หมอกควันภาคเหนือกับ CSR ของบริษัทยักษ์ใหญ่

13-03-2012-4

 

 

เมื่อเดือนก่อน ผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นใน facebook ว่า

“  ปัญหาเรื่องหมอกควันที่ภาคเหนือเป็นปัญหาใหญ่ส่งผลกระทบต่อคนหลายสิบล้านคน  มีผู้ป่วยเป็นมะเร็งและโรคทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง

ร้ายแรงกว่าปัญหาน้ำท่วม แต่ดูเหมือนรัฐบาลทุกชุดจะไม่ค่อยสนใจ การเมืองภาคประชาชนทุกสีไม่ใส่ใจ ทั้งที่เป็นปัญหาที่มีมาตรฐานเดียว โดนถ้วนหน้าด้วย

กันทุกฝ่าย เกิดขึ้นทุกปี ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายทุกปี แต่เพราะมันเป็นการตายจากปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่การตายจากความขัดแย้งทางการเมือง จึงไม่มีใครใส่

ใจ… ปัญหาในประเทศนี้คงต้องพยายามโยงให้เข้ากับการเมือง จึงจะน่าสนใจใช่ไหม”

สถานการณ์ปัญหาหมอกควันพิษทางภาคเหนือที่เกิดขึ้นอย่างวิกฤติต่อเนื่องกันมาหลายเดือน ดูเหมือนจะคลี่คลายลงระดับหนึ่ง จากฝนตก

และเมื่อสื่อมวลชนร่วมกันนำเสนอเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ก็กดดันให้นักการเมืองต้องลงพื้นที่ กระตุ้นให้ข้าราชการทำงานแก้ปัญหาจริงจัง

 

แต่เชื่อได้เลยว่า พอสถานการณ์เริ่มดีขึ้น หมอกควันเริ่มจางหายไป ก็จะไม่มีใครสนใจแก้ปัญหาจริงจัง รอให้ถึงปลายปี

หมอกควันก็จะกลับมาปกคลุมภาคเหนืออีกครั้งหนึ่ง

 

ทุกวันนี้คนทางเหนือทำใจกับการต้องสูดหายใจหมอกควันพิษกันปีละสามเดือนกันมานานแล้ว จากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ในหุบเขา

พอย่างเข้าหน้าแล้ง ชาวบ้านจุดไฟเผาป่า หาของป่า และชาวไร่เผาซากไร่เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก และเดือนมีนาคมที่ลมฤดูร้อนควรจะเดินทางมา

แต่ปรากฏมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอีก ทำให้มีความกดอากาศสูง อากาศหนักไม่ยกตัว

เกิดการสะสมตัวของหมอกควันในพื้นที่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้น จึงช่วยทำให้ควันในหุบเขาวนเวียนอยู่ไม่ไปไหน

 

แต่ที่น่าแปลกใจก็คือในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ดูเหมือนความรุนแรงจะเพิ่มมากขึ้นอย่างผิดปรกติ

 

กรมควบคุมมลพิษของไทย ตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร (ไมครอน)

สูงกว่าทุกปีและสูงต่อเนื่องเกินกว่า ค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกิน 120 ไมครอน ทุกวันนี้จังหวัดในภาคเหนือของไทยสูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 3 เท่า

 

สาเหตุสำคัญที่ไม่ค่อยมีคนพูดก็คือ ในรอบสิบปีที่ผ่านมา มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านเพาะปลูกเกษตรเชิงเดี่ยว อาทิ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ยางพารา

โดยมีบริษัทเกษตรกรรมยักษ์ใหญ่สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และการประกันราคาพืชผล

หรือที่รู้จักกันในนามของเกษตรแบบพันธะสัญญา (Contract Farming)  เพื่อนำไปผลิตอาหารสัตว์ ผลิตก๊าซโซฮอลล์ และยางรถยนต์

 

ผลก็คือมีการรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำทางภาคเหนืออย่างรุนแรง มีการเผาป่าเพื่อเปลี่ยนเป็นไร่ข้าวโพด สุดลูกหูลูกตาบนภูเขาทางเหนือ ตั้งแต่จังหวัดน่าน

เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก  พอเก็บเกี่ยวเสร็จ ย่างเข้าหน้าแล้ง ก็มีการเผาซากไร่ข้าวโพดปรับสภาพดิน เพื่อรอการเพาะปลูกรอบต่อไป

 

การส่งเสริมให้บุกป่าปลูกพืชไร่ ไม่ได้มีเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น แต่ยังลุกลามไปในประเทศพม่า ลาว จีน กินอาณาบริเวณหลายล้านไร่

และชาวไร่ทุกประเทศก็มีพฤติกรรมเหมือนกัน คือเผาเพื่อรุกป่า และเผาซากไร่ ผลก็คือเขม่าควันพิษจำนวนมหาศาลที่ลอยขึ้นสู่อากาศ

 

ในปีพ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีไทยมีมติ ให้ดำเนินงาน Contract Farming บริเวณชายแดน ประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้มาตรการลดหย่อนภาษี

กำหนดพื้นที่นำร่อง 3 ประเทศ คือ พม่า ลาว กัมพูชา ภายใต้กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง

เพื่อส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ 8 ชนิด ได้แก่ ถั่งเหลือง ถั่งลิสง ละหุ่ง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ มันฝรั่ง มะม่วงหิมพานต์

และยูคาลิปตัส  ทำให้มีการเปิดพื้นที่ป่าหลายล้านไร่อย่างต่อเนื่องเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะปลูก

 

ผู้ว่าราชการจังหวัดภาคเหนือคนหนึ่งเคยเล่าให้ฟังว่า การขยายตัวของการทำเกษตรแบบพันธะสัญญา (Contract Farming)  ทั้งใน

และนอกประเทศ นำไปสู่การแผ้วถางพื้นที่ป่าโดยการเผาและเป็นที่มาของการเกิดไฟป่า เป็นบริเวณกว้าง

 

ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมตรวจพบจุดความร้อน (Hotspot) ในภูมิภาคอินโดจีน   เต็มไปด้วยสีแดงมากกว่า 1,500 จุด

และเพิ่มขึ้นมากในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม

 

ไม่ต้องแปลกใจที่ในรอบสิบปีที่ผ่านมา ความรุนแรงของปัญหาหมอกควันจึงไม่มีทางจะลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

 

ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ทำให้คนทางเหนือหลายคนคิดที่จะอพยพไปอยู่ภาคอื่นกันบ้างแล้ว เพราะการต้องสูดอากาศเป็นพิษถึงปีละสามเดือน

โอกาสจะป่วยเป็นมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ ฯลฯ มีสูงมาก เพราะดูเหมือนพอหมอกควันจางหายไป ทุกคนที่เกี่ยงข้องก็พากันนิ่งเฉย

 

ปัญหานี้ได้ทำลายเศรษฐกิจของคนทางเหนือ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เฉพาะสามเดือนที่ผ่านมา

นักท่องเที่ยวลดลงถึงร้อยละ 40

 

ปัญหาควันพิษทางภาคเหนือ นับวันจะรุนแรงขึ้น แต่ดูเหมือนรัฐบาลทุกยุคจะให้ความสนใจพอเป็นพิธี ฉีดน้ำ รณรงค์ไม่ให้ชาวบ้านเผาไฟ ทำฝนเทียม พอผ่านหน้าร้อนไป ทุกอย่างก็เหมือนเดิม

 

ขณะเดียวกัน บริษัทเกษตรกรรมยักษ์ใหญ่หลายแห่งที่โหมทำ CSR ขนาดหนัก

จะแสดงความรับผิดชอบกับชีวิตของผู้คนทางภาคเหนือและอินโดจีนอย่างไร

หรือคิดว่า มันคนละเรื่องเดียวกัน

 

กรุงเทพธุรกิจ 15 มีนาคม 55

Comments

  1. bunta

    เรื่องไฟป่ากำลังถูกผลักดันให้กลายเป็นวาระแห่งชาติ และน่าสนใจว่าเรื่องหลักคือการขยายอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ แต่ยังไม่ปรากฎการแก้ไขปัญหาเชิงระบบ จะทำให้เกิดระบบการจัดการร่วมเพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าที่มีประสิทธิภาพได้อย่างไร จะกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการจัดการไฟป่าได้อย่างไร จะปฏิรูประบบงบประมาณให้ถึงชุมชนทีจัดการป่าได้อย่างไร จะสร้างนโยบายหรือแรงจูงใจที่ทำให้คนหันมาปลูกพืชทดแทนเชิงเดี่ยวได้อย่างไร หรือจะมีมาตรการให้บริษัทยักษ์ใหญ่มาร่วมรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร

    เชื่อว่าแม้การจัดการไฟป่า หมอกควัน จะกลายเป็นวาระแห่งชาติ
    แต่อยู่ภายใต้วิธีคิด วิธีการบริหารแบบเดิม
    ปัญหาหมอกควันคงอยู่คู่กับเราไปอีกนาน

  2. อัจฉรา สมบูรณ์

    เคยได้รับทราบมาว่า การบุกรุกพื้นที่ป่าโดยการเผาทำลาย สาเหตุหนึ่งมาจากนโยบายของรัฐที่เปิดโอกาสให้ถือครองนส.๓ได้ หากพื้นที่ป่าบริเวณนั้นเป็นป่าเสื่อมโทรม จึงมีความพยายามที่จะเผาทำลาย(จนบางครั้งลุกลามเป็นไฟป่า)ทั้งโดยรายย่อยๆ และรายใหญ่ ซึ่งประเภทหลังนี้ทำโดยการว่าจ้างคนในพื้นที่(รายย่อยๆหลายราย)ให้รับสมอ้างว่าเป็นที่ดินของตน เรื่องนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไร และมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

  3. พระสังคม ธนปัญโญ

    ไฟปา โดยคนจุดเป็นส่วนใหญ่ หากไม่เอาจริงเอาจังไม่มีทางลดลงได้..
    วิธีการคือ..๑ เจ้าหน้าที่ของรัฐและทหาร ที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ และต้องมาลงดับไฟเองอย่างน้อย ๑ ครั้งที่วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม
    ๒ ใช้ กฎหมายอย่างเคร่งครัด
    ๓ จับและห้ามบริษัทเห็ดฮ๊อบอัดกระป๋อง หรือ เก็บภาษีด้วยการเปรียบเทียบว่้าา ไฟไหม้ป่า ๑ ไร่ เสียหาย ๑๕๐๐๐๐ บาท บริษัทต้องรับไปดูแล
    ๔ หมู่บ้านใหนปล่อยให้ไฟไหม้ไม่ช่วยกันดับหรือไมป้องกันร่วมกัน หมู่บ้านนั้นต้องถูกปรับไร่ละ ๑๕๐๐๐๐ หรือ ไม่ให้งบ SML ในปีนั้นๆ แต่ถ้าไฟไม่ไหม้ให้ เพื่ม เป็น ๒ เท่า
    ๕ โรงเรียนทุกโรง วิทยาลัย ในพื้นที่ ถ้ามีไฟไหม้ กระทรวงศึกษาต้อง สั่งให้ผอ.หยุดเรียนที้งโรงเรียนไปช่วยกันดับ จนกว่าจะหยุด เพื่อสอนและบรรจุเข้าไปในหลักสูตรของการศึกษา ว่า ไฟป่าคือหายนะของชุมชนและประเทศชาติ
    ๖ ใช้ระบบธนาคารต้นไม้ ภายใต้การปลูกเป็นป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างตามแนวทาางพระราชดำริเป็นแนวทางให้ได้
    นี่คือแนวทางที่จะทำให้วิกฤตหมอกควันและไฟป่าลดลงได้อย่างแน่นอน
    รายละเอียดเข้าไปคุยและแลกเปลี่ยนกันได้ที่ FB Phra Sangkom Thanapanyo

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.