out from the library?
OK <rachata2001@hotmail.com>
- Monday, January 31, 2000 at 01:52:16 (EST)

I do not support the idea of having the thesis written in English ka. I think the usefulness of a thesis depends largely on how it appeals to public, which is a result of how well it is written. To expect a person to write a piece of work in a foreing language, and expect it to be as good as what could be written in his/her native language is quite a stretch. In addition, I feel that using more English/having English standard (whatever you would call it) is by no mean reflect higher quality of teaching. Having said that, I am aware of the problems facing science and technology students. A number of technical terms of used as it is ("Tub Sub, as I would cal it) and these English words are interwoven in their everyday language, though they are taught in Thai. This could lead some to believe the writing/speaking English may be the best solutions. In my opinion, however, I don't believe it to be the case because one needs more than technical terms to make a written work communicate to the readers. Although the academia will still need to figure out how to communicate those foreign terms e.g. will they be willing to put up with using 'tup sub' or make decent translation.
Gigi <jeaby@alum.mit.edu>
- Saturday, January 29, 2000 at 16:40:56 (EST)

คัดค้านแน่นอน ถ้าทำภาษาอังกฤษ แล้วคนไทยเอาที่ไหนอ่าน ท่านจะให้ทำการ จ้างกลับมาแปลเป็นไทยหรือ จริงอยู่มันเป็นสากล แต่ควรพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป แล้วนักศึกษาที่ทำภาษาอังกฤษ ก็ยังต้องเสียเงิน ในการทำภาษาอังกฤษอีก (จ้างคนช่วยแปลไทยเป็นอังกฤษ) ผมว่ามันยังไม่จำเป็น
ศิริชัย
- Friday, January 28, 2000 at 02:01:20 (EST)

ควรจะให้มีการเขียนวิทยานิพนธ์ ทั้งไทยและภาษาอังกฤษ ภาษาไทยก็ให้คนไทยศึกษาค้นคว้า สำหรับฉบับภาษาอังกฤษ ก็แสดงความเป็นสากล ตามที่บางคนต้องการ จะได้ไม่ต้องมานั่งถกเถียงกันอีก
นาคอนันต์ <klhbn@email.egat.or.th>
- Friday, January 28, 2000 at 01:55:02 (EST)

คัดค้าน การเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ เพราะว่า งานวิจัยบางงาน สามารถนำไปใช้ในการ พัฒนาประเทศได้ เช่นทางด้านการเกษตร หรือโดยเฉพาะ ทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ถ้าเป็นภาษาต่างชาติ คนที่จะอ่าน ต้องเชี่ยวชาญทางด้านนั้นจริงๆ จึงจะสามารถ เข้าใจได้แจ่มชัด แต่ถ้าผู้อ่าน เข้าใจภาษาอังกฤษไม่แตกฉาน ความกระจ่าง ในวิชาการ จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น การจะนำความรู้นั้นไปใช้ หรือนำไปศึกษาต่อ ก็จะไม่เกิดขึ้น และการพัฒนาทางความรู้ ก็จะไม่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ขอบคุณครับ สมชัย
สมชัย ลาภอนันต์นพคุณ <chai40200@hotmail.com>
- Thursday, January 27, 2000 at 10:20:26 (EST)

คัดค้าน เพราะว่าควรเป็นสิทธิ์ของ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์นั้น
พัฒนพงศ์ อ่ำพันธ์ <patta_cmu@yahoo.com>
- Thursday, January 27, 2000 at 10:07:13 (EST)

คัดค้าน เนื่องจากปัจจุบัน ดิฉันเป็นผู้ที่กำลังจะจบการศึกษา ระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษานี้ และสนใจเรื่องการศึกษา ของสังคมไทย พอสมควร พบว่าแท้จริงแล้วคำว่า "นักศึกษาที่มีคุณภาพ" นั้น จะมีวิธีการวัดเพียงด้านเดียว คือจากคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ที่อยู่ระหว่าง 0.00-4.00 เท่านั้น และพบว่า นักศึกษาหลายคน ถึงกับลงทุน ทุจริตในการทำข้อสอบแต่ละครั้ง เพื่อคะแนนที่ดี อยากถามว่า นี่คือคุณภาพจริงหรือ? ในปัจจุบัน มีการกระตุ้น และส่งเสริมให้นักศึกษา สนใจเรื่องภาษาอังกฤษ ให้มากเพื่อให้มี "คุณภาพ" เหมาะสมกับ หน้าที่การงาน และยุคสมัย ถามว่า แล้วงานที่ว่า มีเพียงพอสำหรับ นักศึกษาหรือไม่? การเรียนรู้ และเพิ่มทักษะ ความชำนาญ ในการใช้ภาษาอังกฤษ แท้จริงแล้ว ขึ้นอยู่กับ ความสนใจของผู้เรียน และการได้ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ การบังคับให้ทำวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ใช่ว่าจะทำให้นักศึกษาผู้นั้น เก่งภาษาอังกฤษขึ้นมาได้ นักศึกษานั้น มีทางออก เพื่อให้ได้ผลงาน ที่เป็นภาษาอังกฤษมากมาย เช่น ให้เพื่อนช่วยแต่ง หรือจ้างให้ผู้รับงานแปล แต่งให้ แล้วคำว่า "คุณภาพ" จะมีความหมายหรือ? เห็นด้วย กับความคิดที่ว่า เมื่อนักศึกษาเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาไทย จะทำให้ สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการ ออกมาได้อย่างลึกซึ้ง และทำให้ผู้อ่าน เข้าใจได้ง่ายกว่า การใช้ภาษาที่ไม่ได้เรียนรู้ และรู้จักมาตั้งแต่กำเนิด ทั้งยังไม่มี การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเป็นปกติ และจะเห็นว่า ส่วนหนึ่งของปัญหา ที่ทำให้เรา ไม่มีความก้าวหน้า ทางวิชาการ เนื่องจาก เราพึ่งตำราภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะ ตำราภาษาอังกฤษ มากเกินไป และละทิ้งในส่วน องค์ความรู้เดิม และ แม้ว่าปัจจุบัน เด็กรุ่นใหม่ ต้องถูกบังคับให้เรียนภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล เราก็ยังพบว่า เด็กที่จบมหาวิทยาลัยนั้น ก็ยังมีความสามารถในการ ใช้ภาษาอังกฤษต่ำ ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราควรหันกลับมาทบทวน บทบาทของการศึกษาไทย ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้..
สายฝน สิทธิมงคล <ีีu3905046@cm.edu>
- Thursday, January 27, 2000 at 05:39:06 (EST)

I don't agree with that as it has a big gab of language between Thai and western,this thesis might help Thai as a whole not just a group of people who can read or write English. Yesh it is a good idea but we need the development in terms of people education, standard of living. Or if some thesis has been accepted as a excellent thesis and should be provide on international level then it should be translated in English. For myself the idea of writing thesis in English was such a crazy idea. And in reality we listened Fa-rang ideas rather than Thai. You might be a little bit confuse but it has both advantage and disadvantage, in deed, for advantages, it is a begining of Thai to develop to another steps internationally. But disvantages would be It is hard to do in reality especially for thai who havenot colonized by any countries, no foundation in English.
Benjamin <Busiest_benjamin>
- Thursday, January 27, 2000 at 00:49:38 (EST)

ควรทำทั้งสองภาษาเลยจะดีกว่าไหมคะ ทำภาคภาษาไทย เพื่อให้คนไทย ได้อ่านหาความรู้ได้ โดยไม่ลำบาก ไม่ต้องเสียเวลาแปล เพราะไม่ว่าคนไทย หรือคนชาติไหน ก็ใฝ่รู้เหมือนกัน ทำภาคภาษาอังกฤษ เพื่อการง่ายต่อการ เผยแพร่ความรู้ สู่คนต่างประเทศ เพื่อความเป็นสากล จะได้ไม่ต้องเป็นปัญหา ที่ถกเถียงกันโดยหาข้อยุติไม่ได้ นักศึกษาจะได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจในภาษาไทยของตนเอง ทำวิทยานิพนธ์ และฝึกที่จะเขียน ในภาษาสากลด้วยไงคะ
ลิฟท์ <meaw200@yahoo.com>
- Wednesday, January 26, 2000 at 05:55:51 (EST)

ข้อดี ทำให้มีความเป็นสากลมากขึ้น ข้อเสีย ยากสำหรับคนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษมาก
ปริมสุดา ไตรยวงค์ <u4101320@cm.edu>
- Tuesday, January 25, 2000 at 07:54:01 (EST)

คัดค้านอย่างรุนแรง
ธีรพล <wk251@161.200.41.252>
- Saturday, January 22, 2000 at 06:03:40 (EST)

คัดค้าน....ค่ะ
petcharin <u3915009@student.mahidol.ac.th>
- Saturday, January 22, 2000 at 01:27:12 (EST)

คัดค้านการเขียนวิทยานิพนธ์ เพราะแนวทางการสอนเป็นภาษาไทย หลักสูตรไทย ไม่สมควรที่จะมาทำเป็น ภาษาอังกฤษ ในแนวทางสังคมวิทยา และมนุษยวิทยา การตีความหมาย ในด้านวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษไม่สามารถอธิบาย รายละเอียดได้เท่ากับ ภาษาตัวเอง และในด้านสิทธิ ควรเปิดเสรีในการทำ และควรให้การสนับสนุนงานวิชาการ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยดีกว่า ไปตามกระแสตะวันตก เพราะที่ผ่านมา ยังบอบช้ำไม่พออีกหรือ จากการตามรอยทางความเจริญตะวันตก
chattarin/ MAHIDOL <chattarin@hotmail.com>
- Friday, January 21, 2000 at 05:56:12 (EST)

ผมเห็นด้วยกับ รศ.กฤตยา เพราะประเทศไทย เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ยังมีคนอีกหลายคน ที่ยังต้องการความรู้อีกมาก หากเขียนเป็นภาษาอังกฤษ คนไทยที่ยังไม่คล่องเรื่องภาษา ก็มีอีกมาก หากเขียนเป็นภาษาไทย คนไทยก็สามารถอ่าน และทำความเข้าใจได้อย่างดี หากมีศัพท์เฉพาะ อันนั้นก็อีกเรื่อง แต่ควรจะอธิบายท้ายเล่นด้วย หากแสดงความเห็นขัดแย้งกับผู้ใด ก็ขออภัยด้วย
นาย สุรเดช ยิ้มวิไล <SURADECH.Y@chaiyo.com>
- Friday, January 21, 2000 at 02:23:31 (EST)

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่จะบังคับให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาไทยดีที่สุด เพราะสามารถสื่อถึง รายละเอียด ได้ชัดเจนลึกซึ้งมากกว่า ถ้าอยากให้พัฒนาด้านภาษาอังกฤษ ท่านก็ไปเรียนในสถาบันการศึกษา ที่สอนภาษาโดยตรง ไม่จำเป็นต้องใช้ วิทยานิยพนธ์ เป็นแบบทดสอบ ควรคำนึงถึง ผลเสียที่จะตามมา ภายหลังจากที่ วิทยานิพนธ์ถึงมือต่างชาติ แล้ววันนั้น คนไทย อาจไม่เหลืออะไร ไว้ให้เป็น ของคนไทยอยู่เลย นอกจากกระดาษ ที่ตาสีตาสาอ่านไม่ออก!!
อัจฉราวดี
- Friday, January 21, 2000 at 01:03:19 (EST)

อย่างที่รู้ๆกัน ว่าปรัชญาของการศึกยาแผนใหม่ สุดท้ายแล้ว มันก็มุ่งไปสู่ การแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่ง โอกาสจากโลกส่วนกลาง แต่ที่ผ่านๆมา น่าจะสอนให้เรารู้ว่า การที่เราจะต้องอ่อนปวกเปียก และวี่งไล่ความเป็นสากลมาตลอดนั้น ไม่ได้ให้ความหมาย ที่เพียงพออย่างใดเลย ลองกลับมานั้งชั่งใจ แล้วใช้สิ่งที่ยังพอเหลืออยู่บ้าง (ภาษา) (เพราะสิ่งอื่นๆ ถูกยึดไปหมดแล้ว) นำมามารับใช้สังคมตัวเอง จะดีกว่า (โทษที ลืมไปว่า ผรั่งมันให้เงินสนับสนุนการศึกษา ถ้าไม่ตามใจกัน เดี๋ยววันหลังมันจะไม่ให้อีก)
ผมเอง <neogradumphi@hotmail.com>
- Monday, January 17, 2000 at 07:53:29 (EST)

"ประเด็นสุดท้าย คือ เรื่องการเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษนี้ ไม่เกี่ยวกับ การเดินตามก้นฝรั่ง หรือยอมจำนน ต่อชาติตะวันตก ในทางกลับกัน ในยุคสมัยนี้ ถ้าเราเก่งภาษาอังกฤษ เราก็จะ มีความรู้ มากขึ้น เท่าทันชาติตะวันตก ได้มากขึ้น และอาจเก่งกว่า ชาติตะวันตก อีกด้วย ทั้งยังมีโอกาส เผยแพร่ภาษาไทย และวัฒนธรรมไทย ให้นานาชาติ ได้รับรู้ ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญ ประการหนึ่ง ของคนที่จบ ปริญญาโท และปริญญาเอก" ผมยังงงว่า แล้วจะเผยแพร่ ภาษาไทย อย่างไร ในเมื่อ เราน่ะ ต้อง ทำวิทยานิพนธ์ เป็น ภาษาอังกฤษ
ภานุ กฤษอร่ามเรือง <panu15@hotmail.com>
- Monday, January 17, 2000 at 07:18:33 (EST)

Disagree! For the one who have chance to travele ever ask yourself "why I've to fill in the immigration card of Kingdom of Thailand in english why not in Thai" but Japanish Korean or Chainese they can do it in their own language.
คนไทย <Kumpanat@ksc.th.com>
- Sunday, January 16, 2000 at 23:37:59 (EST)

thai
krengkrai sengkrai <krengkraisengkrai@thaimail>
- Sunday, January 09, 2000 at 07:49:09 (EST)

ขอคัดค้าน การเขียนเป็นภาษาอังกฤษ
นายอรรถพงษ์ สุขญาโณ <->
- Saturday, January 08, 2000 at 12:12:08 (EST)

คัดค้านเเพราะ การเขียนวิทยานิพนธ์ ที่เป็นภาษาอังกฤษนั้น เด็กสมัยนี้ก็แทบจะ จ้างเขาทำกันอยู่แล้ว แล้วทำไมถึง ไม่เขียนเป็นภาษาไทยบ้าง แต่การศึกษาของเด็กไทยนั้น ไม่ได้สอนให้เด็ก เขียนรายงานด้วยตนเองเลย ส่วนใหญ่แล้ว เด็กจะลอกจาก หนังสือมา ทำรายงานเองน้อยมากที่จะ เขียนด้วยตัวเอง เลยทำให้เกิด ปัญหาการทำรายงาน มาถึงณปัจจุบันนี้ แต่ถ้ามีความเป็นไปได้ ก็ให้เด็กทำวิทยานิพนธ์ทั้งสองอย่างเลย ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพราะเมื่อเค้าเหล่านั้นทำเสร็จเรียบร้อย ทางมหาวิทยาลัย ก็ต้องทำเก็บเข้าที่ห้องสมุด ของมหาวิทยาลัยนั้นฯ เพื่อที่เด็กรุ่นหลัง จะได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป หรือประชาชนทั่วไป จะได้อ่านได้ทั้งไทย และอังกฤษ
spa <well1999_2000@yahoo.com>
- Saturday, January 08, 2000 at 03:29:06 (EST)

คัดค้าน เนื่องจาก
- การเขียนเป็นภาษาของเรา ทำให้สามารถ ถ่ายทอดข้อมูล ได้ถูกต้อง และได้รายละเอียดมากกว่า โดยไม่ถูกจำกัดด้วย คำศัพท์ และภาษา
- วิทยานิพนธ์ภาษาไทย เปิดโอกาสให้ ผู้ต้องการข้อมูล ได้รับข้อมูล องค์ความรู้กว้างกว่า ภาษาอังกฤษ
- การเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ได้รับประกันว่า ทำให้ความสามารถ ทางภาษา ดีในระดับมาตรฐาน ก่อนอื่น อาจารย์คนไทยเอง สามารถแก้ภาษาของนิสิต ได้มากแค่ไหน
ทั้งหมดนี้ ไม่ได้หมายความว่า ไม่เห็นความสำคัญของ ภาษาอังกฤษ นักศึกษาจำเป็นต้อง ค้นคว้าข้อมูล ภาษาอังกฤษ และการเผยแพร่ผลงาน เป็นภาษาอังกฤษใน international journal ก็มีความสำคัญ แต่การเผยแพร่ ควรเป็นส่วนที่ อาจารย์ และมหาวิทยาลัย ควรช่วยผลักดัน ทั้งในระหว่าง หรือหลังจาก การเขียนวิทยานิพนธ์

ศรีสกุล ภิรมย์วรากร <srisakul_p@hotmail.com>
- Friday, January 07, 2000 at 03:21:21 (EST)

คัดค้าน ไม่ควรเป็นการบังคับ เอาเป็นว่า ใครอยากเขียน ก็เขียนเป็น ภาษาอังกฤษแล้วกัน แต่อันที่จริง เป็นภาษาไทย ก็ดีอยู่แล้ว ภาษาเรามันไม่ดีตรงไหนเหรอ ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาพ่อแม่เรา พูดอังกฤษเขียนอังกฤษ ก็ใช่ว่าจะเป็นเทวดาสักหน่อย พวกผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลายจ๋า อย่าบูชามันมากนัก ใช้แค่จำเป็น
อภิชัย <beatle@thaimail.com>
- Thursday, January 06, 2000 at 21:36:44 (EST)

ถึงแม้ผม จะเห็นด้วยว่า ภาษาอังกฤษ มีความจำเป็นมาก ในปัจจุบัน ใครเก่งภาษาอังกฤษ ก็ต้องถือว่า ได้เปรียบคนอื่น แต่ขอคัดค้าน ความคิดนี้ ด้วยเหตุผลว่า ... เราควร แยกจุดประสงค์ของ การทำวิทยานิพนธ์ กับการฝึกทักษะ ทางด้านภาษาอังกฤษ ออกจากกันครับ !
whocase@myplace.com <whocase@myplace.com>
- Thursday, January 06, 2000 at 16:11:06 (EST)

คัดค้าน การทำวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ใช้ว่าจะดูดี หากแต่สำคัญที่เนื้อหาต่างหาก ใครจะเป็นผู้รับประกันได้ว่า เมื่อทำวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษแล้ว จะดี ขนาดทำเป็นภาษาไทย ยังหาดีได้ ยาก ไม่ควรเป็นการบังคับ ให้อยู่ที่ ความสมัครใจ จะดีกว่า ฝ่ายสนับสนุน จะมีแรงจูงใจให้นักศึกษา หันมาทำวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษได้มากแค่ไหน?
สมควร
- Thursday, January 06, 2000 at 11:31:43 (EST)

สนับสนุน 100 % ครับ เพราะเท่าที่ดูแล้ว มหาวิทยาลัยบ้านเรา มีแต่อาจารย์ ที่คิดว่า ตัวเองเก่งมาก และคิดว่าบ้านเรา มีความรู้ความสามารถ เป็นเอกในทุก ๆ ด้าน แต่แท้ที่จริง เป็นเพียงกิเลศของ พวกอาจารย์ทั้งนั้น ผมมีเพื่อน เป็นอาจารย์ มหาวิยาลัย แต่ความรู้ ไม่แตกฉาน สอนวิชาต่าง ๆ ได้แต่ทฤษฎี แต่ไม่เคยปฏิบัติ วิชาความรู้ ที่มีสอนใน มหาวิทยาลัย ก็ลอกเลียนเขามาทั้งนั้น แล้วยังจะมา ดูถูกสิ่งที่ตัวเองไปทำ (ลอก) มากับมือ เรื่องนี้ ก็ขอให้เป็น บทเรียน สำหรับอาจารย์ ที่สอนนักศึกษา ว่า วิชาความรู้ ที่ท่านสอน ให้นักศึกษานั้น ทั้งให้ท่องจำ ทั้งให้อ่าน ท่านก็ลอกเขามา ทั้งนั้น ผมไม่เห็นจะมี สักวิชา ที่เป็นผลงานวิจัย หรือความรู้ ที่เกิดจาก ตัวท่านเลย ถ้าจะให้นักศึกษา เก่งภาษาอังกฤษ แล้วไปลอกเขาต่อ มันจะต่างกันตรงใหนครับ
พรศักดิ์ <zhengu@nn-mail.gx.cninfo.net>
- Wednesday, January 05, 2000 at 06:45:18 (EST)

I disagree with this topic because I have my own reason that is the purpose for the student who will do the dissert that is want to use their own knowledge for develop and revise the education for Thai people not for American. So we should try to give the education for Thai people who will easily to educate them by Thai language. It's wrong that will do the dissert by English language because they will use the dissert TO THAI PEOPLE NOT FOR EDUCATE AMERICAN!!.
Suthinee Sujirungsri <prangy55@hotmail.com>
- Monday, January 03, 2000 at 15:08:36 (EST)

คัดค้าน
อนุกร ภู่เรืองรัตน์ <kkron@chaiyomail.com>
- Saturday, January 01, 2000 at 20:38:10 (EST)

สนับสนุน
Miss Jaiaue Wongtanachai <Larnie@mail.com>
- Thursday, December 30, 1999 at 06:36:00 (EST)

คัดค้าน การถูกบังคับ ให้เขัยนเป็น ภาษาอังกฤษ
นายสุชาติ หลีวิเศษ
- Wednesday, December 29, 1999 at 21:04:03 (EST)

คัดค้าน การเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ
นายสมชัย พรจินดารักษ์
- Wednesday, December 29, 1999 at 20:57:43 (EST)

คัดค้านครับ เพราะเอกสารวิชาการ ปัจจุบัน มีแต่ที่เป็น ภาษาอังกฤษ ซึ่งเราใช้ ในการอ้างอิงอยู่แล้ว จึงควรที่จะ ทำเป็นภาษาไทย เพื่อให้ผู้ที่อ่าน หรือมีความเข้าใจ ภาษาอังกฤษ ปานกลาง หรือเบื้องต้น สามารถที่จะ อ่านและนำไป ใช้ประโยชน์ได้ จรึงๆ เราทำวิจัยเพื่อ... คนไทย ... นะครับ ครวคำนึงถึงก่อนครับ
ส่วนที่การทำ เป็นภาษาอังกฤษ ก็ไม่ได้ คัดค้านซะทีเดียวครับ เพราะต้องมี การตีพิมพ์ บทความวิชาการอยู่แล้ว ถ้าส่งต่างประเทศ ก็ต้องภาษาอังกฤษ อยู่แล้วครับ

ศรนรินทร์ ตพรัตน์ <Sornnarin_top@telecomasia.co.th>
- Tuesday, December 28, 1999 at 03:54:22 (EST)

คัดค้าน
Tom <Kannika_5>
- Wednesday, December 22, 1999 at 10:58:41 (EST)

คัดค้าน อยากให้ทุกๆ คน ช่วยแยกแยะ ระหว่าง การทำวิทยานิพนธ์ กับการฝึกเขียน ภาษาอังกฤษ ออกจากกันก่อนได้ไหม จุดประสงค์ของ การทำวิทยานิพนธ์ อยู่ตรงไหน ทำไปเพื่อใคร มหิดลฯ ไม่ได้สอนเฉพาะ สาขาวิชา ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ยังมีสาขาวิชาทางด้าน วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของไทย อีกจำนวนมาก ที่ต้องพลอยฟ้าพลอยฝน ไปกับเค้าด้วย ......
หลิน <lin5555@hotmail.com>
- Tuesday, December 21, 1999 at 12:33:28 (EST)

Agree and disagree. It depends on the purpose of the Thesis work. Students and thesis supervisors should have freedom to choose. If they intend that the thesis will be more international and more open, then publish in English. If the students are very bad in writing English or their quality is too bad, then publish in Thai. Why not ?
Atom
- Tuesday, December 21, 1999 at 07:50:13 (EST)

I support the policy that Thesis should be written in English, at least for Science and Technology field. For other fields such as social or humanities, writing Thesis in Thai is still necessary. There are many reasons that writing Theris in English for Science and Technology areas are
(1) we must accept that the knowledges in these areas originate from western culture.
(2) if we accept (1), then we will find that there are not so much database of scientific words or dictionary enough to write Thesis in Thai.
(3) from (2), some people try to establish Thai dictionary for Science and Technology but most of them fail because of the reason (1).
(4) Writing Thesis in Thai in the Science and Technology fields usually result in disastrous, unreadable and misintepreted context.
(5) Writing Thesis in English can reach wider audience around the world.
(6) Writing Thesis in Thai in Science and Technology fields finally results in the downgrade of Thai education
So, I partially support this.

Dr. Teerakiat Kerdcharoen <sctkc@mahidol.ac.th>
- Tuesday, December 21, 1999 at 07:36:03 (EST)

คัดค้าน
พีระดา สายบัว <mee2k@hotmail.com>
- Saturday, December 18, 1999 at 10:31:32 (EST)

มีความเห็น คัดค้านครับ ในส่วนตัวแล้ว ผมมองเรื่องนี้ว่า การใช้ภาษา เป็นส่วนหนึ่งของ การแสดงนัยยะ แห่งชนชั้นทางสังคมนะครับ หมายถึงว่า ยิ่งถ้าใคร มีความสามารถ ใช้ภาษา ซึ่งคนทั่วไป ในสังคม ไม่รู้เรื่องมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างความยอมรับว่า ตนเอง อยู่ในระดับสูงกว่า คนทั่วไปมากยิ่งขึ้น และในที่สุด ภาษาที่คนทั่วไป ไม่อาจเข้าใจได้ ก็จะกลายเป็น ภาษาศักดิ์ศิทธิ์ ที่ไม่มีใคร อยากจะเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ องค์ความรู้ ที่ถ่ายออดมา เป็นภาษานั้น ต้องตายตามไปด้วยครับ เหมือนกับ ภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร ที่บางชนชั้นของไทย กำลังใช้อยู่นั่นเอง ข้อสำคัญ ในประเด็นทางสังคมต่อมาก็คือ มีความจำเป็นแค่ไหน ที่จะต้องเผยแพร่ ความรู้ของเรา ให้คนต่างชาติรู้ "เพื่อความเป็นสากล" ขณะที่ คนในชาติเอง ยังไม่รู้จักตนเองดีพอ ดังนั้น การที่ให้เขียน องค์ความรู้ต่างๆ เป็นภาษาไทย ก็เพื่อให้คนไทยอ่าน เพื่อที่จะให้คนไทย ได้เข้าใจตนเองมากขึ้น ก่อนที่จะให้คนอื่น มาเข้าใจ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อ การพัฒนาชาติ โดยการเข้าใจ สิ่งที่ตนเองมีครับ ขณะเดียวกัน ภาษาอักฤษเอง ก็ไม่ใช่ตัวแทน ความเป็นสากลทั้งหมด เพียงแต่ โลกทัศน์ของไทยเรา ตั้งแต่อดีต นิยมอิงแอบกับ ความเป็นมหาอำนาจ มาตั้งนาน เห็นได้จาก หลายศตวรษก่อน เราใช้ภาษาเขมร ก็เพราะเขมร เป็นมหาอำนาจ ต่อมา เราก็ใช้ภาษาบาลี สันสกฤต เพราะแขก เป็นมหาอำนาจ และมาใช้ภาษาจีน ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เพราะเรายังต้องพึ่งจีน ในการค้า และจีนเป็นมหาอำนาจ พอสนธิสัญญา เบาว์ริ่งเกิดขึ้น เราก็ต้องพึ่งอังกฤษ กับอเมริกา เพราะประเทศเหล่านั้น เป็นมหาอำนาจครับ มิใช่ว่า ความเป็นสากล จะเกิดขึ้นแต่อย่างไร ขณะเดียวกัน ในฐานะเป็น นักศึกษาระดับปริญญาโท ของมหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งในทีม ภาคนักศึกษา ในการเรียกร้องกรณีนี้ ก็มองว่า ระเบียบบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อนุญาตให้นักศึกษา ที่ไม่สามารถ เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ก็ให้ยกเว้น แล้วแต่กรณีเป็นรายๆ โดยให้ อาจารย์หัวหน้าภาค หรือผู้อำนวยการหลักสูตร เป็นผู้อนุมัติ ซึ่งตีความเป็น 2 นัยยะ นัยแรก ก็คือ ระเบียบบัณฑิตวิทยาลัยที่ว่า ซึ่งผมจำปีไม่ได้ (อยู่ในสมัย รศ.นพ.มันตรี นั่นแหละ) แต่จำได้ว่าเป็นข้อ 9 และกำลังมีผลบังคับใช้อยู่นี้ ได้ยกเว้นนักศึกษา ให้ทำวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาไทย อยู่แล้วครับ การที่ บัณฑิตวิทยาลัย ในสมัยต่อมา (อ.อดุลย์) ออกประกาศ ซึ่งถือว่า เป็นเพียงนโยบายของ ผู้บริหาร ที่ขัดกับ ระเบียบบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งออกโดย สภามหาวิทยาลัย ให้บังคับนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษาทุกคน ต้องทำวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ จึงขัดแย้ง และโดยศักดิ์ทางกฎหมายแล้ว ประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย จึงขัด และไม่มีผลบังคับนักศึกษา มาแต่ต้น นัยที่2 ก็คือ ในระเบียบที่ผมว่านั้น ให้อำนาจ "หัวหน้าภาควิชา หรือผู้อำนวยการหลักสูตร" เป้นผู้วินิฉัย และอนุมัติให้ นักศึกษาคนไหนก็ตาม ทำวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอะไร ดังนั้น การที่บัณฑิตวิทยาลัย ออกมาว่าทุกคน ต้องขออนุมัติจาก คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยก่อน เพื่อทำวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาไทย จึงขัดกับระเบียบที่ ให้อำนาจแก่ อ.หัวหน้าภาค หรือผู้อำนวยการหลักสูตร โดยสิ้นเชิงครับ ตอนนี้ ในส่วนนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา ได้ส่งเรื่องดังกล่าว แก่คณะกรรมการ กฤษฎีกา และคณะกรรมาธิการ การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และได้ไปให้ข้อมูลแก่ คณะกรรมาธิการทั้ง 2 แห่ง เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่าง การพิจารณาเรื่องนี้อยู่ครับ ขอเสนอแนะว่า ในประเด็นนี้ ไม่อาจสมบูรณ์ได้ หากไม่มีการสอบถาม นักศึกษา ในฐานะ ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และผู้ที่เป็น กลไกอันหนึ่ง (ที่สำคัญ) ของการเรียกร้องดังกล่าว
บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข <kwan224@hotmail.com>
- Friday, December 17, 1999 at 00:51:33 (EST)

I think a thesis should be judged by its quality rather than the language used. By the way, it was funny to hear that the Thai government paid higher salary to those who graduate from abroad. Is this still true now?
Donald Davidson
- Thursday, December 16, 1999 at 16:36:50 (EST)

คัดค้าน เพราะคนไทยส่วนใหญ่ ไม่ได้เก่ง ภาษาอังกฤษเหมือน มาเลเซีย, สิงคโปร์ เรื่องนี้ ไม่ได้ให้ประโยชน์แก่ คนไทยส่วนใหญ่ แต่เป็นประโยชน์กับ ต่างชาติ ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษา และต้องศึกษาตำรา ภาษา อังกฤษ คิดเสมอว่า น่าจะมี ตำราภาษาไทยดีๆ ในบางสาขา ซึ่งจะเป็น การง่ายต่อการศึกษา ทำความเข้าใจ แต่บางครั้ง ไม่มีเลย แต่นี่คือการที่จะทำให้ ความคิดของคนไทย ไปเป็นภาษาต่างชาติ คนไทยทั่วไป ไม่สามารถ เข้าใจได้อย่างง่าย แล้วถ้าเป็นอย่างนี้ ทำไมเราไม่ใช้ ภาษาอังกฤษไปเลยล่ะ มีภาษาไทยไว้ทำไม คนไทยจะได้อ่าน งานเขียนของคนไทย รู้เรื่อง
สมเกียติ จงรักวิทย์ <ufo11@chaiyomail.com>
- Wednesday, December 15, 1999 at 04:49:22 (EST)

What's an idea! I can’t believe that this came out from a respectable member of society. All the reasons that support the issue are unspeakable..
1. ...so our student can get a job in other country
Yeah! Educate our children so they can go off and work in other country. Is Education ministry listening? That’s a darn great idea.
2. Writing in thesis English makes other people interested in it.
Aren’t there already more than enough CRAPS in English? He thinks our craps will stand a chance.
3. Nobody in Thailand read thesis anyway.
This one tops all above. What a supportive scholastic comment! Nobody reads it so let’s make it unreadable.
Question: who will survive all of this? People who have enough money for either training their kid to be better off in English or buying the thesis. Question: The rest of us? ...

luka anos <lukanos11@hotmail.com>
- Tuesday, December 14, 1999 at 14:26:10 (EST)

สนันสนุน เพราะว่าการที่ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องมีความรู้ ด้านภาษาอังกฤษ
ชลธิชา วัฒนโชติ
- Tuesday, December 14, 1999 at 07:39:47 (EST)

คัดค้านครับ... เหตุผลในการทำ วิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อยกระดับมหาวิทยาลัย ให้เป็นสากล เป็นเหตุผลที่ ไม่ได้เรื่องมากๆ การเป็นมหาวิทยาลัยสากล เป็นที่ยอมรับ น่าจะเนื่องมาจาก มาตรฐานการสอนมากกว่า จริงอยู่ การที่นักศึกษา มีความรู้ ภาษาอังกฤษ ดีระดับ เขียนตำราทางวิชาการภาษาสากลได้ จัดว่่ามีมาตรฐานเยี่ยม แต่.. จะมั่นใจได้อย่างไรว่า กว่า 60 % ของงานเหล่านั้น เป็นมันสมองของ ผู้เขียนจริงๆ ผมว่าการเขียนงาน ภาษาอังกฤษ สำหรับคนไทย เป็นเรื่องยาก ตัดแปะจากข้อมูล ภาษาอังกฤษ ง่ายกว่านะครับ แล้วงานวิทยานิพนธ์นี้ เป็นงานที่มีประโยชน์ต่อ การพัฒนาประเทศมาก ไม่ทำให้เป็น ภาษาไทยอ่านง่ายแล้ว จะให้ต่างชาติ เอาความรู้เหล่านี้ ไปใช้หรือครับ จริงอยู่ว่า ตาสี ตาสา คงไม่ได้อ่าน แต่ผู้สนใจ ไม่ว่านักวิชาการ ผู้ต้องการศึกษา นักศึกษา ใช้ค้นคว้าข้อมูล หน่วยราชการ ใช้ศึกษาแนวทาง ในการกำหนดนโยบาย ต่างๆ เหล่านี้ ก็น่าจะเพียงพอที่จะ ทำเป็นภาษาไทยนะครับ ภูมิปัญญาชาวบ้านไทย ทรัพยากรธรรมชาติไทย และลิขสิทธิ์ทางปัญญาไทย สูญเสียสิ่งเหล่านี้ ไปเท่าไรแล้ว เราเอาภูมิความรู้ของเรา ที่ศึกษา และตกทอดมานาน ไปแปลเพื่อประเคนให้ ต่างชาติใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งทำร้ายเรา เพื่ออะไร ไม่ใช่ชาตินิยมจนตัวสั่น แต่ขอให้ฝ่ายสนัสนุน น่าจะพิจารณาในระยะยาวบ้าง ไม่ใช้เพื่อหน้าตาของตน และมหาวิทยาลัยของตนอย่างเดียว คิดถึงประเทศชาติ ที่ท่านเติบโตมาบ้าง ถ้างานใดน่าสนใจ ต่างชาติก็แปลเอง หรือถ้าเจ้าของ อยากให้งานถูกเผยแพร่ (หรือท่านอยากให้ถูกเผยแพร่) ก็นำเฉพาะงานนั้นๆ ไปแปลซิครับ
ธัญ <katu@thaimail.com>
- Sunday, December 12, 1999 at 05:18:20 (EST)

สนับสนุน การทำวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ช่วยทำให้เป็นสากลมากขึ้น ทำให้มีคนรู้จักว่า คนไทยก็มีความสามารถ ทัดเทียมกับคนต่างชาติ
คุณ อัญชลี ธนะชัยขันธ์ <->
- Saturday, December 11, 1999 at 03:36:13 (EST)

คัดค้านครับ ในการเขียนเป็นภาษาไทย จะได้บ่งบอกถึง ความเป็นคนไทย ได้เป็นอย่างดี ถ้าต่างประเทศ สนใจใน วิทยานิพนธ์เล่มนั้น ๆ ต้องมาศึกษาเอง การเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ไม่สามารถบ่งบอกได้ว่า มีความเป็นสากล อย่าลืมว่า คนไทย ก็มีความสามารถเหมือนกัน "ยิ้มไว้เถิด เกิดเป็นคนไทย"
คุณจิตกร วิจิตรปฐมกุล <Jittakornw@hotmail.com>
- Saturday, December 11, 1999 at 03:30:19 (EST)

คัดค้าน เนื่องจาก ภาษาสากลของคนไทย คือภาษาไทย ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ
สุชาดา เอกจิตต์ <zuchada@hotmail.com>
- Friday, December 10, 1999 at 04:08:36 (EST)

ไม่เห็นด้วยค่ะ เพราะต้องยอมรับว่า นศ.ที่เข้ามาเรียน มีความแตกต่าง ในด้านพื้นฐาน ภาษาอังกฤษมากๆ ถ้าจะแยกอย่างคร่าวๆ น่าจะได้สัก 5 กลุ่ม คือ ดีมาก ดี ปานกลาง อ่อน และอ่อนมาก ดังนั้น การใช้วิธี บังคับให้นศ.ทุกกลุ่ม เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการเดียว จึงเป็นเรื่อง ไม่สมเหตุสมผล และคิดว่า ไม่น่าจะ เป็นการพัฒนา การใช้ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษา แต่จะเป็น การสร้างปัญหามากกว่า สำหรับสาเหตุ ของปัญหา ที่ทำให้ นักศึกษา มีพื้นฐานภาษาอังกฤษ แตกต่างกันมาก ก็เพราะ ขั้นตอนการทดสอบ ความรู้ภาษาอังกฤษ ในตอนสอบคัดเลือก ไม่สามารถ วัดทักษะ การใช้ภาษาอังกฤษได้ เนื่องจาก ข้อสอบเป็นแบบ วงกลมเลือกคำตอบ วิธีการนี้ คะแนนที่ออกมา จึงไม่สามารถวัดได้เลยว่า ผู้สอบสามารถ พูด ฟัง หรือเขียนภาษาอังกฤษ ได้หรือไม่ จะวัดได้ก็เพียงแต่ ทักษะการอ่านเท่านั้น ดังนั้น หมออดุลย์ ไม่ควรเหมารวมว่า นศ.ได้ผ่านการทดสอบ ภาษาอังกฤษแล้ว ก็น่าจะเขียนภาษาอังกฤษได้ เพราะฉะนั้น การทดสอบ ความรู้ภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการนี้ จึงทำให้นศ. ที่เข้ามา มีพื้นฐานภาษาอังกฤษ ไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ การบังคับให้นศ. เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ จึงวิธีการที่ไม่เหมาะสม
ขนิษฐา
- Friday, December 10, 1999 at 02:50:57 (EST)

คัดค้าน เพราะ การเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ต้องใช้การเขียน เชิงวิชาการ (academic writing) ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมาก เมื่อเทียบกับ มาตรฐาน การใช้ภาษาอังกฤษ โดยส่วนใหญ่ของคนไทย อยู่ในระดับอ่อนมาก และนับเป็น หนึ่งในปัญหา ของวงการศึกษาไทยปัจจุบัน ดังนั้น ผมเห็นว่า แทนที่หมออดุลย์ จะบังคับให้นักศึกษา เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษ น่าจะมาแก้ไข สาเหตุที่แท้จริง ของปัญหา นั่นก็คือ การพัฒนาทักษะ การใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งการพูด ฟัง อ่านเขียน จะดีกว่า วิธีการ บังคับให้เขียน เพราะว่า การเขียนภาษาอังกฤษ เชิงวิชาการ ไม่น่าจะเป็นเวที ในการฝึกฝนทักษะ แต่น่าจะเป็น เวทีสำหรับ ผู้ที่มีทักษะ ภาษาอังกฤษดีแล้ว และต้องการ พัฒนาภาษาอังกฤษ ในระดับสูงต่อไป
สุรศักดิ์
- Friday, December 10, 1999 at 02:24:30 (EST)

รู้แต่ว่า ต้องคัดค้าน ทุกวันนี้ ก็แทบจะ เสียเอกราชอยู่แล้ว ประวัติศาสตร์ สอนเรามาตลอดครับว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา ทำอะไรเราไว้ในอดีต แค้นครับแค้น แต่เกี่ยวกันมั้ยนี่
thitipong <thitipong@hotmail.com>
- Thursday, December 09, 1999 at 23:33:38 (EST)

คัดค้าน
สมชาติ ศ. <Somcharts@yahoo.com>
- Thursday, December 09, 1999 at 07:24:19 (EST)

คัดค้าน :- ความรู้ ความสามารถ แสดงให้เห็นโดย ใช้ภาษาอะไรก็ได้ การนำความรู้ ไปใช้ ให้เป็นประโยชน์ ก็ทำได้โดย ใช้ภาษาอะไรก็ได้
panta <yuipanta@usa.net>
- Wednesday, December 08, 1999 at 22:37:44 (EST)

คัดค้าน เนื่องจาก การบังคับ ให้เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ได้ทำให้ การเรียนรู้ ด้านภาษา พัฒนาสักเท่าไหร่ เพราะจริงๆ แล้ว เราน่าจะ พัฒนาการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษ มาจากระดับพื้นฐาน คือระดับประถม หรือมัธยมมากกว่า และนักศึกษา ที่ทำวิทยานิพนธ์เอง ก็มีน้อยราย ที่จะถอดความ วิทยานิพนธ์ ที่ตัวเองทำ เป็นภาษาอังกฤษเอง ส่วนมากก็จะ จ้างคนอื่นแปลมากกว่า ซึ่งก็จะไม่เกิดผลด้าน การเรียนรู้ภาษาเลย และทำให้ การนำสาระที่ได้ จากวิทยานิพนธ์ ไปใช้ได้ยากด้วย เพราะขนาดที่เป็น ภาษาไทย ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้ ก็ยังไม่แพร่หลาย เท่าที่ควร เราควรหันมาสนใจ การเลือกหัวข้อ การทำวิทยานิพนธ์มากกว่า เพราะหลายเรื่องที่ ทำมาแล้ว ไม่เกิดประโยชน์ กับสังคมเท่าที่ควร
จารุวรรณ <geo_tk@yahoo.com>
- Wednesday, December 08, 1999 at 21:17:53 (EST)

I strongly disagree with the idea of writing thesis in English. Even though I have been studying abroad for some years, I can tell that academic writing is not that easy for everyone (even for American people and for one who has already gotten a word Dr. in front of his/her name abroad and has gone back to Thailand). Being good in speaking or writing English doesn’t guarantee that one has an excellent idea/concepts. For the point that we want to upgrade our academic system as good as that of other countries, I don’t think that this idea can help much. From my experience, I have found myself that every time when I do academic writing, I can express my idea very well in Thai but it is so much pain when I want to describe it in English—means that I waste lots of my valuable time in doing this job. So, please forget this idea. Please be proud of being Thai by using our own language. (I want you to check out the Japanese journals, you will see that Japanese people always publish their jobs in their own language. My friend who is studying in Japan has told me once that most of faculties in her university can’t even speak English. I hope that this will imply some meaning to you). Also, I think it is another job if you want to publish the articles in English. And I believe that by the time you want to publish your works, you can translate them into English by yourself or let the professional English writers do that job for you. I am sorry that I write this in English because I don't have Thai Fonts in my computer.
Sawalee Kunaporn <ksawalee@u.washington.edu>
- Wednesday, December 08, 1999 at 21:16:51 (EST)

คิดว่า ไม่เห็นด้วยกับ การที่ต้อง บังคับให้เขียน วิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากว่า นักศึกษาแต่ละคน มีความรู้ ความสามารถ ที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่จำเป็นที่ นักศึกษาจะต้อง แสดงออกโดยการ เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ เพียงอย่างเดียว เขาอาจแสดงออกได้ โดยวิธีการอื่น และวิทยานิพนธ์ ภาษาไทยที่ดีๆ ที่แสดงถึง ความสามารถของ นักศึกษาเอง ก็มีไม่ใช่น้อย แถมยังอ่านง่าย อีกต่างหาก แต่ถ้าใครจะเขียน เป็นภาษาอังกฤษ ก็ไม่เป็นไร ไม่น่าจะบังคับกันครับ
เสถียรกุล <SATHIENKUL@hotmail.com>
- Tuesday, December 07, 1999 at 08:55:21 (EST)

ขอร่วมคัดค้าน เมื่อวิทยานิพนธ์ ต้องถูกบังคับ ให้เขียนเป็น ภาษาอังกฤษ ประเทศไทยเรา ไม่ได้เป็นเมืองขึ้น ของต่างชาติ ภาษาไทย ยังเป็นภาษาราชการอยู่ ดูเหมือนการที่ วิทยานิพนธ์ ถูกบังคับ ให้เขียนเป็น ภาษาอังกฤษนั้น จะเป็นการ ตามกระแส ของต่างชาติ มากเกินไป ทำไมเรา ไม่คงความเป็นเอกราช ของชาติไทยไว้
เพ็ญสิริ
- Tuesday, December 07, 1999 at 06:08:37 (EST)

ความเห็นส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่า เราต้องถาม ระบบการศึกษา ของเราเอง ให้ดีเสียก่อนว่า เราทำได้จริงๆ หรือ เพราะหากมอง การให้ศึกษาเกี่ยวกับ ภาษาต่างประเทศ ของเรานั้น เป็นไปอย่าง กระท่อนกระแท่น เสียเหลือเกิน อาจจะเป็นเพราะ เราภูมิใจ ในภาษาของเรา มากไป หรือเป็นเพราะ การละเลยที่จะ มองถึง ความจำเป็น อย่างมากมาย ในปัจจุบัน ข้อจำกัด ในการเรียน และการเขียน มีอย่างมากมาย การเขียน งานวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษนั้น ไม่ได้เป็นตัวชี้วัด ความเป็นอารยะ ของการศึกษา ของเราได้เลย แม้แต่นิดเดียว ในทางกลับกันแล้ว ผมคิดว่า มาตรฐาน วิทยานิพนธ์ ในปัจจุบัน ที่เขียนเป็นภาษาไทย ก็ยังเป็น คำถามในใจหลายๆ คนอยู่ ทำไมไม่เห็นมีใคร ลองถามดูบ้างว่า หากจะมีใครสักคน เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาถิ่นบ้างนี่ หรือวิทยานิพนธ์เล่มนั้น ไม่ได้ทำปกแข็ง ทำตัวหนังสือทองๆ หรือพิมพ์ด้วย คอมพิวเตอร์ วิทยานิพนธ์เล่มนั้น และเนื้อหาของมัน จะเป็นที่สนใจ หรือจะเป็น "วิทยานิพนธ์" หรือเปล่า ภาษา เป็นสิ่งที่จำเป็นครับ แต่วิธีนี้ ไม่ใช่การวัด ที่เป็นผลดี วิธีนี้ เป็นเพียง ความพยายามที่จะ ประเมินตัวเรา จากสิ่งอื่น ที่อยู่นอกสังคม โดยลืมไปว่า ตัวเราเองเป็นอย่างไร
เอกศาสตร์ สรรพช่าง <bond007@poppymail.com>
- Tuesday, December 07, 1999 at 05:59:28 (EST)

คัดค้าน เราสองคน เห็นด้วยกับ เป้าหมายของ นายแพทย์อดุลย์ ที่ต้องการให้ นักศึกษา พัฒนาความสามารถ ในการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อแสดงถึง ความมีคุณภาพ และความเป็นสากล แต่ที่ไม่เห็นด้วยคือ วิธีการ ที่จะเข้าสู่เป้าหมาย เพราะบัณฑิตวิทยาลัย เลือกวิธีการโดย การบังคับ ให้นศ. เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ มีวิธีการ พัฒนา การใช้ภาษาอังกฤษ มากมาย วิธีการหนึ่งคือ ทำไมบัณฑิตวิทยาลัย ไม่จัดการเรียนการสอน เป็นภาษาอังกฤษ เพราะนศ. จะสามารถ ฝึกฝนทักษะ ทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน อย่างน้อยเป็นเวลา 3 ภาคการศึกษา ก่อนทำวิทยานิพนธ์ แต่ข้อเท็จจริงคือ ตลอดระยะเวลา สามภาคการศึกษา ที่เรียนที่มหิดล อาจารย์ ก็สอนเป็นภาษาไทย นศ. ก็ตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็น เป็นภาษาไทย แม้กระทั่ง การเขียนรายงาน ก็เขียนเป็็นภาษาไทย จะมีการใช้ ภาษาอังกฤษอยู่บ้าง คือ การอ่านเอกสาร ตำรา ที่เขียนเป็น ภาษาอังกฤษ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า วิธีการสอนในปัจจุบัน ไม่ได้เอื้ออำนวย ต่อการฝึกทักษะ การใช้ภาษาอังกฤษ และ เตรียมความพร้อม ในการเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษเลย แต่อยู่ดีๆ บัณฑิตวิทยาลัย บังคับให้เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนา การใช้ภาษาอังกฤษ คูุณคิดว่า ขัดแย้งกันหรือไม่ ดังนี้น หากพิจารณา ปัญหาเรื่อง มาตรฐาน การใช้ภาษาอังกฤษ กับคนไทย ในปัจจุบัน คุณคิดว่า วิธีไหน จะแก้ปัญหาได้ดีที่สุด ระหว่าง การเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ กับการสร้างบรรยากาศ และสนับสนุน การเรียนการสอน เป็นภาษาอังกฤษ วิธีการไหน จะเป็นวิธีที่ ทำให้นศ. ได้พัฒนา การใช้ภาษาอังกฤษ อย่างแท้จริง
นักศึกษามหิดล 2 คน
- Tuesday, December 07, 1999 at 05:56:34 (EST)

คัดค้าน การบังคับให้ วิทยานิพนธ์ เขียนเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจาก การทำวิทยานิพนธ์ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกับ ประชาชนในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบ หรือผลประโยชน์โดยตรง จะไม่ได้รับข้อมูล ซึ่งผู้วิจัย มักจะบอกเสมอว่า วิทยานิพนธ์ที่ทำออกมานั้น จะเป็นประโยชน์แก่ ประชาชนในพื้นที่ ที่เข้าไปเก็บข้อมูล แต่เมื่อตีพิมพ์เป็น ภาษาอังกฤษแล้ว ชาวบ้าน จะไม่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์ได้เลย ในขณะนี้ ความเป็นประชาสังคม ของคนในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย มีอยู่มากมายหลายกลุ่ม แต่ละฝ่าย มีการพัฒนาตนเอง ในการใช้ข้อมูลจาก งานวิจัย มาเป็นพื้นฐานในการ พัฒนาศักยภาพของกลุ่ม ของพื้นที่ของตนเอง อยู่ตลอดเวลา ผมว่าหมออดุลย์ น่าจะได้ลงไปศึกษา และคลุกคลีกับ กลุ่มชาวบ้าน ที่มีใจใฝ่รู้ และพร้อมที่จะ พัฒนาตนเอง อยู่ตลอดเวลาบ้างว่า ตอนนี้ เขามีระบบคิด ที่พัฒนาไปถึงไหนแล้ว จะทำให้เข้าใจ ได้ลึกซึ้งว่า วิทยานิพนธ์ ที่เขียนเป็นภาษาไทย โดยคนไทยนั้น จะสนองคุณประโยชน์ ให้แก่ประชาชนคนไทยด้วยกันเอง ได้มากมายขนาดไหน
โชคชัย ตระกูลไตรพฤกษ์ <chokchaichn@chaiyomail.com>
- Monday, December 06, 1999 at 01:46:41 (EST)

ดิฉันขอคัดค้าน การบังคับเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งที่จริงแล้ว ดิฉันเอง ก็เป็นคนที่ ชอบภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่า ในการสื่อสารนั้น ภาษาที่ถนัดที่สุดของคนผู้นั้น เป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับงานวิทยานิพนธ์ ที่เป็นเชิงคุณภาพ การใช้ภาษาที่ไม่ถนัด น่าจะก่อให้เกิด การขาดความเป็นตัวของตัวเอง (ในกรณีที่ วิทยานิพนธ์เล่มนั้น เป็นเล่มที่ดี) ในทางที่ดีที่สุดของ การเปิดตัวไปสู่ ความเป็นสากล การเขียนอีกฉบับ เป็นภาษาอังกฤษโดย ความสมัครใจ ของนักศึกษา ก็ไม่น่าที่จะ หนักจนเกินไป ถ้าผลที่ออกมาคุ้มค่า แต่ที่ดิฉัน อยากจะตั้งข้อสังเกต สักเล็กน้อยก็คือ ในการถกปัญหากัน ในแต่ละเรื่อง เรามักจะพูดกันในลักษณะที่ว่า ตอนนี้ เราอยู่ในที่ราบ แล้วก็จะ กระโจนขึ้นบนยอดเขา แต่เรามักจะลืมว่า ระหว่างนั้น ยังมีระยะทาง และสิ่งที่อยู่ริมทาง ที่เป็นรายละเอียด ตั้งมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ทำไมวิทยานิพนธ์ ช่างเป็นงานที่ ไม่น่าหยิบลงมาอ่านจากชั้น ที่ดิฉันสามารถ บอกได้ทันทีที่เห็นก็คือ ก็รูปเล่มไม่น่าอ่านเลย และพอพลิกอีกนิดหนึ่ง ตรงส่วนที่น่าจะเป็นสารบัญ ความน่าสนใจก็ช่างไม่มี เพราะชื่อบท ที่เป็นรูปแบบเฉพาะนั้น ไม่ได้ดึงความสนใจ และทำให้เรื่องนั้น มีความเป็นเรื่อง และก็ยังมี อื่นๆ อีกมากมาย ที่ดิฉัน ไม่สามารถกล่าวได้หมด ในที่นี้
สาวิตรี <shawenli@hotmail.com>
- Monday, December 06, 1999 at 01:33:50 (EST)

คัดค้าน
ชรีริน แก้วมูล <CHAREERIN@chiyomail.com>
- Saturday, December 04, 1999 at 08:43:51 (EST)

ผมขอสนับสนุน การเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ในปัจจุบัน การสื่อสารโดยทั่วไป เป็นอังกฤษ เกือบเป็นส่วนใหญ่ แล้วทำไมจะต้อง เขียนเป็นไทย เป็นการพัฒนา ทางด้านภาษา เฉพาะตัวของคุณเอง คุณเขียนคุณได้ ผมเองก็ต้องจบมา โดยต้องเขียนเป็น ภาษาอังกฤษเหมือนกัน ไม่มีความยากสักเท่าได ถ้าคุณตั้งใจจริง คุณกลัวไปเองมากกว่า ว่าจะเขียนได้ไม่ดี แต่อาจารย์ที่ปรึกษา จะช่วยคุณเอง .
nattavudh karnjanawattana <nattavudh2000@hotmail.com>
- Saturday, December 04, 1999 at 02:44:59 (EST)

In my opinion, I do believe languages are used to communicate among people. If your target readers are Thais, using Thai to write would be more appropriate. On the contrary, if target readers usually use English, writing in English would be better. Why don't we try to discuss this issue in English? Then let's see how well we can communicate among all of us. :)
Ernie Mankosol <iamernie@bigfoot.com>
- Friday, December 03, 1999 at 20:34:51 (EST)

ขอสนับสนุน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
องค์ความรู้ โดยเฉพาะทางด้าน วิทยาศาตร์ และเทคโนโลยี ของมวลมนุษยชาติ ที่เจริญขึ้นมาได้ จนถึงปัจจุบัน เป็นฝีมือ คนไทยล้วนๆ ไม่น่าจะถึง 1 %
การทำวิทยานิพนธ์ ถ้าบังคับ เป็นภาษาอังกฤษ ถือว่า เป็นการส่งเสริม การใช้ประโยชน์จาก องค์ความรู้ อีก 99 % ที่มาจากวารสาร และตำราภาษาอังกฤษ
อย่าลืมว่า มีคนอีกมากมาย ที่อาจจะ กำลังทำเรื่องเดียวกัน กับที่นักศึกษา หรือเรา กำลังทำอยู่ หรือประเทศอื่น เขาอาจทำไว้แล้ว ถ้าเราไม่อ้างอิง สารบบสากล หรือทำอย่างสากล เราจะล้าหลัง
คน 60 ล้านคน ช่วยกันคิด กับหลายพันล้านคนคิด แล้วแชร์ องค์ความรู้ ที่มี มันคนละสเกล แล้วแถม เขามีเครื่องไม้เครื่องมือ มีทุนวิจัย มีเทคโนโลยี ในการวิจัย สูงกว่าเรา หลายเท่า
แน่นอน เมื่อต้องเขียน ภาษาอังกฤษเยอะ ก็ต้องอ่าน ภาษาอังกฤษเยอะ แล้วมหาวิทยาลัย ก็จะต้องซื้อ หรือรับวารสาร นานาชาติ อย่างเพียงพอด้วย ไม่ใช่เป็นอย่างปัจจุบัน
ยกตัวอย่าง เช่น มหาวิทยาลัยส่วนมาก ในอังกฤษ เขารับทั้งแบบ ตัวจริง และแบบ Portable Document Format (PDF) ผ่านทาง internet จากทั่วโลก นับเฉพาะแค่ สาขาวิชาเดียว เช่น อย่างสาขาวิชา เคมี หรือฟิสิกส์ เขารับมากถึงกว่า 100 เล่ม
แม้กระทั่ง วารสารบางเล่ม ที่เป็นของ ญี่ปุ่น เกาหลี หรือจีนเอง เขาก็พิมพ์ ก็ใช้ภาษาอังกฤษ
ประโยชน์ของ การตีพิมพ์ผลงาน ในวารสารนานาชาติ เช่น ถ้าเรามี ประเด็นผลลัพธ์ จากงานวิจัย ที่มีคนอื่น เขาทำอยู่ก่อน เกี่ยวข้องกัน ผู้ตรวจสอบคุณภาพ ที่เรียกว่า referees หรือ reviewers ของวารสารนั้นๆ ซึ่งปรกติ บุคคลเหล่านี้ จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ ระดับแนวหน้าของโลก ในเรื่องนั้นๆ เขาจะให้คำแนะนำ ที่ดีมากๆ เพื่อมาให้ ปรับปรุงทั้งเนื้อหา เทคนิค ที่เกี่ยวเนื่อง ในงานวิจัย หรือแม้กระทั่ง ให้รายละเอียดเพิ่มเติม อย่างนี้ จะได้ประโยชน์มาก และจะเป็นการ ยกมาตรฐานของเรา ให้เป็นที่ยอมรับ ในระดับสากล
เรื่องการเผยแพร่ความรู้ ให้คนไทยโดยทั่วไป หรือชาวบ้าน ที่เสียภาษีนั้น ก็นำเอาประเด็น การค้นพบ ที่เป็นประโยชน์ มาเขียนเป็น บทความทั่วไป (review article) ลงตามวารสารต่างๆ ที่เป็นภาษาไทย หรือหนังสือพิมพ์ ในบ้านเราสิครับ ใช้ภาษาธรรมดา ที่ไม่เป็น วิชาการเกินไป คนเขาจะไดั อ่านเข้าใจได้ง่ายๆ

พิศิษฐ์ สิงห์ใจ <p.singjai@surrey.ac.uk>
- Friday, December 03, 1999 at 14:12:16 (EST)

เพื่อนผมคนหนึ่ง ที่เรียนสาขา เทคโนโลยี การวางแผน สิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาชนบท เขาทำ Thesis เรื่อง หมอสมุนไพร กับความหลากหลาย ทางชีวภาพ ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี และถูกทาง บัณฑิตวิทยาลัย บังคับให้ทำ Thesis เป็นภาษาอังกฤษ ไปเรียบร้อยแล้ว ผมคิดว่า เรื่องนี้มันน่าเป็นห่วง ตรงที่ว่า คนต่างชาติ จะสามารถ เอาความรู้ที่ได้ ไปใช้ประโยชน์ ในทางธุรกิจ ได้ง่ายมาก เพราะเราแปลให้เขา เสร็จสรรพ เรื่องนี้ เพื่อนผม เขาเป็นห่วงเหมือนกัน และได้ทำหนังสือ แย้งทางบัณฑิตวิทยาลัย ไปแล้ว แต่ทาง บัณฑิตวิทยาลัย ก็ปฏิเสธมา และบอกว่า ในเมื่อ Thesis ออกมาเป็นรูปเล่มแล้ว ก็ถือได้ว่า มีลิขสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว และย่อมได้รับ การคุ้มครอง ผมว่าทางบัณฑิตฯ เขาคิดตื้นเกินไป เพราะว่าจริงๆ แล้ว Thesis เล่มนี้ มันเป็นแค่ การสำรวจ ชนิดพรรณพืช ที่หมอสมุนไพร ใช้ประโยชน์เท่านั้น แต่ไม่ได้ลงลึกว่า ในสมุนไพรแต่ละตัว มันมีสารอะไร เป็นส่วนประกอบ และจะสามารถ สกัดออกมา ใช้ประโยชน์ ได้อย่างไร ผมว่า Thesis เล่มนี้ มันก็คือ คัมภีร์ใบลาน ฉบับสมัยใหม่นั่นเอง ซึ่งเขาหยิบไปใช้ ได้ง่ายมาก (ก็เพราะ เราแปลให้เขา เรียบร้อยแล้ว) อีกอย่างหนึ่ง ก็คือว่า พอทำ Thesis เล่มนี้เสร็จแล้ว จะมีหมอสมุนไพร สักกี่คน ในประเทศไทย ที่จะสามารถอ่านได้ ถ้าหมออดุลย์ จะบอกว่า คนไทยไม่อ่าน Thesis ผมว่า หมออดุลย์ น่าจะเข้าใจผิดครับ จริงๆ แล้วมีงาน Thesis บางเล่ม ที่ตีพิมพ์ออกมาขาย อย่าง นางงามตู้กระจก ของคุณศุลีมาล นฤมล แล้วก็อีกฉบับ ที่นึกได้คือ เรื่องนิเวศวิทยา ภูมิปัญญากะเหรี่ยง ของคุณปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ซึ่งตีพิมพ์มากกว่า 1 ครั้งแล้ว ผมคิดว่าเราทำ thesis ออกมา ก็น่าจะให้คนไทย อ่านได้ด้วย น่าจะดีกว่า อ้อ! มีความจริง อีกอย่างหนึ่งก็คือ ผมอยากให้หมออดุลย์ ลองไปที่ บ้านสะเนพ่อง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ที่เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยง ในเขต ทุ่งใหญ่นเรศวร ที่นั่นมี Thesis เล่มหนึ่ง ที่นักศึกษามหิดล ทำไว้ในพื้นที่ และให้ชาวบ้านไว้ 1 ฉบับ เพื่อที่ชาวบ้าน จะได้ใช้ประโยชน์ด้วย ชาวบ้าน เขาอ่านนะครับ ทั้งๆ ที่เขาเป็นคนกะเหรี่ยง ที่หมออดุลย์ อาจจะมองว่า เขาคงไม่อ่านหรอก เพราะเขาไร้การศึกษา ผมว่า หมออดุลย์ ดูถูกคนมากเกินไป
นายครรชิต จูประพัทธศรี <Tidarach@yahoo.com>
- Friday, December 03, 1999 at 12:27:45 (EST)

ขอคัดค้านครับ ที่ได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ ท่านอาจารย์ที่สนับสนุน แล้วรู้สึกแปลกๆ นะครับ ที่ท่านว่า ไม่มีใครใช้ประโยชน์จาก วิทยานิพนธ์ได้อยู่แล้ว ก็วิทยานิพนธ์ ทบวงให้ทำเพื่อ เป็นสิ่งยืนยัน การค้นคว้าทางวิชาการ เพื่อค้นหาสิ่งที่ มีประโยชชน์ ไม่ใช่หรือครับ ถ้าไม่ทำเป็น ภาษาไทยแล้ว จะทำมาเพื่ออะไร แล้วเวลาสอบวิทยานิพนธ์ ท่านจะเอาใครมาสอบล่ะครับ ไม่ต้องวิ่งไปจ้าง ชาวต่างประเทศมาสอบ ให้เปลือง งบประมาณ ไปเปล่าๆ
น้องธัญพงศ์
- Friday, December 03, 1999 at 01:03:01 (EST)

คัดค้าน ผมรักความเป็นไทย
มนเทียร
- Thursday, December 02, 1999 at 07:30:14 (EST)

คัดค้าน ในการทำวิทยานิพนธ์ ทราบได้อย่างไรว่า ความรู้ ที่ได้ศึกษาค้นคว้ามานั้น (จากภาษาอังกฤษ) นักศึกษา มีความเข้าใจในเรี่องนั้น อย่างลึกซึ้ง
ไตรรัตน์ พรรธนประเทศ <trairat@kittymail.com>
- Wednesday, December 01, 1999 at 23:08:11 (EST)

คัดค้าน เพราะไม่เห็นด้วยกับ การบังคับให้เขียน ควรเป็นไปโดย การสมัครใจ มากกว่า ถ้าเก่งภาษาอังกฤษ ก็ควรเขียน และอย่าลืมว่า ระบบการศึกษา ของไทยส่วนใหญ่ นักศึกษา ไม่เก่งภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่า จะเรียนมา เป็นระยะเวลานาน เรียนตั้งแต่ อนุบาล ก็ยังอ่าน พูด เขียน ไม่ได้ตามเกณฑ์ที่ สังคมโลก ต้องการ แล้วจะบังคับ ให้เขียนไป ทำไม เพราะในที่สุดแล้ว คิดว่า นักศึกษา ก็ต้องจ้างเขียนอยู่ดี ทำให้สิ้นเปลือง เงินทอง เวลา ขึ้นไปอีก
สุนทรี แมค.
- Wednesday, December 01, 1999 at 20:48:53 (EST)

คัดค้าน
สุทัศน์ <sutas@telebot.com>
- Wednesday, December 01, 1999 at 20:18:05 (EST)


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
สนับสนุน หรือ คัดค้าน:
เมื่อวิทยานิพนธ์ ถูกบังคับ ให้เขียน เป็นภาษา อังกฤษ :
*
*

 

สนับสนุน หรือ คัดค้าน เมื่อวิทยานิพนธ์ ถูกบังคับ ให้เขียน เป็นภาษาอังกฤษ
สนับสนุน หรือ คัดค้าน การแปลงพันธุกรรม GMOs
สนับสนุน หรือ คัดค้าน สอนหนังสือลูกเอง ที่บ้าน
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ตี๋ เฮงสกุล | ยาคุมฉุกเฉิน | ซองคำถาม | เฮโลสาระพา | แกะรอยกระซู่
Sumatran Rhinoceros | Twin Boys Head Karen Crusaders


สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) email