Click here to visit the Website

กลับไปหน้า สารบัญ โรงไฟฟ้า ประจวบฯ
ส นั บ ส นุ น
นที สิทธิประศาสน์
นที สิทธิประศาสน์
ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหาร และประชาสัมพันธ์ บริษัท ยูเนียนเพาเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด
  • ประเทศจะได้ แหล่งผลิต ไฟฟ้า ที่มีคุณภาพ มีปริมาณ เพียงพอ และ สม่ำเสมอ

  • รัฐ สามารถ ประหยัด เงินลงทุน โดยให้ เอกชน เป็นผู้ลงทุน แทน

  • โรงไฟฟ้า จะสร้าง รายได้ ให้แก่ ท้องถิ่น จาก การ จ้างงาน ในช่วง การก่อสร้าง และ จาก ภาษีอากร ที่ อบต. จะได้รับ

  • โรงไฟฟ้า ใช้ ถ่านหิน คุณภาพดี สร้างมลพิษ น้อย และเทคโนโลยี ที่ใช้ สามารถ ลด ผลกระทบ ด้าน สิ่งแวดล้อมได้

....."โรงไฟฟ้าหินกรูด เกิดขึ้นจาก นโยบาย รับซื้อไฟฟ้า จากผู้ผลิตเอกชน หรือ IPP ของรัฐบาล ที่ผ่านมา กฟผ. เป็นหน่วยงานเดียว ที่ผลิตไฟฟ้า ซึ่งใช้เงินลงทุนสูง และเป็นภาระ ของรัฐบาล ที่ต้องค้ำประกัน เงินกู้ ถ้ามีเอกชน เป็นผู้ผลิต ก็จะช่วยลด ภาระเหล่านี้ลง โดยเรา จะต้อง ขายไฟฟ้าทั้งหมด ที่ผลิตได้ ให้แก่ กฟผ. แต่เพียงผู้เดียว
....."บริษัทฯ ของเรา ตั้งขึ้นใหม่ เพื่อก่อสร้าง และบริหาร โรงไฟฟ้าหินกรูด โดยเฉพาะ เป็นผู้ชนะการประมูลในปี ๒๕๓๗ เนื่องจาก กฟผ. พอใจใน ประสิทธิภาพ ของเทคโนโลยีที่ใช้ และราคาไฟฟ้า ที่เราขาย ก็ถูกที่สุด ในบรรดา ผู้ที่ เข้าร่วมประมูล
....."เราจำเป็นต้องมี แผนสร้าง โรงไฟฟ้าหินกรูด เพราะความต้องการ ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นตลอด แต่เมื่อ เศรษฐกิจ ตกต่ำ โรงงานอุตสาหกรรม ปิดไป ปริมาณ การใช้ไฟฟ้า ลดลง โครงการ ก็ถูกเลื่อน ออกมาเรื่อย ๆ
....."ถึงวันนี้ ถ้าไม่สร้าง โรงไฟฟ้าหินกรูด ก็ไม่เป็นอะไร แต่อย่าลืมว่า โรงไฟฟ้า ไม่ได้สร้าง วันเดียวเสร็จ เราจะรอให้ ไฟฟ้าขาดเสียก่อน แล้วถึงสร้าง โรงไฟฟ้าไม่ได้ เพราะจะทำให้ เกิดความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ ผู้ลงทุนต่างประเทศ เสียความมั่นใจ ถ้าโครงการนี้ เกิดขึ้นไม่ได้ จะมีผลมาก ต่อบรรยากาศ การลงทุน
....."สาเหตุหลัก ที่เลือกพื้นที่ ชายฝั่งทะเล บ้านกรูด คือ
  1. ระดับน้ำทะเล มีความลึก พอจะสร้าง ท่าเทียบเรือน้ำลึก เพื่อขนถ่ายถ่านหิน
  2. อยู่ใกล้ระบบ สายส่งไฟฟ้าแรงสูง ของ กฟผ.
  3. เป็นพื้นที่ ในโครงการ พัฒนาพื้นที่ ชายฝั่งทะเล ตะวันตก (Western Seaboard) ซึ่งรัฐบาล กำหนดให้เป็น เขตอุตสาหกรรมใหม่ ของประเทศ และ
  4. โรงไฟฟ้า จำเป็นต้อง สูบน้ำทะเล เพื่อใช้ใน กระบวนการ หล่อเย็น เป็นปริมาณ ๔.๑๕ ล้าน ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน ซึ่งผลการศึกษา ทางวิชาการ ของบริษัทอื่น และของ กฟผ. ออกมาตรงกันว่า จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ มีความเหมาะสม เป็นที่ตั้ง โรงไฟฟ้า มากที่สุด

....."บ้านกรูด มีศักยภาพ ด้าน การท่องเที่ยว ก็จริง แต่ควรเป็น การท่องเที่ยว ที่เชื่อมโยงกับ อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ ของโครงการ เวสเทิร์นซีบอร์ด เราคิดว่า บ้านกรูด มีโรงไฟฟ้าด้วย ก็ได้ เป็นที่ท่องเที่ยวด้วย ก็ได้ เหมือนกับระยอง ซึ่งเป็น นิคมอุตสาหกรรม แต่การท่องเที่ยว ก็ยังบูมอยู่
....."เราประเมินไว้แล้วว่า ชาวบ้าน จะคัดค้าน โครงการ แต่ไม่คิดว่า จะหนักหน่วงอย่างนี้ คงเป็นเพราะ เขาเห็นตัวอย่าง ที่ไม่ดีจาก โรงไฟฟ้า แม่เมาะ นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด ฯลฯ จนเกิด วิกฤตศรัทธา ต่อระบบ การทำงาน ของรัฐ ถึงแม้ เราจะอธิบายว่า ใช้ถ่านหิน คุณภาพดี มีเครื่องกำจัด สารพิษ ใช้เทคโนโลยี ชั้นสูง เขาก็ไม่เชื่อ ทางบริษัทฯ ยอมรับว่า การมีโรงไฟฟ้า มาตั้งที่นี่ จะมีผล กระทบกับ วิถีชีวิต การทำมาหากิน และสภาพ แวดล้อมบ้าง ซึ่งเป็น ธรรมชาติของ การพัฒนา ประเด็นสำคัญก็คือ จะต้องมี การจัดการ ที่ดี และต้องให้ประชาชน มีส่วนร่วม ในการตรวจสอบ การทำงาน
....."การใช้ถ่านหิน เป็นการสร้าง ความสมดุล ของแหล่งเชื้อเพลิง เราจะใช้ เชื้อเพลิง อย่างใด อย่างหนึ่ง ในการผลิตไฟฟ้าไม่ได้ แหล่งก๊าซ ธรรมชาติ ทั่วโลก มีเหลือให้ใช้ อีกเพียง ๖๐ ปี ขณะที่ ถ่านหิน มีเหลือให้ใช้อีก ๒๐๐ ปี เอาก๊าซ ธรรมชาติ มาเผา เพื่อให้ได้ไฟฟ้า มันไม่คุ้ม
....."เราใช้ถ่านหินชนิด ซับ-บิทูนินัส ซึ่งนิยมนำมา ผลิตกระแสไฟฟ้า มากที่สุด และมีคุณภาพดีกว่า ถ่านหินลิกไนต์ ที่ใช้ใน โรงไฟฟ้า แม่เมาะ คือ ให้ค่าความร้อน สูงกว่า ถึงสามเท่า และมี ซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ เจือปน ต่ำกว่ามาก โอกาสที่จะ ปล่อยสารพิษออกมา จึงมีน้อย แต่เพื่อสร้าง ความมั่นใจ บริษัทฯ จึงได้ลงทุน ติดตั้งระบบ กำจัดก๊าซ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และเครื่องดักฝุ่น ให้ด้วย เมื่อสร้างเสร็จแล้ว วิศวกร ก็พักอยู่ใกล้ๆ โรงไฟฟ้า แสดงว่า ไม่มีอะไรน่ากลัว

กลับไปหน้า สารบัญ
ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่

....."บริเวณ ลานกองถ่านหิน เราก็ติดตั้ง เครื่องวัด ความเร็วลม ถ้าลมพัดแรง ก็จะพ่นน้ำ เพื่อไม่ให้ ถ่านหิน ฟุ้งกระจาย ส่วนที่ทิ้งขี้เถ้า ซึ่งคาดว่า มีปริมาณ ๔๕๐,๐๐๐ ตันต่อปี ก็เป็น บ่อลึกถึง ๕ เมตร และมีพลาสติก ปูรอง เพื่อไม่ให้ น้ำซึมออกมา
....."สำหรับ สะพานท่าเทียบเรือ ขนถ่ายถ่านหินนั้น เรายอมรับว่า มีความยาวมาก เพราะบริเวณน้ำลึก ในประเทศไทยนั้น หายาก ถ้าไปสร้างที่อื่น อาจต้องยาวถึง ๕ กิโลเมตร แต่สะพาน ท่าเทียบเรือ ที่มีความยาว จะส่งผลกระทบ น้อยกว่า การสร้างสั้น ๆ ซึ่งต้อง ขุดรอก ร่องน้ำ ทุกปี
....."ตอนแรก ออกแบบสะพาน ไว้สูง ๓ เมตรเศษ ๆ แต่ชาวประมง บอกว่า เรือประมง ผ่านไม่ได้ จึงแก้ไข ให้สูงขึ้น เป็น ๕ เมตร และในทุกๆ ๑ กิโลเมตร จะเพิ่มระยะห่าง ของเสา จาก ๑๕ เมตร เป็น ๒๕ เมตร เพื่อให้ ไม่เป็น อุปสรรค ต่อการ ทำมาหากิน ของชาวประมง
....."ประเด็นต่อมา ที่ชาวบ้าน เป็นห่วง คือ เรื่องการใช้น้ำทะเล ในกระบวนการ หล่อเย็น ซึ่งแพลงก์ตอน หรือตัวอ่อน ของสัตว์น้ำ จะถูก ดูดเข้าไป และเสียชีวิต เราจึงกด ท่อดูดน้ำ ให้ลึกกว่า ผิวน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยง การดูดแพลงก์ตอน และตัวอ่อน ของสัตว์น้ำ รวมทั้ง ติดตะแกรง กั้นแพลงตอน แต่ก็ยังอาจมี ที่หลุดลอด เข้าไปบ้าง ซึ่งเราจะ ชดเชย และเพิ่มปริมาณให้ ด้วยการ ทำโครงการ เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ส่วนน้ำ ที่ปล่อย ออกมา จากโรงไฟฟ้า จะผ่านการหล่อเย็น ให้มี อุณหภูมิ สูงกว่า อุณหภูมิของ น้ำทะเล ขณะนั้น ไม่เกิน ๓ องศาในรัศมี ๕๐๐ เมตร ซึ่งเป็นไปตาม มาตรฐานชายฝั่ง
....."เราใช้เงินมหาศาล สำหรับ การแก้ไข ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม คือ ประมาณ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ ของ เงินลงทุน ทั้งติด เครื่องกำจัดก๊าซ เครื่องดักฝุ่น และเครื่องหล่อเย็น
....."สำหรับผลกระทบ ต่อปะการังนั้น เรายอมรับ ว่า ไม่ได้ ทำการสำรวจ อย่างละเอียด ในอีไอเอ บอกแต่เพียงว่า เป็นแนวหิน เมื่อมีการพบว่า ใกล้ ๆ กับสะพานท่าเทียบเรือ มีปะการังอยู่ เราก็หา นักวิชาการ ไปสำรวจเพิ่มเติม แล้วพบว่า มีปะการัง บางส่วน ที่มี ความสมบูรณ์ อยู่จริง จึงต้องประเมิน อีกทีว่า โครงการนี้ จะกระทบกับ ปะการังหรือไม่ เพื่อหาทาง แก้ไข ต่อไป
....."ความจริง หน่วยงาน ที่ให้เงินกู้ เข้มงวดกับ เรื่องสิ่งแวดล้อม และชุมชน มากกว่า คนในบ้านเรา อีก เพราะโอกาสที่ ปัญหา สิ่งแวดล้อม จะทำให้ โรงงานถูกปิด และไม่มีเงิน มาใช้หนี้เขานั้น มีสูงมาก แต่ถึงตอนนี้ เขาก็ยังมั่นใจ ในโครงการ ของเราอยู่
....."สิ่งที่ชาวบ้านกรูด จะได้รับ จากการสร้าง โรงไฟฟ้า ก็คือ การพัฒนาชุมชน มีเงินภาษีเข้า อบต. เราจะช่วย พัฒนา โรงเรียน วัด และยังจัดสรร งบประมาณ ต่อปี ให้ อบต. อีกต่างหาก ที่สำคัญคือ โรงไฟฟ้า จะทำให้ เกิดการจ้างงาน
....."ความจริง การปรับพื้นที่ ก่อสร้าง ในช่วง ต้นปีนั้น เราใช้ เครื่องมือหนัก ก็ได้ แต่เราเห็นว่า มันเป็น โอกาสที่จะ ทำให้ชาวบ้าน มีงานทำ เราจึง จ้างมา ไม่ใช่เป็นการ หามวลชน อย่างที่ กลุ่ม คัดค้าน มอง ช่วงสี่ปี ของ การก่อสร้าง เราจะ จ้างคนงาน อีกถึง ๕๐๐-๔,๐๐๐ คน แล้วจะ ค่อย ๆ ลดลง เพราะช่วงเปิดเดินเครื่อง จะใช้คนงาน เพียงแค่ ๒๐๐ คน ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นวิศวกร และช่างเทคนิค
....."เราไม่ปฏิเสธว่า โครงการนี้ ทำให้ชุมชน บ้านกรูด แตกแยกกัน มีกลุ่มสนับสนุน กลุ่มคัดค้าน ชัดเจน แต่เพื่อไม่ให้ เกิดการ เผชิญหน้ากัน เราคงต้อง กลับมาคุยถึง ผลได้ผลเสีย กันใหม่ ซึ่งเราคิดว่า โครงการนี้ ได้มากกว่าเสีย แน่นอน และสิ่งที่เสียไป เราก็พร้อมจะ ชดเชยให้ มากกว่า ที่เสียไป ด้วยซ้ำ
....."เรายินดี จะทำสัญญาประชาคม ที่บังคับใช้ ได้ตามกฎหมาย ให้ชาวบ้าน เข้ามาตรวจสอบ การทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ ยังไม่เคย มีใคร ทำมาก่อน
....."ตอนนี้บริษัทฯ กำลังเจรจากับ กฟผ. ถึงการ เลื่อนกำหนด การก่อสร้าง ออกไปอีก เนื่องจาก ต้องรอผล การประชาพิจารณ์ ซึ่ง กฟผ. เองก็เห็นว่า น่าจะ เลื่อน ออกไปได้ เพราะคงจะ ไม่กระทบต่อ ปริมาณ ไฟฟ้าสำรอง มากนัก"
จีรวุฒิ แจวสกุล
จีรวุฒิ แจวสกุล
ประธานกลุ่มอนุรักษ์ บ้านกรูด
click hereอ่าน (ฝ่ายคัดค้าน) คลิกที่นี่

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
เป็นชาวจังหวัด:
สนับสนุน หรือ คัดค้าน: *
*

 

แสดงความคิดเห็น เรื่อง พรบ.มวยอาชีพ คลิกที่นี่
แสดงความคิดเห็น เรื่อง นามสกุลผู้หญิงหลังแต่งงาน คลิกที่นี่
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ที่สุดแห่งพ่อพันธุ์ | บ.รับกำจัดความรุงรัง | โรงไฟฟ้าประจวบฯ
หมอชนบท | โรงพยาบาลช้าง | เรือสำราญ


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ |
WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)